ชื่อเรื่อง | : | การใช้เมต้าฮิวริสติกลูกผสมเพื่อแก้ไขปัญหาการจัดเรียงชิ้นงานที่มีรูปร่างไม่แน่นอน |
นักวิจัย | : | กิตติพงศ์ เอกไชย |
คำค้น | : | - |
หน่วยงาน | : | ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2546 |
อ้างอิง | : | http://www.thaithesis.org/detail.php?id=1162546000572 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | ปัญหาการจัดเรียงชิ้นงาน คือปัญหาที่กล่าวถึงลักษณะการจัดวางวัตถุขนาดเล็กลงบนวัสดุขนาดใหญ่เพื่อให้ประหยัดวัสดุมากที่สุด ปัญหาการจัดเรียงชิ้นงานมีอยู่ในอุตสาหกรรมหลายชนิด หากการจัดเรียงชิ้นงานทำได้อย่างมีประสิทธิภาพจะสามารถลดต้นทุนค่าวัสดุลงได้มาก ปัญหาการจัดเรียงชิ้นงานเป็นปัญหาที่มีรูปแบบเป็นปัญหาแบบเอ็นพี(NP-Problem) ไม่สามารถที่หาคำตอบที่ดีที่สุดได้ในเวลาที่จำกัด ในวิทยานิพนธ์นี้เสนอการนำเอาวิธีการเมต้าฮิวริสติกแบบต่าง ๆ ได้แก่ ซิมูเลตเต็ดแอนเนียลลิ่ง(Simulated Annealing) เจนเนติกอัลกอริธึม (Genetic Algorithms) และทาบูเสิร์ช(Tabu Search) มาผสมกันเพื่อแก้ไขปัญหาการจัดเรียงชิ้นงาน โดยนำเอาข้อดีของวิธีการแต่ละแบบมาใช้ วิธีเมต้าฮิวริสติกลูกผสมที่เสนอมีสองรูปแบบ ได้แก่ 1. การนำวิธีเมต้าฮิวริสติกแบบวิธีเจนเนติกอัลกอริธึมและวิธีซิมูเลตเต็ดแอนเนียลลิ่งมาผสมกัน วิธีการนี้จะเริ่มต้นด้วยวิธีเจนเนติกอัลกอริธึม และจบลงด้วยวิธีการแบบซิมูเลตเต็ดแอนเนียลลิ่ง จากการจำลองการทำงานพบว่าวิธีการแบบผสมชนิดนี้ให้ผลการจัดเรียงชิ้นงานดีกว่าวิธีเจนเนติกอัลกอริธึมอยู่ในช่วง 2.35-3.91% และให้ผลการจัดเรียงชิ้นงานดีกว่าวิธีซิมูเลตเต็ดแอนเนียลลิ่งอยู่ในช่วง 0.32-0.51% 2. การนำวิธีเมต้าฮิวริสติกแบบวิธีเจนเนติกอัลกอริธึมและวิธีทาบูเสิร์ชมาผสมกันวิธีการนี้จะเริ่มต้นทำงานด้วยวิธีเจเนติกอัลกอริธึม และจบลงด้วยวิธีทาบูเสิร์ชจากการจำลองการทำงานพบว่าวิธีการแบบผสมชนิดนี้ให้ผลการจัดเรียงชิ้นงานดีกว่าวิธีเจนเนติกอัลกอริธึมอยู่ในช่วง 2.67-3.86% และให้ผลการจัดเรียงชิ้นงานดีกว่าวิธีทาบูเสิร์ชอยู่ในช่วง 0.34-0.78% วิธีการแบบผสมจำเป็นต้องใช้เวลาการทำงานมากกว่าวิธีการแบบอัลกอริธึมเดียว(ซิมูเลตเต็ดแอนเนียลลิ่ง และทาบูเสิร์ช) จึงจได้ผลการจัดเรียงที่ดี ดังนั้นหากมีเวลาการทำงานมากควรเลือกวิธีการแบบผสม แต่หากมีเวลาการทำงานน้อยควรเลือกวิธีการแบบอัลกอริธึมเดียว นอกจากนี้จากการจำลองการทำงานยังพบว่าวิธีทาบูเสิร์ชเหมาะกับการจัดเรียงที่มีจำนวนชิ้นงานน้อยกว่า 26 ชิ้น และวิธีเมต้าฮิวริสติกแบบซิมูเลตเต็ดแอนเนียลลิ่งเหมาะการจัดเรียงที่มีจำนวนชิ้นงานกว่ากว่า 26 ชิ้น |
บรรณานุกรม | : |
กิตติพงศ์ เอกไชย . (2546). การใช้เมต้าฮิวริสติกลูกผสมเพื่อแก้ไขปัญหาการจัดเรียงชิ้นงานที่มีรูปร่างไม่แน่นอน.
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. กิตติพงศ์ เอกไชย . 2546. "การใช้เมต้าฮิวริสติกลูกผสมเพื่อแก้ไขปัญหาการจัดเรียงชิ้นงานที่มีรูปร่างไม่แน่นอน".
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. กิตติพงศ์ เอกไชย . "การใช้เมต้าฮิวริสติกลูกผสมเพื่อแก้ไขปัญหาการจัดเรียงชิ้นงานที่มีรูปร่างไม่แน่นอน."
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย, 2546. Print. กิตติพงศ์ เอกไชย . การใช้เมต้าฮิวริสติกลูกผสมเพื่อแก้ไขปัญหาการจัดเรียงชิ้นงานที่มีรูปร่างไม่แน่นอน. กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย; 2546.
|