ชื่อเรื่อง | : | พฤติกรรมการดูดติดผิวและการเคลื่อนที่ของอาร์เซเนตในชั้นน้ำใต้ดิน |
นักวิจัย | : | ธนัชพร อยู่ยั่งยืน, 2524- |
คำค้น | : | อาร์เซนิก , น้ำใต้ดิน , การดูดซับ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | เขมรัฐ โอสถาพันธุ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9741760833 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1669 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความสามารถในการดูดติดผิวของอาร์เซเนตบนดินธรรมชาติในประเทศไทย ความสามารถในการเคลื่อนที่ของอาร์เซเนตในชั้นน้ำใต้ดิน และศึกษาผลของอิออนลบที่มีต่อการดูดติดผิวและการคายตัวอาร์เซเนต ตัวอย่างดิน 3 ชนิด คือ ดินร่วนเหนียวปนทราย ดินร่วนเหนียว และดินทรายปนร่วน ในการทดลองแบบแบตช์ ศึกษาประสิทธิภาพและความสามารถในการดูดติดผิวของดินแต่ละชนิดที่สภาวะพีเอชเริ่มต้น 4 7 และ10 ศึกษาผลของอิออนลบ 2 ชนิดที่พบได้มากในน้ำใต้ดิน คือฟอสเฟต และไบคาร์บอเนต ที่มีต่อการดูดติดผิวของอาร์เซเนต ส่วนการทดลองแบบคอลัมน์ศึกษาถึงการป้อนสารตามรอยเข้าสู่คอลัมน์เพื่อคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์การกระจายตัว ศึกษาการเคลื่อนที่ของอาร์เซเนตในดินทั้งในภาวะมีและไม่มีอิออนลบและเปรียบเทียบกับการประมาณจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การทดลองแบบแบตช์ พบว่าปริมาณอาร์เซเนตที่ถูกดูดติดผิวมีค่าเพิ่มขึ้นตามปริมาณดินแต่ความสามารถในการดูดติดผิวเทียบกับน้ำหนักดินมีค่าลดลง และพีเอชเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการดูดติดผิว โดยที่ทุกพีเอช ดินร่วนเหนียวปนทรายมีความสามารถในการดูดติดผิวสูงที่สุด และความสามารถในการดูดติดผิวลดลงเมื่อ พีเอชของสารละลายเพิ่มขึ้น เมื่อมีอิออนลบ พบว่าฟอสเฟตสามารถยับยั้งการดูดติดผิวของอาร์เซเนตในดินได้ ต่างจากไบคาร์บอเนตที่เพิ่มความสามารถในการดูดติดผิวของอาร์เซเนต และพบว่า ไอโซเทอมการดูดติดผิวของอาร์เซเนตเป็นแบบแลงมัวร์ ผลการทดลองแบบคอลัมน์ พบว่าสัมประสิทธิ์การกระจายตัวของดินร่วนเหนียวปนทราย ดินร่วนเหนียวและดินทรายปนร่วน มีค่าเท่ากับ 2.93 x 10[superscript 3] 2.75 x 10[superscript 3] และ 10.64 x 10[superscript 3] ซม.2/วินาทีตามลำดับ ส่วนผลการเคลื่อนที่ของอาร์เซเนตในคอลัมน์ดินร่วนเหนียวปนทรายจะช้าที่สุด เนื่องจากมีความสามารถในการดูดติดผิวสูงที่สุด และคอลัมน์ที่มีอิออนลบพบว่าฟอสเฟตทำให้การดูดติดผิวของอาร์เซเนตลดลง แต่ ไบคาร์บอเนตที่อัตราส่วน 1 : 1 จะเพิ่มความสามารถในการดูดติดผิว และเมื่อทำการประมาณการเคลื่อนที่ด้วยโปรแกรม HYDRUS2D พบว่าโปรแกรมจะประมาณการเคลื่อนที่ช้ากว่าผลการทดลองแบบคอลัมน์ ผลการทดลองดังกล่าวสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงวิศวกรรม ในการบำบัดการปนเปื้อนของ อาร์เซเนตในชั้นน้ำใต้ดินได้ โดยโปรแกรมสามารถใช้ร่วมกับการทดลองแบบคอลัมน์ในการวางแผนการบำบัดและฟื้นฟู และสามารถใช้ฟอสเฟตเร่งการชะอาร์เซเนตที่ปนเปื้อนบนดิน ให้หลุดออกจากผิวหน้าดินไปอยู่ในน้ำใต้ดิน และสามารถสูบขึ้นแล้วบำบัดได้เร็วมากยิ่งขึ้น |
บรรณานุกรม | : |
ธนัชพร อยู่ยั่งยืน, 2524- . (2547). พฤติกรรมการดูดติดผิวและการเคลื่อนที่ของอาร์เซเนตในชั้นน้ำใต้ดิน.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ธนัชพร อยู่ยั่งยืน, 2524- . 2547. "พฤติกรรมการดูดติดผิวและการเคลื่อนที่ของอาร์เซเนตในชั้นน้ำใต้ดิน".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ธนัชพร อยู่ยั่งยืน, 2524- . "พฤติกรรมการดูดติดผิวและการเคลื่อนที่ของอาร์เซเนตในชั้นน้ำใต้ดิน."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. ธนัชพร อยู่ยั่งยืน, 2524- . พฤติกรรมการดูดติดผิวและการเคลื่อนที่ของอาร์เซเนตในชั้นน้ำใต้ดิน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|