ชื่อเรื่อง | : | การกำจัดสัญญาณเสียงป้อนกลับในอุปกรณ์เครื่องช่วยฟังโดยใช้วงจรกรองผ่านทุกความถี่แบบเปลี่ยนตามเวลา |
นักวิจัย | : | อาชว์ จันทร์กวี, 2523- |
คำค้น | : | เครื่องช่วยการได้ยิน , วงจรกรอง , สัญญาณรบกวนทางไฟฟ้า |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | นิศาชล ตั้งเสงี่ยมวิสัย , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9741761163 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1521 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 ปัญหาความคล้ายคลึงกันของสัญญาณเข้าและสัญญาณออกของอุปกรณ์เครื่องช่วยฟังนับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญในการกำจัดสัญญาณเสียงป้อนกลับในเครื่องช่วยฟัง โดยใช้วงจรกรองแบบปรับตัวได้ซึ่งมีการปรับปรุงค่าสัมประสิทธิ์ของวงจรกรองแบบต่อเนื่อง วิธีหนึ่งที่นำเสนอขึ้นในอดีตคือการใช้วงจรประวิงเวลาแบบคงที่เข้าช่วยแก้ปัญหาความคล้ายคลึงกุนของสัญญาณทั้งสองนี้ ผู้ทำวิทยานิพนธ์พบว่าในสถานการณ์ที่ผู้มีปัญหาทางการได้ยิน มีปัญหาทางการได้ยินเพียงข้างเดียวและใช้เครื่องช่วยฟังเพียงข้างเดียว การใช้เครื่องช่วยฟังที่มีการใช้วงจรประวิงเวลาแบบคงที่นั้นจะทำให้คุณภาพของสัญญาณเสียงขาออกของอุปกรณ์เครื่องช่วยฟัง เชิงสเตริโอมีคุณภาพลดลงไปอย่างมากดังนั้นในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้นำเสนอเทคนิคในการลดความคล้ายคลึงกันของสัญญาณเข้าและสัญญาณออกของเครื่องช่วยฟัง โดยที่ยังคงรักษาคุณภาพของสัญญาณเสียงขาออกเชิงสเตริโอให้ใกล้เคียงสัญญาณจริงมากที่สุด โดยเสนอให้ประยุกต์ใช้วงจรกรองผ่านทุกความถี่แบบเปลี่ยนตามเวลาที่สามารถปรับอันดับของวงจรกรองได้ต่างๆ กันตามความเหมาะสม (Higher-order Time-varying All-pass Filter : HO-TV-APF) นอกจากนี้จากการที่มีพลังงานของสัญญาณเสียงเข้าประกอบอยู่ภายในสัญญาณผิดพลาดที่ใช้ในการควบคุมการปรับตัวของวงจรกรองแบบปรับตัว จึงทำให้วงจรกรองแบบปรับตัวเกิดการลู่ออกจากคำตอบที่ถูกต้อง ส่งผลให้ไม่สามารถกำจัดสัญญาณเสียงป้อนกลับได้ดังนั้นในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ จังเพิ่มส่วนการประมาณขนาดของสัญญาณเสียงพูดขาเข้าโดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า การประมาณเชิงเส้นไปข้างหน้า (Forward Linear Predictor : FLD) เพื่อกำจัดสัญญาณที่ประมาณได้ออกจากสัญญาณขาออกของเครื่องช่วยฟัง ซึ่งเมื่อประยุกต์ใช้งานทั้งสองวงจรที่นำเสนอร่วมกันจะทำให้การกำจัดสัญญาณเสียงป้อนกลับเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยผลการทดลองบนคอมพิวเตอร์และการทดสอบคุณภาพสัญญาเสียงผ่านทาง Mean Opinion Score (MOS) Testing เมื่อใช้สัญญาณเสียงพูดเป็นสัญญาณขาเข้าของอุปกรณ์เครื่องช่วยฟังนั้นสนับสนุนวิธีที่นำเสนอในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ |
บรรณานุกรม | : |
อาชว์ จันทร์กวี, 2523- . (2547). การกำจัดสัญญาณเสียงป้อนกลับในอุปกรณ์เครื่องช่วยฟังโดยใช้วงจรกรองผ่านทุกความถี่แบบเปลี่ยนตามเวลา.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อาชว์ จันทร์กวี, 2523- . 2547. "การกำจัดสัญญาณเสียงป้อนกลับในอุปกรณ์เครื่องช่วยฟังโดยใช้วงจรกรองผ่านทุกความถี่แบบเปลี่ยนตามเวลา".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อาชว์ จันทร์กวี, 2523- . "การกำจัดสัญญาณเสียงป้อนกลับในอุปกรณ์เครื่องช่วยฟังโดยใช้วงจรกรองผ่านทุกความถี่แบบเปลี่ยนตามเวลา."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. อาชว์ จันทร์กวี, 2523- . การกำจัดสัญญาณเสียงป้อนกลับในอุปกรณ์เครื่องช่วยฟังโดยใช้วงจรกรองผ่านทุกความถี่แบบเปลี่ยนตามเวลา. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|