ชื่อเรื่อง | : | ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะผู้นำ รูปแบบการดำเนินชีวิต และความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง กับการมีจิตสำนึกสาธารณะ ของนักศึกษาพยาบาลเขตกรุงเทพมหานคร |
นักวิจัย | : | หฤทัย อาจปรุ, 2519- |
คำค้น | : | นักศึกษาพยาบาล , พยาบาลศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน , มติมหาชน , ประชาสังคม , ภาวะผู้นำ , รูปแบบการดำเนินชีวิต , การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | พวงเพ็ญ ชุณหปราน , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2544 |
อ้างอิง | : | 9740316875 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1813 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 ศึกษาการมีจิตสำนึกสาธารณะของนักศึกษาพยาบาล เขตกรุงเทพมหานคร ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะผู้นำ รูปแบบการดำเนินชีวิต และความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง กับการมีจิตสำนึกสาธารณะของนักศึกษาพยาบาล และศึกษาปัจจัยที่สามารถพยากรณ์การมีจิตสำนึกสาธารณะ ของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 1, 2, 3 และ 4 สถาบันการศึกษาพยาบาลเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ จำนวน 510 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามภาวะผู้นำ แบบสอบถามรูปแบบการดำเนินชีวิต แบบสอบถามความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง และแบบสอบถามการมีจิตสำนึกสาธารณะของนักศึกษาพยาบาล ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และความเที่ยงโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach's alpha coefficient) เท่ากับ .94, .89, .88 และ .90 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปอร์เซ็นต์ไทล์ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ แบบเพียร์สัน และ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยของคะแนนการมีจิตสำนึกสาธารณะของนักศึกษาพยาบาล เขตกรุงเทพมหานคร เท่ากับ 197.22 คะแนน คิดเป็น 76.90% ของคะแนนเต็ม (คะแนนเต็ม = 255 คะแนน) ซึ่งอยู่ตำแหน่งเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 52 และได้เสนอเกณฑ์ค่าเฉลี่ยและค่าคะแนน ณ ตำแหน่งเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 10-100 เพื่อนำไปใช้เป็นเกณฑ์ในการวิจัยครั้งต่อไป 2. ภาวะผู้นำ รูปแบบการดำเนินชีวิตกลุ่มวิชาการ กลุ่มวิชาชีพ กลุ่มก้าวหน้า กลุ่มกิจกรรม กลุ่มสังคม ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง และสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการมีจิตสำนึกสาธารณะ ของนักศึกษาพยาบาล สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ภูมิลำเนาในกรรุงเทพมหานคร และรูปแบบการดำเนินชีวิตกลุ่มเก็บตัว มีความสัมพันธ์ทางลบกับการมีจิตสำนึกสาธารณะของนักศึกษาพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ตัวแปรที่สามารถร่วมกันพยากรณ์ การมีจิตสำนึกสาธารณะของนักศึกษาพยาบาลได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 มีความสำคัญตามลำดับดังนี้ ภาวะผู้นำ รูปแบบการดำเนินชีวิตกลุ่มก้าวหน้า รูปแบบการดำเนินชีวิตกลุ่มกิจกรรม และความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 45.60 (R2 = .456) |
บรรณานุกรม | : |
หฤทัย อาจปรุ, 2519- . (2544). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะผู้นำ รูปแบบการดำเนินชีวิต และความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง กับการมีจิตสำนึกสาธารณะ ของนักศึกษาพยาบาลเขตกรุงเทพมหานคร.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หฤทัย อาจปรุ, 2519- . 2544. "ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะผู้นำ รูปแบบการดำเนินชีวิต และความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง กับการมีจิตสำนึกสาธารณะ ของนักศึกษาพยาบาลเขตกรุงเทพมหานคร".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หฤทัย อาจปรุ, 2519- . "ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะผู้นำ รูปแบบการดำเนินชีวิต และความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง กับการมีจิตสำนึกสาธารณะ ของนักศึกษาพยาบาลเขตกรุงเทพมหานคร."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544. Print. หฤทัย อาจปรุ, 2519- . ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะผู้นำ รูปแบบการดำเนินชีวิต และความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง กับการมีจิตสำนึกสาธารณะ ของนักศึกษาพยาบาลเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544.
|