ชื่อเรื่อง | : | ความสัมพันธ์ระหว่าง ดัชนีมวลกาย การปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน การเข้าถึงบริการสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม กับภาวะสุขภาพและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สอง |
นักวิจัย | : | สมคิด สีหสิทธิ์, 2501- |
คำค้น | : | ดัชนีมวลกาย , เบาหวาน--ผู้ป่วย , การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง , การสนับสนุนทางสังคม , น้ำตาลในเลือด |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สุรีพร ธนศิลป์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2546 |
อ้างอิง | : | 9741734247 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1870 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (พย.ม)-- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาภาวะสุขภาพและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ดัชนีมวลกาย การปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน การเข้าถึงบริการสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม กับภาวะสุขภาพและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองวัยผู้ใหญ่ ที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลราชวิถี จำนวน 60 ราย และโรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 50 ราย รวมเป็น 110 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถาม การปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน การเข้าถึงบริการสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม และแบบประเมินภาวะสุขภาพ ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .65 .77 .91 และ .81 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันผลการวิจัยพบว่า 1.ผู้ป่วยเบาหวานรับรู้ว่าตนเองมีสุขภาพอยู่ในระดับดี (X=126.19) ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ปกติ (X=8.56) โดยพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 79.1 มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าเกณฑ์ปกติ (HbA[subscript 1C]less or equal than 7) มีเพียงร้อยละ 20.9 ที่ระดับ น้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ (HbA[subscript 1C]less or equal than 7) 3. การเข้าถึงบริการสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม และการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันด้านการควบคุมอาหารมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะสุภาพของผู้ป่วยเบาหวาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (r=.539, r=.480 และ r=.201 ตามลำดับ) ในขณะที่ดัชนีมวลกายและการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันโดยรวมไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 4. การปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน ด้านการรับประทานยามีความสัมพันธ์ทางลบกับระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (r=-.208) ในขณะที่ดัชนีมวลกาย การเข้าถึงบริการสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม และการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันโดยรวมไม่มีความสัมพันธ์กับระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 |
บรรณานุกรม | : |
สมคิด สีหสิทธิ์, 2501- . (2546). ความสัมพันธ์ระหว่าง ดัชนีมวลกาย การปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน การเข้าถึงบริการสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม กับภาวะสุขภาพและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สอง.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สมคิด สีหสิทธิ์, 2501- . 2546. "ความสัมพันธ์ระหว่าง ดัชนีมวลกาย การปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน การเข้าถึงบริการสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม กับภาวะสุขภาพและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สอง".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สมคิด สีหสิทธิ์, 2501- . "ความสัมพันธ์ระหว่าง ดัชนีมวลกาย การปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน การเข้าถึงบริการสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม กับภาวะสุขภาพและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สอง."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546. Print. สมคิด สีหสิทธิ์, 2501- . ความสัมพันธ์ระหว่าง ดัชนีมวลกาย การปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน การเข้าถึงบริการสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม กับภาวะสุขภาพและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สอง. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
|