ชื่อเรื่อง | : | การสร้างชุดฝึกทักษะการอ่านออกเสียงตัวสะกดตามมาตราแม่กบ แม่กน และแม่กด สำหรับนักเรียนชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงสกอ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน |
นักวิจัย | : | สุนทรีลักษณ์ วรรณชาติ |
คำค้น | : | - |
หน่วยงาน | : | ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2549 |
อ้างอิง | : | http://www.thaithesis.org/detail.php?id=1052549000047 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างชุดฝึกทักษะการอ่านออกเสียงตัวสะกดตามมาตราแม่กบ แม่กน และแม่กด สำหรับนักเรียนชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงสกอ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านออกเสียงตัวสะกดตามมาตราแม่กบ แม่กน และแม่กด เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านออกเสียงตัวสะกดตามมาตราแม่กบ แม่กน แม่กด กับผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีสอนตามปกติ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำที่มีตัวสะกดตามมาตราแม่กบ แม่กน และแม่กด ประชากรได้แก่นักเรียนชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงสกอ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงสกอของโรงเรียนบ้านสุดห้วยนาจำนวน 15 คน เป็นกลุ่มทดลองและนักเรียนโรงเรียนบ้านแม่ลิด จำนวน 15 คน เป็นกลุ่มควบคุมรวมทั้งหมด 30 คนโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ชุดฝึกทักษะการอ่านออกตัวสะกดตามมาตราแม่กบ แม่กน และแม่กด จำนวน 10 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านออกเสียงคำที่มีตัวสะกดในมาตราแม่ กบ แม่กน และแม่กดจำนวน 3 ชุดแบบสอบถามความพึงพอใจที่นักเรียนมีต่อชุดฝึกทักษะการอ่านออกเสียงตัวสะกดตามมาตราแม่กบ แม่กน และ แม่กด สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวน ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่า t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. ชุดฝึกทักษะการอ่านออกเสียงตัวสะกดตามมาตราแม่กบ แม่กน และแม่กด ที่สร้างขึ้นมีทั้งหมด 10 ชุด ใช้เวลาแผนละ 1 ชั่วโมง มีประสิทธิภาพอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน 88 ต่อ 88 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านออกเสียงตัวสะกดตามมาตราแม่กบ แม่กน และแม่กด ปรากฏว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะกับนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีสอนตามปกติ ปรากฏว่านักเรียนกลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งแสดงว่านักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยวิธีสอนตามปกติ 4. ผลการตอบแบบสอบถามความพึงพอใจที่นักเรียนมีต่อชุดฝึกทักษะการอ่านออกเสียงตัวสะกดตามมาตราแม่กบ แม่กน และแม่กด ปรากฏว่านักเรียนทั้งหมดมีความพึงพอใจต่อชุดฝึกทักษะโดยคิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.41 ซึ่งแสดงว่านักเรียนมีความพึงพอใจในชุดฝึกทักษะนี้อยู่ในระดับมาก |
บรรณานุกรม | : |
สุนทรีลักษณ์ วรรณชาติ . (2549). การสร้างชุดฝึกทักษะการอ่านออกเสียงตัวสะกดตามมาตราแม่กบ แม่กน และแม่กด สำหรับนักเรียนชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงสกอ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน.
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. สุนทรีลักษณ์ วรรณชาติ . 2549. "การสร้างชุดฝึกทักษะการอ่านออกเสียงตัวสะกดตามมาตราแม่กบ แม่กน และแม่กด สำหรับนักเรียนชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงสกอ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน".
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. สุนทรีลักษณ์ วรรณชาติ . "การสร้างชุดฝึกทักษะการอ่านออกเสียงตัวสะกดตามมาตราแม่กบ แม่กน และแม่กด สำหรับนักเรียนชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงสกอ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน."
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย, 2549. Print. สุนทรีลักษณ์ วรรณชาติ . การสร้างชุดฝึกทักษะการอ่านออกเสียงตัวสะกดตามมาตราแม่กบ แม่กน และแม่กด สำหรับนักเรียนชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงสกอ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน. กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย; 2549.
|