ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนาการเกษตรที่ยั่งยืนสำหรับเกษตรกรชาวสวนยางพารา : ศึกษาความเป็นไปได้ ในการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในสวนยางพารา จังหวัดสงขลา และสตูล |
นักวิจัย | : | ยุพิน รามณีย์ |
คำค้น | : | - |
หน่วยงาน | : | ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2541 |
อ้างอิง | : | http://www.thaithesis.org/detail.php?id=58259 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคมของเกษตรกรชาวสวนยางพารา ประเภทต่าง ๆ ศึกษารูปแบบความหลากหลายทางชีวภาพในสวนยางพาราโดยการปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น ร่วมในสวนยางพาราที่เกษตรกรปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน และศึกษาความเป็นไปได้ในการทำสวนยางโดย การเพิ่มไม้ผลและไม้ยืนต้นในสวนยางพาราของเกษตรกรประเภทต่าง ๆ วิธีการศึกษาแบ่งออกเป็น สามส่วนคือ สัมภาษณ์แบบเจาะลึกเกษตรกรที่มีการปลูกพืชร่วมยางจำนวน 28 ครัวเรือน สัมภาษณ์ เกษตรกรที่ปลูกยางพาราแต่ยังไม่ได้ปลูกพืชร่วมยางจำนวน 111 ครัวเรือน ที่ได้จากการสุ่ม ตัวอย่าง และการศึกษาจากเอกสาร ผลการศึกษาพบว่าลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรชาวสวนยางในพื้นที่ศึกษาทั้งที่ มีการปลูกพืชร่วมยางแล้วและยังไม่ได้ปลูกพืชร่วมยางแบ่งออกเป็น 4 ประเภทตามสัดส่วนระหว่าง พื้นที่ที่ใช้ทำเกษตรกรกับแรงงานที่ทำการเกษตรและกิจกรรมอื่น ๆ ในครัวเรือนได้แก่ (1) เกษตรกรประเภทที่มีที่ดินทำการเกษตรของตนเองน้อยกว่าจำนวนแรงงานในครัวเรือนที่ทำ เกษตรได้ (2) เกษตรกรประเภทที่มีที่ดินทำการเกษตรของตนเองเพียงพอที่จะรองรับแรงงานใน ครัวเรือน (3) เกษตรกรประเภทที่มีที่ดินทำการเกษตรของตนเองมากเกินกว่าแรงงานในครัวเรือน จะทำได้ และ (4) เกษตรนายจ้างคือเป็นผู้จ้างให้ผู้อื่นทำฟาร์มของตนเองเป็นส่วนใหญ่ ความหลากหลายทางชีวภาพที่ปรากฎในสวนยางแบ่งเป็น 3 รูปแบบคือ (1) สวนยางที่มีการ ปลูกยางร่วมกับพืชร่วมยางหนึ่งชนิด (2) สวนยางที่มีการปลูกยางร่วมกับพืชร่วมยางสองชนิด โดยลักษณะการปลูกพืชร่วมยางทั้งสองรูปแบบนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับสวนสมัยใหม่คือมีระยะ ระหว่างต้นและแถวที่แน่นอน (3) สวนยางที่มีการปลูกยางร่วมกับพืชร่วมยางสามชนิดขึ้นไป พืชร่วมยางที่ปลูกในสวนยางมีระยะความห่างระหว่างต้นและแแถวที่ไม่แน่นอน ทั้งสามรูปแบบ ของการปลูกพืชร่วมยางยังมีการบำรุงรักษาน้อย จากการประเมินการเจริญเติบโตของพืชร่วมและ โอกาสได้รับผลผลิตในอนาคต พบว่า การเจริญเติบโตของพืชร่วมยางดีมากและมีโอกาสได้รับผลผลิต มากร้อยละ 55.88 ของจำนวนแปลงทั้งหมดที่ศึกษา อย่างไรก็ตามในปัจจุบันยังไม่สามารถวัด ผลิตภาพของการปลูกพืชร่วมยางรูปแบบต่าง ๆ ได้เนื่องจากพืชร่วมยางทุกแปลงยังไม่ได้ผลผลิต แต่ในอนาคตเกษตรกรร้อยละ 88.24 ที่ปลูกพืชร่วมยางแล้วจะโค่นต้นยางออกเหลือแต่พืชที่ได้ ปลูกร่วมอย่างเดียวเท่านั้น สำหรับเกษตรกรที่ยังไม่ได้ปลูกพืชร่วมยางพบว่ากระบวนการเรียนรู้ที่จะทำให้มีการ ขยายการปลูกพืชร่วมยางยังมีน้อยและเมื่อเปรียบเทียบโอกาสในการปลูกพืชร่วมยางของเกษตรกร ประเภทต่าง ๆ พบว่า เกษตรกรประเภทที่ 4 มีโอกาสในการปลูกพืชร่วมยางมาก เกษตรกรประเภท ที่ 1 และ 2 มีโอกาสในการปลูกพืลร่วมยางปานกลาง ส่วนเกษตรกรประเภทที่ 3 มีโอกาสในการปลูก พืชร่วมยางน้อย ในแง่นโยบายการพัฒนาความหลากหลายทางชีวภาพในสวนยางยังขาดความเกื้อหนุนให้เกษตรกร นำไปปฏิบัติได้เนื่องจากยังขาดองค์ความรู้ที่ชัดเจนในเรื่องนี้รวมทั้งกฎระเบียบต่าง ๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเกี่ยวกับการปลูกยางทดแทนไม่สนับสนุนให้เกษตรกรทั่วไป ได้มีโอกาสทดลองการปลูกพืชร่วมยางได้อย่างอิสระเนื่องจากขัดกับระเบียบในการได้รับเงิน สงเคราะห์การทำสวนยาง |
บรรณานุกรม | : |
ยุพิน รามณีย์ . (2541). การพัฒนาการเกษตรที่ยั่งยืนสำหรับเกษตรกรชาวสวนยางพารา : ศึกษาความเป็นไปได้ ในการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในสวนยางพารา จังหวัดสงขลา และสตูล.
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. ยุพิน รามณีย์ . 2541. "การพัฒนาการเกษตรที่ยั่งยืนสำหรับเกษตรกรชาวสวนยางพารา : ศึกษาความเป็นไปได้ ในการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในสวนยางพารา จังหวัดสงขลา และสตูล".
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. ยุพิน รามณีย์ . "การพัฒนาการเกษตรที่ยั่งยืนสำหรับเกษตรกรชาวสวนยางพารา : ศึกษาความเป็นไปได้ ในการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในสวนยางพารา จังหวัดสงขลา และสตูล."
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย, 2541. Print. ยุพิน รามณีย์ . การพัฒนาการเกษตรที่ยั่งยืนสำหรับเกษตรกรชาวสวนยางพารา : ศึกษาความเป็นไปได้ ในการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในสวนยางพารา จังหวัดสงขลา และสตูล. กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย; 2541.
|