ชื่อเรื่อง | : | การใช้น้ำด่างที่ใช้แล้วจากอุตสาหกรรมรมดำในกระบวนการตกตะกอนตะกั่ว ในน้ำเสียอุตสาหกรรมการหลอมแบตเตอรี่เก่า |
นักวิจัย | : | พรรคพงษ์ ศรีประเสริฐ, 2519- |
คำค้น | : | น้ำเสีย--การบำบัด , ตะกั่ว , แบตเตอรี่ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ธเรศ ศรีสถิตย์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9741771525 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1612 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแนวทางในการใช้น้ำด่างที่ใช้แล้ว (spent alkaline) จากอุตสาหกรรมรมดำในกระบวนการตกตะกอนตะกั่วในน้ำเสียอุตสาหกรรมการหลอมแบตเตอรี่เก่า โดยเปรียบเทียบกับสารตกตะกอนอีก 2 ชนิด ได้แก่ NaOH และ Na[subscript 2]CO[subscript 3] การประเมินแหล่งที่มาและอัตราการเกิดของน้ำเสียตะกั่วจากโรงงานหลอมแบตเตอรี่เก่า พบว่า มีน้ำเสียที่ต้องบำบัด 40 ลบ.ม./วัน คิดเป็นอัตราส่วนต่อผลิตภัณฑ์ตะกั่วแท่งเท่ากับ 1.9 ลิตร/ตะกั่วแท่ง 1 กก. อัตราการเกิดน้ำด่างที่ใช้แล้วของอุตสาหกรรมดำ คือ 42 ลิตร/วัน คิดเป็นอัตราส่วนต่อผลิตภัณฑ์เหล็กรมดำเท่ากับ 0.06 ลิตร/ชิ้นงาน 1 กก. การกำจัดตะกั่วด้วยกระบวนการตกตะกอนทางเคมีเมื่อใช้ NaOH เป็นสารตกตะกอน พบว่าค่า pH ที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 8.5-10.5 การใช้ร่วมกับโพลีเมอร์ประจุลบช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการตกตะกอนได้ดีที่ความเข้มข้น 2 มก./ล. สามารถกำจัดตะกั่วในรูปตะกั่วละลายและตะกั่วทั้งหมด เท่ากับ 100 และ 99.57% ตามลำดับ มีปริมาณตะกั่วในตะกอนอบแห้ง 24% ค่าใช้จ่ายในการบำบัดคือ 197 บาท/น้ำเสีย 1 ลบ.ม. เมื่อตกตะกอนด้วยน้ำด่างที่ใช้แล้ว (spent alkaline) พบว่าค่า pH ที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 8.5-10.5 การใช้ร่วมกับโพลีเมอร์ประจุลบช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการตกตะกอนได้ดีที่ความเข้มข้น 1.8 มก./ล. สามารถกำจัดตะกั่วในรูปตะกั่วละลายและตะกั่วทั้งหมด เท่ากับ 100 และ 99.22% ตามลำดับ มีปริมาณตะกั่วในตะกอนอบแห้ง 21% ค่าใช้จ่ายในการบำบัดคือ 0.28-9.05 บาท/น้ำเสีย 1 ลบ.ม. ส่วนเมื่อใช้ Na[subscript 2]CO[subscript 3] เป็นสารตกตะกอน พบว่าค่า pH ที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 8.5-10.0 การใช้ร่วมกับโพลีเมอร์ประจุลบที่ความเข้มข้น 0.6 มก./ล. ไม่ช่วยให้ตะกอนจับตัวเป็นฟลอค แต่ช่วยลดความขุ่นได้ และสามารถกำจัดตะกั่วในรูปตะกั่วละลายและตะกั่วทั้งหมดเท่ากับ 88.81 และ 98.77% ตามลำดับ มีปริมาณตะกั่วในตะกอนอบแห้ง 14% ค่าใช้จ่ายในการบำบัดคือ 168.75-168.85 บาท/น้ำเสีย 1 ลบ.ม. จากการทดลองพบว่า การตกตะกอนด้วยน้ำด่างที่ใช้แล้ว (spent alkaline) ให้ประสิทธิภาพดีในการบำบัดตะกั่วในรูปตะกั่วละลาย ตะกั่วทั้งหมดและความขุ่น ดังนั้นจึงมีแนวโน้มที่จะสามารถนำ น้ำด่างที่ใช้แล้ว (spent alkaline) จากอุตสาหกรรมดำมาใช้บำบัดตะกั่วในน้ำเสียอุตสาหกรรมหลอมตะกั่วแท่งจากแบตเตอรี่เก่าได้ หากมีการแลกเปลี่ยนของเสียระหว่างทั้งสองโรงงาน (waste exchange) จะช่วยให้โรงงานรมดำลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดน้ำด่างที่ใช้แล้ว (spent alkaline) จากเดิมคิดเป็นเงิน 4,679 บาท/ลบ.ม. เหลือเป็นเงิน 0-929 บาท/ลบ.ม. และช่วยลดค่าใช้จ่ายในการตกตะกอนตะกั่วในน้ำเสียของโรงงานหลอมตะกั่วแท่งจากแบตเตอรี่เก่าจากเดิมเป็นเงิน 197 บาท/ลบ.ม. เหลือเป็นเงิน 0.28-9.05 บาท/ลบ.ม. |
บรรณานุกรม | : |
พรรคพงษ์ ศรีประเสริฐ, 2519- . (2547). การใช้น้ำด่างที่ใช้แล้วจากอุตสาหกรรมรมดำในกระบวนการตกตะกอนตะกั่ว ในน้ำเสียอุตสาหกรรมการหลอมแบตเตอรี่เก่า.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พรรคพงษ์ ศรีประเสริฐ, 2519- . 2547. "การใช้น้ำด่างที่ใช้แล้วจากอุตสาหกรรมรมดำในกระบวนการตกตะกอนตะกั่ว ในน้ำเสียอุตสาหกรรมการหลอมแบตเตอรี่เก่า".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พรรคพงษ์ ศรีประเสริฐ, 2519- . "การใช้น้ำด่างที่ใช้แล้วจากอุตสาหกรรมรมดำในกระบวนการตกตะกอนตะกั่ว ในน้ำเสียอุตสาหกรรมการหลอมแบตเตอรี่เก่า."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. พรรคพงษ์ ศรีประเสริฐ, 2519- . การใช้น้ำด่างที่ใช้แล้วจากอุตสาหกรรมรมดำในกระบวนการตกตะกอนตะกั่ว ในน้ำเสียอุตสาหกรรมการหลอมแบตเตอรี่เก่า. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|