ชื่อเรื่อง | : | การบำบัดน้ำเสียบ้านเรือนโดยใช้บึงประดิษฐ์ที่มีการไหลใต้ผิวดิน ร่วมกับระบบการระเหยโดยพืช |
นักวิจัย | : | ศักดิ์ชัย อังคสิงห์, 2523- |
คำค้น | : | น้ำเสียชุมชน , น้ำเสีย--การบำบัด , บึงประดิษฐ์ , การคายระเหย |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | อรทัย ชวาลภาฤทธิ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9741768796 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1533 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 ศึกษาถึงการทำงานของระบบบึงประดิษฐ์ที่มีการไหลใต้ผิวดิน ร่วมกับระบบการระเหยโดยพืชในการบำบัดน้ำเสียบ้านเรือน โดยปลูกต้นธรรมรักษา (Heliconia psittacorum cv 'Lady Di') และต้นเข็ม (Ixora coccinea, L) ในถังที่มีการไหลในแนวดิ่ง และในกระบะที่มีการไหลในแนวนอนตามลำดับ โดยใช้แบบจำลองในระดับห้องปฏิบัติการ น้ำเสียที่ใช้ในการทดลองเป็นน้ำเสียจากหอพักนิสิตที่ผ่านการบำบัดขั้นต้นแล้ว โดยตัวกลางที่ใช้ได้แก่ตัวกลางทรายปนหิน การทดลองนี้ปรับเปลี่ยนอัตราภาระบรรทุกทางชลศาสตร์ต่างกัน 2 ค่า ได้แก่ 8.23 และ 16.46 ซม. ต่อวัน และรูปแบบการให้น้ำเสียเข้าสู่ระบบจากการให้น้ำแบบต่อเนื่อง เป็นการให้น้ำแบบเป็นระยะ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการบำบัดมลสาร เมื่อเปลี่ยนรูปแบบของการให้น้ำและอัตราภาระบรรทุกทางชลศาสตร์ต่างกัน จากผลการทดลองพบว่าประสิทธิภาพสูงสุดของถังที่มีการไหลในแนวดิ่ง ได้แก่การให้น้ำแบบเป็นระยะที่อัตราภาระบรรทุกทางชลศาสตร์ 8.23 ซม. ต่อวัน มีประสิทธิภาพในการบำบัด ซีโอดี บีโอดี ของแข็งแขวนลอย ทีเคเอ็น แอมโมเนียไนโตรเจน และฟอสฟอรัสเท่ากับ 71.27 63.45 64.92 88.00 และ 17.64 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับการให้น้ำแบบต่อเนื่องที่อัตราภาระบรรทุกทางชลศาสตร์เดียวกัน มีประสิทธิภาพในการบำบัดลดลง ซึ่งประสิทธิภาพในการบำบัด ซีโอดี บีโอดี ของแข็งแขวนลอย ทีเคเอ็น แอมโนเนียไนโตรเจน และฟอสฟอรัสเท่ากับ 62.06 63.67 67.92 83.24 82.93 และ 18.23 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และพบว่าประสิทธิภาพการบำบัดของระบบ จะลดลงเมื่ออัตราภาระชลศาสตร์สูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตามน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วมีค่าบีโอดี ทีเคเอ็น ของแข็งแขวนลอย อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้งจากอาคารประเภท ก. ส่วนประสิทธิภาพของระบบบึงประดิษฐ์ที่มีการไหลใต้ผิวดิน ร่วมกับระบบการระเหยโดยพืชที่มีการให้น้ำแบบต่อเนื่อง ที่อัตราภาระบรรทุกทางชลศาสตร์ 8.23 ซม. ต่อวัน ให้ผลเช่นเดียวกับประสิทธิภาพของถังที่มีการไหลในแนวดิ่ง สำหรับประสิทธิภาพสูงสุดของระบบได้แก่ การให้น้ำแบบเป็นระยะที่อัตราภาระบรรทุกทางชลศาสตร์ 8.23 ซม. ต่อวัน ซึ่งมีประสิทธิภาพในการบำบัด ซีโอดี บีโอดี ของแข็งแขวนลอย ทีเคเอ็น แอมโมเนียไนโตรเจน และฟอสฟอรัสเท่ากับ 91.81 92.08 91.05 98.27 96.48 และ 96.67 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ อัตราการระเหยน้ำของระบบมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 21.68 ลิตรต่อวัน อัตราการดูดซึมน้ำไปใช้ของต้นเข็มอยู่ในช่วง 2.50-3.17 มม. ต่อวัน ขนาดของพื้นที่ที่จะติดตั้งระบบบึงประดิษฐ์ ที่มีการไหลใต้ |
บรรณานุกรม | : |
ศักดิ์ชัย อังคสิงห์, 2523- . (2547). การบำบัดน้ำเสียบ้านเรือนโดยใช้บึงประดิษฐ์ที่มีการไหลใต้ผิวดิน ร่วมกับระบบการระเหยโดยพืช.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศักดิ์ชัย อังคสิงห์, 2523- . 2547. "การบำบัดน้ำเสียบ้านเรือนโดยใช้บึงประดิษฐ์ที่มีการไหลใต้ผิวดิน ร่วมกับระบบการระเหยโดยพืช".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศักดิ์ชัย อังคสิงห์, 2523- . "การบำบัดน้ำเสียบ้านเรือนโดยใช้บึงประดิษฐ์ที่มีการไหลใต้ผิวดิน ร่วมกับระบบการระเหยโดยพืช."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. ศักดิ์ชัย อังคสิงห์, 2523- . การบำบัดน้ำเสียบ้านเรือนโดยใช้บึงประดิษฐ์ที่มีการไหลใต้ผิวดิน ร่วมกับระบบการระเหยโดยพืช. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|