ชื่อเรื่อง | : | การวิเคราะห์ผลกระทบร่วมของกฎการจ่ายงานและกฎการกำหนดเวลาส่งมอบที่มีต่อประสิทธิภาพสายการประกอบ |
นักวิจัย | : | ปนิทัศน์ สุรียธนาภาส, 2524- |
คำค้น | : | แบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ , สายการผลิต , กำหนดงานการผลิต |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ปารเมศ ชุติมา , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9741766599 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1544 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบร่วมของกฎการจ่ายงาน และ กฎการกำหนดเวลาส่งมอบ ที่มีต่อประสิทธิภาพของระบบผลิตแบบสายการประกอบรูปแบบต่างๆ ทั้งในระบบที่สมดุลและไม่สมดุล โดยใช้เทคนิคการจำลองปัญหาทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำการศึกษาภายใต้ปัจจัยในการทดลอง ได้แก่ กฎการจ่ายงาน กฎการกำหนดเวลาส่งมอบ และระดับการใช้งานของระบบ กฎการจ่ายงานที่ทำการศึกษานั้น ได้เลือกมาจากกฎที่พบว่าให้ประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมที่ดีจากงานวิจัยต่างๆที่ทดลองในระบบการผลิตแบบสายการประกอบ ส่วนกฎการกำหนดเวลาส่งมอบนั้น เลือกโดยให้ครอบคลุมทุกประเภทของการกำหนดเวลาส่งมอบ ได้แก่ การกำหนดจากภายนอกและการกำหนดจากภายใน ซึ่งการกำหนดจากภายนอกนั้น คือการกำหนดเวลาส่งมอบให้เป็นค่าคงที่และกำหนดโดยวิธีการสุ่ม ส่วนการกำหนดจากภายในนั้น สามารถแบ่งได้เป็นการกำหนดเวลาส่งมอบโดยใช้ข้อมูลทางด้านคุณลักษณะของงานเพียงด้านเดียว และการกำหนดโดยใช้ทั้งข้อมูลทางด้านคุณลักษณะของงานร่วมกับข้อมูลทางด้านสถานภาพของระบบในปัจจุบัน ส่วนปัจจัยทางด้านระดับการใช้งานของระบบนั้น กำหนดให้ทำการทดลองภายใต้ระบบที่สมดุลที่ระดับการใช้งานของระบบ 80% และ 90% รวมทั้งทำการทดลองในระบบที่ไม่สมดุล นั่นคือให้แต่ละสถานีงานมีระดับการใช้งานที่ไม่เท่ากัน ดัชนีที่ใช้วัดประสิทธิภาพของระบบประกอบงานล่าช้า และค่าเวลาการไหลของงานโดยเฉลี่ย เวลาล่าช้าของงานโดยเฉลี่ย เปอร์เซ็นต์ของงานล่าช้า และค่าสัมบูรณ์ของเวลาสายโดยเฉลี่ย จากผลการทดลองทำให้พบว่ากฎ JDD เป็นกฎการจ่ายงานที่ให้ประสิทธิภาพโดยรวมที่ดีที่สุด เมื่อกำหนดเวลาส่งมอบโดยกฎ JIS หลังจากนั้นได้ทำการทดลองเพิ่มเติมโดยพัฒนากฎการกำหนดเวลาส่งมอบใหม่ ได้แก่กฎ JISNL รวมทั้งมีการเพิ่มเทคนิคในการลัดลำดับความสำคัญให้กับกฎ JDD ซึ่งผลการทดลองพบว่าทั้งกฎ JISNL และเทคนิคในการลัดลำดับความสำคัญนั้นให้ผลในทางปรับปรุงที่ดีขึ้น โดยเฉพาะในระบบที่ผลิตชิ้นงานโครงสร้างแบบสูง หรือชิ้นงานที่มีโครงสร้างของการประกอบหลายๆ ระดับ |
บรรณานุกรม | : |
ปนิทัศน์ สุรียธนาภาส, 2524- . (2547). การวิเคราะห์ผลกระทบร่วมของกฎการจ่ายงานและกฎการกำหนดเวลาส่งมอบที่มีต่อประสิทธิภาพสายการประกอบ.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปนิทัศน์ สุรียธนาภาส, 2524- . 2547. "การวิเคราะห์ผลกระทบร่วมของกฎการจ่ายงานและกฎการกำหนดเวลาส่งมอบที่มีต่อประสิทธิภาพสายการประกอบ".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปนิทัศน์ สุรียธนาภาส, 2524- . "การวิเคราะห์ผลกระทบร่วมของกฎการจ่ายงานและกฎการกำหนดเวลาส่งมอบที่มีต่อประสิทธิภาพสายการประกอบ."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. ปนิทัศน์ สุรียธนาภาส, 2524- . การวิเคราะห์ผลกระทบร่วมของกฎการจ่ายงานและกฎการกำหนดเวลาส่งมอบที่มีต่อประสิทธิภาพสายการประกอบ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|