ชื่อเรื่อง | : | ผลของการใช้โปรแกรมฝึกพฤติกรรมบริการพยาบาลต่อความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้ใช้บริการหน่วยพักรอดูอาการผู้ป่วยนอก |
นักวิจัย | : | เกศริน จันทร์นิมิตรศรี, 2501- |
คำค้น | : | บริการการพยาบาล , ความพอใจของผู้ป่วย |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | อารีย์วรรณ อ่วมตานี , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2546 |
อ้างอิง | : | 9741755813 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1872 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้ป่วยในหน่วยพักรอดูอาการระหว่างกลุ่มที่ได้รับบริการพยาบาลตามโปรแกรมฝึกพฤติกรรมบริการพยาบาลกับกลุ่มที่ได้รับบริการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยจำนวน 54 คน ที่มาใช้บริการในหน่วยพักรอดูอาการ โรงพยาบาลศิริราช แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ๆ ละ 18 คน คัดเลือกเข้ากลุ่มโดยวิธีการจับคู่ตามลักษณะของเพศ อายุ และประสบการณ์การรักษาในโรงพยาบาล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมฝึกพฤติกรรมบริการพยาบาล ซึ่งใช้แนวคิดสัมพันธภาพระหว่างบุคคลของ Peplau คู่มือการฝึกพฤติกรรมบริการ แบบประเมินการฝึกพฤติกรรมบริการพยาบาล แบบสังเกตพฤติกรรมบริการพยาบาล และเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการทดลอง ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้ป่วย เครื่องมือวิจัยทั้งหมดผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ และตรวจสอบความเที่ยงของแบบสังเกตพฤติกรรมบริการพยาบาล แบบประเมินการฝึกพฤติกรรมบริการพยาบาล และแบบสอบถามความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้ป่วย ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .80, .82 และ .92 ตามลำดับ วิธีการ ดำเนินการทดลอง คือ กลุ่มผู้ป่วยในกลุ่มควบคุมที่ 1 และกลุ่มควบคุมที่ 2 จะได้รับบริการพยาบาลตามปกติ และตอบแบบสอบถามก่อนจำหน่ายออกจากหอผู้ป่วย ส่วนกลุ่มที่ 3 จะได้รับบริการจากพยาบาลที่ผ่านการฝึกพฤติกรรมบริการพยาบาลมาแล้ว และตอบแบบสอบถามก่อนออกจากหอผู้ป่วยเช่นกัน และรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินผลการทดลอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการทดลองนำมาวิเคราะห์สถิติ โดยใช้ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้ป่วย หน่วยพักรอดูอาการผู้ป่วยนอก กลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลองหลังการใช้โปรแกรมฝึกพฤติกรรมบริการพยาบาล สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากผลการวิจัยดังกล่าวแสดงว่า โปรแกรมฝึกพฤติกรรมบริการพยาบาลมีประสิทธิภาพในการเพิ่มความพึงพอใจในบริการพยาบาลแก่ผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการหน่วยพักรอดูอาการผู้ป่วยนอก |
บรรณานุกรม | : |
เกศริน จันทร์นิมิตรศรี, 2501- . (2546). ผลของการใช้โปรแกรมฝึกพฤติกรรมบริการพยาบาลต่อความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้ใช้บริการหน่วยพักรอดูอาการผู้ป่วยนอก.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เกศริน จันทร์นิมิตรศรี, 2501- . 2546. "ผลของการใช้โปรแกรมฝึกพฤติกรรมบริการพยาบาลต่อความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้ใช้บริการหน่วยพักรอดูอาการผู้ป่วยนอก".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เกศริน จันทร์นิมิตรศรี, 2501- . "ผลของการใช้โปรแกรมฝึกพฤติกรรมบริการพยาบาลต่อความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้ใช้บริการหน่วยพักรอดูอาการผู้ป่วยนอก."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546. Print. เกศริน จันทร์นิมิตรศรี, 2501- . ผลของการใช้โปรแกรมฝึกพฤติกรรมบริการพยาบาลต่อความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้ใช้บริการหน่วยพักรอดูอาการผู้ป่วยนอก. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
|