ชื่อเรื่อง | : | ผลของการฝึกพฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสม ต่อการทำงานเป็นทีมของบุคลากรการพยาบาล |
นักวิจัย | : | ดวงจันทร์ วงษ์สุวรรณ, 2507- |
คำค้น | : | การพยาบาลเป็นทีม , การแสดงออก (จิตวิทยา) , บุคลากรทางการแพทย์ , การฝึกอบรม |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | อารีย์วรรณ อ่วมตานี , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9741761376 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1951 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกพฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสมต่อการทำงานเป็นทีมของบุคลากรการพยาบาล โดย 1) เปรียบเทียบการทำงานเป็นทีมของบุคลากรการพยาบาล ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการฝึกพฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสมกับกลุ่มที่ปฏิบัติงานตามปกติ และ 2) เปรียบเทียบการทำงานเป็นทีมของบุคลากรการพยาบาล ก่อนและหลังการฝึกพฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรการพยาบาลตึกศัลยกรรมอุบัติเหตุชาย โรงพยาบาลชลบุรี จำนวน 37 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 17 คน และกลุ่มควบคุม 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการฝึกพฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสม ซึ่งใช้แนวคิดการฝึกพฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสมของ Clark (1978) คู่มือการฝึกพฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสม แบบประเมินพฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสม แบบสังเกตพฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสม และเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการทดลอง ได้แก่ แบบสอบถามการทำงานเป็นทีมของบุคลากรการพยาบาล เครื่องมือวิจัยทั้งหมดผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ และตรวจสอบความเที่ยงของแบบประเมินพฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสม แบบสังเกตพฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสม แบบสอบถามการทำงานเป็นทีม ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .74, .88 และ .97 ตามลำดับ วิธีการดำเนินการทดลองคือ กลุ่มทดลองจะได้รับการฝึกพฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสมจำนวน 6 ครั้ง ประกอบด้วยการฝึกพฤติกรรมด้านความเป็นอิสระ ด้านการควบคุมอารมณ์ ด้านการใช้สิทธิ ด้านความรับผิดชอบในหน้าที่ และด้านการติดต่อสื่อสาร หลังจากผ่านการประเมินว่ามีทักษะพฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสมครบถ้วนแล้ว บุคลากรการพยาบาลนำทักษะดังกล่าวไปใช้ในการปฏิบัติงานจริง ขณะที่กลุ่มควบคุมมีการปฏิบัติงานตามปกติ หลังการทดลอง 4 สัปดาห์ ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินผลการทดลองโดยให้ทั้งสองกลุ่มตอบแบบสอบถามการทำงานเป็นทีม นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (ANCOVA) และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คะแนนการทำงานเป็นทีมของบุคลากรการพยาบาลกลุ่มที่ได้รับการฝึกพฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสมอยู่ในระดับสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการฝึกพฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .001) 2. คะแนนการทำงานเป็นทีมของบุคลากรการพยาบาลภายหลังได้รับการฝึกพฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสมจะอยู่ในระดับสูงกว่าก่อนได้รับการฝึกพฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสมอยู่ในระดับสูงกว่าก่อนได้รับพฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<.001) จากผลการวิจัยดังกล่าวแสดงว่า การฝึกพฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสมมีผลทำให้การทำงานเป็นทีมของบุคลากรการพยาบาลเพิ่มสูงขึ้น |
บรรณานุกรม | : |
ดวงจันทร์ วงษ์สุวรรณ, 2507- . (2547). ผลของการฝึกพฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสม ต่อการทำงานเป็นทีมของบุคลากรการพยาบาล.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ดวงจันทร์ วงษ์สุวรรณ, 2507- . 2547. "ผลของการฝึกพฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสม ต่อการทำงานเป็นทีมของบุคลากรการพยาบาล".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ดวงจันทร์ วงษ์สุวรรณ, 2507- . "ผลของการฝึกพฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสม ต่อการทำงานเป็นทีมของบุคลากรการพยาบาล."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. ดวงจันทร์ วงษ์สุวรรณ, 2507- . ผลของการฝึกพฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสม ต่อการทำงานเป็นทีมของบุคลากรการพยาบาล. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|