ชื่อเรื่อง | : | ผลของการจัดการด้านพฤติกรรมร่วมกับการใช้ตัวแบบสัญลักษณ์จากสื่อวีดิทัศน์ ต่อความรุนแรงของอาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ในผู้สูงอายุสตรี |
นักวิจัย | : | สุพิชญา นุทกิจ, 2518- |
คำค้น | : | สตรีสูงอายุ , ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ , วีดิทัศน์ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | จิราพร เกศพิชญวัฒนา , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2546 |
อ้างอิง | : | 9741739052 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1889 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบความรุนแรงของอาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ ในผู้สูงอายุสตรีก่อนและหลังการจัดการด้านพฤติกรรมร่วมกับการใช้ตัวแบบสัญลักษณ์จากสื่อวีดิทัศน์ โดยการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research Design) แบบสองกลุ่มวัดสองครั้งก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุสตรีที่มีอาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ ชนิดกลั้นปัสสาวะ ไม่ได้ เมื่อมีแรงดันในช่องท้อง กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ร่วมกับอยากถ่ายปัสสาวะในทันที และชนิดผสม ที่อาศัยอยู่ในชุมชนเมือง ในเขตพื้นที่รับผิดชอบหน่วยบริการในระดับปฐมภูมิ(PCU) โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งผ่านเกณฑ์คัดเลือกทั้งสิ้น 34 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างคือ แบบประเมินการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ แบบประเมินภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ และ แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ สื่อวีดิทัศน์เรื่องการจัดการด้านพฤติกรรมสำหรับผู้สูงอายุสตรีที่มีปัญหากลั้นปัสสาวะไม่ได้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบบันทึกการปัสสาวะในรอบ 1 วันอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 7 วัน และเครื่องมือที่ใช้ในการกำกับการทดลองคือ แบบบันทึกการติดตามผู้สูงอายุในรอบ 1 สัปดาห์ ที่ประกอบไปด้วย ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้สูงอายุ ตารางการฝึกขับถ่ายปัสสาวะให้เป็นเวลา ตารางการฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน และแบบบันทึกการตรวจสอบความสามารถในการหยุดปัสสาวะในทันที(Urine Stop Test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ความรุนแรงของอาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ ในผู้สูงอายุสตรีที่ได้รับการจัดการด้าน พฤติกรรมร่วมกับการใช้ตัวแบบสัญลักษณ์จากสื่อวีดิทัศน์ ลดลงกว่าก่อนได้รับการจัดการด้าน พฤติกรรมร่วมกับการใช้ตัวแบบสัญลักษณ์จากสื่อวีดิทัศน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2. ความรุนแรงของอาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ ในผู้สูงอายุสตรีที่ได้รับการจัดการด้าน พฤติกรรมร่วมกับการใช้ตัวแบบสัญลักษณ์จากสื่อวีดิทัศน์ น้อยกว่ากลุ่มผู้สูงอายุสตรีที่ได้รับการเยี่ยมบ้านจากพยาบาลประจำหน่วยบริการในระดับปฐมภูมิตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
บรรณานุกรม | : |
สุพิชญา นุทกิจ, 2518- . (2546). ผลของการจัดการด้านพฤติกรรมร่วมกับการใช้ตัวแบบสัญลักษณ์จากสื่อวีดิทัศน์ ต่อความรุนแรงของอาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ในผู้สูงอายุสตรี.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุพิชญา นุทกิจ, 2518- . 2546. "ผลของการจัดการด้านพฤติกรรมร่วมกับการใช้ตัวแบบสัญลักษณ์จากสื่อวีดิทัศน์ ต่อความรุนแรงของอาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ในผู้สูงอายุสตรี".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุพิชญา นุทกิจ, 2518- . "ผลของการจัดการด้านพฤติกรรมร่วมกับการใช้ตัวแบบสัญลักษณ์จากสื่อวีดิทัศน์ ต่อความรุนแรงของอาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ในผู้สูงอายุสตรี."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546. Print. สุพิชญา นุทกิจ, 2518- . ผลของการจัดการด้านพฤติกรรมร่วมกับการใช้ตัวแบบสัญลักษณ์จากสื่อวีดิทัศน์ ต่อความรุนแรงของอาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ในผู้สูงอายุสตรี. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
|