ชื่อเรื่อง | : | ผลของการใช้โปรแกรมการออกกำลังกายและการให้ความรู้ด้านสุขภาพต่อความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน |
นักวิจัย | : | ทัศนีย์ ภู่สำอางค์ |
คำค้น | : | กล้ามเนื้อหัวใจตาย -- ผู้ป่วย , การออกกำลังกาย , ความล้า |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ชนกพร จิตปัญญา |
ปีพิมพ์ | : | 2546 |
อ้างอิง | : | 9741738692 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1882 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 ให้ความรู้ด้านสุขภาพต่อความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ์ จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยกำหนดให้มีคุณสมบัติใกล้เคียงในด้าน เพศ อายุ ตำแหน่งการตายของกล้ามเนื้อหัวใจ กลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายและการให้ความรู้ด้านสุขภาพ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการทดลอง คือ โปรแกรมการออกกำลังกายที่ผู้วิจัยผสมผสานแนวทางการออกกำลังกายระยะที่ 1 หรือ ระยะผู้ป่วยในของ Wenger et al. (1992) และแนวทางการออกกำลังกายระยะที่ 2 หรือ ระยะผู้ป่วยนอกตามแนวทางการออกกำลังกายของชมรมแพทย์โรคหัวใจ สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย (2542) และการให้ความรู้ด้านสุขภาพที่ผู้วิจัยได้แนวคิดมาจากการทบทวนวรรณกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความเหนื่อยล้า ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่านและหาความเที่ยงโดยหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาคได้ค่าความเที่ยง เท่ากับ .87 ใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบทีในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.คะแนนเฉลี่ยความเหนื่อยล้าในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันภายหลังได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายและการให้ความรู้ด้านสุขภาพ น้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายและการให้ความรู้ด้านสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คะแนนเฉลี่ยความเหนื่อยล้าผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายและการให้ความรู้ด้านสุขภาพน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
บรรณานุกรม | : |
ทัศนีย์ ภู่สำอางค์ . (2546). ผลของการใช้โปรแกรมการออกกำลังกายและการให้ความรู้ด้านสุขภาพต่อความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทัศนีย์ ภู่สำอางค์ . 2546. "ผลของการใช้โปรแกรมการออกกำลังกายและการให้ความรู้ด้านสุขภาพต่อความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทัศนีย์ ภู่สำอางค์ . "ผลของการใช้โปรแกรมการออกกำลังกายและการให้ความรู้ด้านสุขภาพต่อความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546. Print. ทัศนีย์ ภู่สำอางค์ . ผลของการใช้โปรแกรมการออกกำลังกายและการให้ความรู้ด้านสุขภาพต่อความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
|