ชื่อเรื่อง | : | ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพของการเปลี่ยนผ่านทางสุขภาพของมารดาที่คลอดก่อนกำหนด |
นักวิจัย | : | มายูร เรืองสุข, 2513- |
คำค้น | : | ทารกคลอดก่อนกำหนด , มารดาและทารก |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ชมพูนุช โสภาจารีย์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9741762488 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1993 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพของการเปลี่ยนผ่านทางสุขภาพ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาระในการดูแลบุตรเชิงจิตวิสัย ความรู้ในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด ทักษะในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด การสนับสนุนทางสังคม การวางแผนเกี่ยวกับการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดและภาวะเครียดทางอารมณ์และร่างกาย กับคุณภาพของการเปลี่ยนผ่านทางสุขภาพของมารดาที่คลอดก่อนกำหนด และศึกษากลุ่มตัวแปรที่สามารถร่วมกันพยากรณ์คุณภาพของการเปลี่ยนผ่านสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างคือมารดาที่คลอดก่อนกำหนด ได้จากการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 120 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามภาระในการดูแลบุตรเชิงจิตวิสัย แบบสอบถามความรู้ในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด แบบสอบถามทักษะในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามการวางแผนเกี่ยวกับการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด และแบบสอบถามคุณภาพของการเปลี่ยนผ่านทางสุขภาพของมารดาที่คลอดก่อนกำหนด ได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และวิเคราะห์ความเที่ยงของแบบสอบถามโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค มีค่าความเที่ยงระหว่าง .70 ถึง .89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพของการเปลี่ยนผ่านทางสุขภาพของมารดาที่คลอดก่อนกำหนด อยู่ในระดับสูง ([Mean] = 71.10, S.D. = 9.87) 2. การสนับสนุนทางสังคม การวางแผนเกี่ยวกับการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด ทักษะในการดูแลทารกก่อนกำหนด ความรู้ในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพของการเปลี่ยนผ่านทางสุขภาพของมารดาที่คลอดก่อนกำหนด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .624, .590, .505, .217, p < .05 ตามลำดับ) ภาระในการดูแลบุตรเชิงงจิตวิสัย ภาวะเครียดทางอารมณ์และร่างกาย มีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพของการเปลี่ยนผ่านทางสุขภาพของมารดาที่คลอดก่อนกำหนด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.483 และ -.239, p < .05ตามลำดับ) 3. กลุ่มตัวแปรที่สามารถร่วมกันพยากรณ์คุณภาพของการเปลี่ยนผ่านทางสุขภาพของมารดาที่คลอดก่อนกำหนด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การสนับสนุนทางสังคม การวางแผนเกี่ยวกับการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด และภาระในการดูแลบุตรเชิงจิตวิสัย โดยสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 57.8 (R[superscript 2] = .578, F = 25.79, P < .05) โดยมีสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน ดังนี้ Zคุณภาพของการเปลี่ยนผ่านทางสุขภาพ = .339 (การสนับสนุนทางสังคม) + .264 (การวางแผนเกี่ยวกับการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด) - .258 (ภาระในการดูแลบุตรเชิงจิตวิสัย) + .119 (ทักษะในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด) - .056 (ความรู้ในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด) - .056 (ภาวะเครียดทางอารมณ์และร่างกาย) |
บรรณานุกรม | : |
มายูร เรืองสุข, 2513- . (2547). ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพของการเปลี่ยนผ่านทางสุขภาพของมารดาที่คลอดก่อนกำหนด.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. มายูร เรืองสุข, 2513- . 2547. "ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพของการเปลี่ยนผ่านทางสุขภาพของมารดาที่คลอดก่อนกำหนด".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. มายูร เรืองสุข, 2513- . "ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพของการเปลี่ยนผ่านทางสุขภาพของมารดาที่คลอดก่อนกำหนด."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. มายูร เรืองสุข, 2513- . ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพของการเปลี่ยนผ่านทางสุขภาพของมารดาที่คลอดก่อนกำหนด. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|