ชื่อเรื่อง | : | ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ที่ได้รับเคมีบำบัด |
นักวิจัย | : | เพียงใจ ดาโลปการ, 2502- |
คำค้น | : | ความล้า , เต้านม -- มะเร็ง , เต้านม -- มะเร็ง -- ผู้ป่วย |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ชนกพร จิตปัญญา , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741726112 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1844 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรจากกรอบแนวคิดของไปเปอร์ กับความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ที่ได้รับเคมีบำบัดประเภทผู้ป่วยนอกที่โรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์และสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยมะเร็งเต้านมจำนวน 160 คน ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความเหนื่อยล้า แบบประเมินความทุกข์ทรมานจากอาการ แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ แบบประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรม แบบประเมินความซึมเศร้าและแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และมีค่าความเที่ยงจากการคำนวณสัมประสิทธิ์แอลฟาของ ครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.96, 0.81, 0.89, 0.83, 0.90 และ 0.93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดอยู่ในระดับปานกลาง (X = 5.11, S.D. = 1.82) 2. ความทุกข์ทรมานจากอาการและความซึมเศร้ามีความสัมพันธ์ทางบวก กับความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .801 และ .699 ตามลำดับ) 3. คุณภาพการนอนหลับ พฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรม การสนับสนุนทางสังคมและอายุ มีความสัมพันธ์ทางลบกับความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ที่ได้รับเคมีบำบัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.654, -.521, -.411 และ -.188 ตามลำดับ) 4. ระยะของโรคมะเร็ง สูตรเคมีบำบัด ภาวะซีด และภาวะโภชนาการ ไม่มีความสัมพันธ์กับความเหนื่อยล้า ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด 5. ความทุกข์ทรมานจากอาการ ความซึมเศร้า คุณภาพการนอนหลับและพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรม สามารถร่วมกันพยากรณ์ความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ที่ได้รับเคมีบำบัดได้ 74.60% (R2 = .746) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสร้างสมการพยากรณ์ในรูปของคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้ ความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด = .481 (ความทุกข์ทรมานจากอาการ) +.297 (ความซึมเศร้า) -.159 (คุณภาพการนอนหลับ) -.096 (พฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรม) |
บรรณานุกรม | : |
เพียงใจ ดาโลปการ, 2502- . (2545). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ที่ได้รับเคมีบำบัด.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เพียงใจ ดาโลปการ, 2502- . 2545. "ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ที่ได้รับเคมีบำบัด".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เพียงใจ ดาโลปการ, 2502- . "ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ที่ได้รับเคมีบำบัด."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. เพียงใจ ดาโลปการ, 2502- . ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ที่ได้รับเคมีบำบัด. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|