ชื่อเรื่อง | : | การแปรรูปสมุนไพรเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง : กรณีศึกษาชุมชนตำบลหนองป่าครั่ง อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ |
นักวิจัย | : | ศิวดี พุทธิพันธ์ |
คำค้น | : | - |
หน่วยงาน | : | ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2549 |
อ้างอิง | : | http://www.thaithesis.org/detail.php?id=1052549000042 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นชุมชนหนองป่าครั่งเกี่ยวกับเรื่องสมุนไพร วิธีการแปรรูปสมุนไพรในชุมชน โดยกระบวนการจัดตั้งกลุ่มสมุนไพรในชุมชน เพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ทั้งหมด มี 40 คนจากบุคคลที่เกี่ยวข้องและมีและมีประสบการณ์เกี่ยวกับการแปรรูปสมุนไพร จำนวน 40 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ การสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบมีส่วนร่วมวิเคราะห์ข้อมูลโดยอยู่ในภาคสนามและวิเคราะห์ข้อมูลขั้นตอนสุดท้ายจากนั้นจึงนำเสนอผลการวิจัยเชิงพรรณนาบรรยาย ผลจากการศึกษาวิจัยพบว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นชุมชนหนองป่าครั่งเกี่ยวกับเรื่องสมุนไพรยังคงมีการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยมีบ้านของนางสุจิตรา วิโสภา เป็นศูนย์การถ่ายทอดองค์ความรู้ในชุมชน นอกจากนั้นแล้วในชุมชนยังรักษารูปแบบการใช้ประโยชน์จากสมุนไพร ในรูปแบบอาหารประจำวันและยารักษาโรค ด้านวิธีการแปรรูปสมุนไพรในชุมชน การแปรรูปสมุนไพรในชุมชนเกิดจากการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุชุมชนหนองป่าครั่ง เป็นกลุ่มสมุนไพรเล็ก ๆ การทำงานด้านแปรรูปสมุนไพรมีการจัดการภายในกลุ่มสมุนไพร โดยแบ่งหน้าที่กันทำ สินค้าที่ทำการผลิตมีลูกประคบเป็นหลัก นอกจากนั้นก็มีตุ๊กตาสมุนไพร น้ำมันหม่อง ยาอบ เป็นต้น ด้านการจำหน่ายสามารถจำหน่ายได้ทั้งที่ทำการกลุ่มสมุนไพรและตลาดแหล่งอื่น ด้านการสร้างชุมชนเข้มแข็ง เริ่มต้นด้วยการค้นหาปัญหา และสาเหตุของปัญหา ปัญหาที่พบคือ ด้านแรงงานและการจ้างงาน ปัญหาด้านกระบวนการผลิต ปัญหาด้านวัตถุดิบ จำนวนการผลิตและปัญหาด้านการตลาด ได้แก่ขาดการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ขาดการส่งเสริมด้านการตลาด หลังจากนั้นจึงศึกษาถึงการมีส่วนร่วมวางแผนดำเนินกิจกรรมแก้ไขปัญหา ทั้งในด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ การกำหนดราคา การผลักดันกลุ่มสมุนไพรให้เป็นวิสาหกิจชุมชน การสนับสนุนกลุ่มให้มีองค์กรรองรับ และการมีส่วนร่วมการได้รับผลประโยชน์ และการมีส่วนร่วมประเมินผลงานกิจกรรมโดยร่วมกันวิเคราะห์ด้านจุดแข็งและจุดอ่อนของกลุ่มอีกด้วย ผลของการตั้งกลุ่มสมุนไพรหนองป่าครั่งนี้ ได้สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ได้แก่สร้างรายได้เสริมให้แก่ประชากรในชุมชน สร้างความสามัคคีในชุมชน เป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชนสร้างความภาคภูมิใจให้แก่คนในชุมชนในฐานะภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพร การให้ความสำคัญแก่ทรัพยากรพื้นบ้าน |
บรรณานุกรม | : |
ศิวดี พุทธิพันธ์ . (2549). การแปรรูปสมุนไพรเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง : กรณีศึกษาชุมชนตำบลหนองป่าครั่ง อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่.
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. ศิวดี พุทธิพันธ์ . 2549. "การแปรรูปสมุนไพรเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง : กรณีศึกษาชุมชนตำบลหนองป่าครั่ง อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่".
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. ศิวดี พุทธิพันธ์ . "การแปรรูปสมุนไพรเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง : กรณีศึกษาชุมชนตำบลหนองป่าครั่ง อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่."
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย, 2549. Print. ศิวดี พุทธิพันธ์ . การแปรรูปสมุนไพรเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง : กรณีศึกษาชุมชนตำบลหนองป่าครั่ง อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย; 2549.
|