ชื่อเรื่อง | : | ผลของการพยาบาลโดยใช้ทฤษฎีการพยาบาลของนิวแมน ต่อการฟื้นหาย และความกลัวการได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำของผู้ป่วยเด็กโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน ขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล |
นักวิจัย | : | ปาลิตา เหลืองรุ่งอุดม, 2511- |
คำค้น | : | ท้องร่วงในเด็ก , ความกลัว , การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | วราภรณ์ ชัยวัฒน์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9741762305 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1934 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการพยาบาลโดยใช้ทฤษฎีการพยาบาลของนิวแมนต่อการฟื้นหายและความกลัวการได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำของผู้ป่วยเด็กโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน ขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการรักษา คือ ผู้ป่วยเด็กอายุ 1-3 ปี โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล จำนวน 38 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการเลือกตามสะดวก แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ตามระยะเวลาที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่าง 19 คนแรกจัดเป็นกลุ่มควบคุม ส่วนกลุ่มตัวอย่าง 19 คนหลังจัดเป็นกลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลโดยใช้ทฤษฎีการพยาบาลของนิวแมน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการประเมินการฟื้นหายโดยใช้แบบสังเกตการฟื้นหาย 2 ด้าน คือ การพ้นภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ และการที่ระบบทางเดินอาหารกลับมาทำหน้าที่เป็นปกติ ซึ่งผู้วิจัยเป็นผู้สร้างขึ้น และประเมินความกลัวของผู้ป่วยเด็กในขณะได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ โดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมความกลัวการได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ ของ วิภาดา แสงนิมิตชัยกุล (2546) ผลการวิจัยพบว่า 1. การฟื้นหายด้านการพ้นภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ ของผู้ป่วยเด็กกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลโดยใช้ทฤษฎีการพยาบาลของนิวแมน ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. การฟื้นหายด้านการที่ระบบทางเดินอาหารกลับมาทำหน้าที่เป็นปกติ ในวันที่ 1 และ 2 ของผู้ป่วยเด็กกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลโดยใช้ทฤษฎีการพยาบาลของนิวแมน ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผู้ป่วยเด็กกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลโดยใช้ทฤษฎีการพยาบาลของนิวแมน มีความกลัวน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
บรรณานุกรม | : |
ปาลิตา เหลืองรุ่งอุดม, 2511- . (2547). ผลของการพยาบาลโดยใช้ทฤษฎีการพยาบาลของนิวแมน ต่อการฟื้นหาย และความกลัวการได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำของผู้ป่วยเด็กโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน ขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปาลิตา เหลืองรุ่งอุดม, 2511- . 2547. "ผลของการพยาบาลโดยใช้ทฤษฎีการพยาบาลของนิวแมน ต่อการฟื้นหาย และความกลัวการได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำของผู้ป่วยเด็กโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน ขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปาลิตา เหลืองรุ่งอุดม, 2511- . "ผลของการพยาบาลโดยใช้ทฤษฎีการพยาบาลของนิวแมน ต่อการฟื้นหาย และความกลัวการได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำของผู้ป่วยเด็กโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน ขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. ปาลิตา เหลืองรุ่งอุดม, 2511- . ผลของการพยาบาลโดยใช้ทฤษฎีการพยาบาลของนิวแมน ต่อการฟื้นหาย และความกลัวการได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำของผู้ป่วยเด็กโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน ขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|