ชื่อเรื่อง | : | การศึกษาผลกระทบของเฟาลิ่งที่มีต่อสมรรถนะของระบบทำความเย็นในโรงน้ำแข็ง |
นักวิจัย | : | ดำรงวิทย์ ทองดีนอก, 2522- |
คำค้น | : | การทำความเย็นและเครื่องทำความเย็น , เฟาลิ่ง |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | พงษ์ธร จรัญญากรณ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9741766874 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1579 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 งานวิจัยนี้เกี่ยวข้องกับการศึกษาถึงผลกระทบของเฟาลิ่งที่มีต่อสมรรถนะของระบบทำความเย็นในโรงน้ำแข็ง โดยทำการบันทึกข้อมูลจริงในโรงน้ำแข็ง การตรวจวัดและบันทึกการทำงานจริงในโรงน้ำแข็ง เพื่อใช้ในการคำนวณหาสมรรถนะของระบบการทำความเย็นและการเปลี่ยนแปลงของความต้านทานเฟาลิ่ง (Fouling Resistance) เพื่อศึกษาผลกระทบของความต้านทางเฟาลิ่งและช่วยในการอธิบายการเจริญเติบโตของเฟาลิ่ง โดยทำการเก็บข้อมูล 3 ช่วงตามฤดูกาล พร้อมทั้งทำการเปรียบเทียบพฤติกรรมการเจริญเติบโตของเฟาลิ่งกับสมรรถนะของระบบการทำความเย็นในแต่ละฤดูกาล จากการศึกษาพบว่าค่าความต้านทานเฟาลิ่งในฤดูหนาวมีค่าระหว่าง 0.0005 (m[superscript 2].K)/W 0.0014 (m[superscirpt 2].K)/W ค่าความต้านทานเฟาลิ่งในฤดูร้อนมีค่าระหว่าง 0.0005 (m[superscript 2].K)/W 0.0018 (m[superscript 2].K)/W และค่าความต้านทานเฟาลิ่งในฤดูฝนมีค่าระหว่าง 0.0005 (m[superscript 2].K)/W 0.0014 (m[superscript 2].K)/W นอกจากนี้ค่าเฟาลิ่งของทั้งสามฤดูมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นรวดเร็วในช่วงเริ่มต้นและจะเพิ่มในอัตราที่ช้าลงในช่วงท้าย ตามจำนวนวันหลังจากการทำการล้างเครื่องควบแน่นเป็นลักษณะ Falling rate ทำให้สมรรถนะของระบบทำความเย็น (COP และ EER) ของโรงน้ำแข็งลดลง 2.0% และ 3.3% ตามลำดับ อย่างไรก็ตามค่า COP และ EER ดังกล่าวยังได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกหลายอย่างอีกด้วย การเปรียบเทียบกับระบบที่ใช้เครื่องควบแน่นแบบเปลือกและท่อพบว่ามีสมรรถนะ (COP และ EER) สูงกว่า 4.0% และ 14.50% ตามลำดับ เมื่อพิจารณาผลการศึกษาร่วมกับปริมาณการผลิตน้ำแข็งจะทำให้ทราบถึงข้อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้พลังงาน เช่น ค่าพลังงานต่อหน่วยการผลิตในสภาวะการทำงานต่างๆ ได้ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการผลิตหรือการควบคุมการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้นงานวิจัยนี้สามารถสรุปแนวทางในการทำงานที่เหมาะสมสำหรับสภาพปัจจุบันให้แก่ทางโรงงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประหยัดพลังงาน |
บรรณานุกรม | : |
ดำรงวิทย์ ทองดีนอก, 2522- . (2547). การศึกษาผลกระทบของเฟาลิ่งที่มีต่อสมรรถนะของระบบทำความเย็นในโรงน้ำแข็ง.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ดำรงวิทย์ ทองดีนอก, 2522- . 2547. "การศึกษาผลกระทบของเฟาลิ่งที่มีต่อสมรรถนะของระบบทำความเย็นในโรงน้ำแข็ง".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ดำรงวิทย์ ทองดีนอก, 2522- . "การศึกษาผลกระทบของเฟาลิ่งที่มีต่อสมรรถนะของระบบทำความเย็นในโรงน้ำแข็ง."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. ดำรงวิทย์ ทองดีนอก, 2522- . การศึกษาผลกระทบของเฟาลิ่งที่มีต่อสมรรถนะของระบบทำความเย็นในโรงน้ำแข็ง. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|