ชื่อเรื่อง | : | อนาคนภาพเกษตรยั่งยืนในประเทศไทย |
นักวิจัย | : | ปัญญา หมั่นเก็บ |
คำค้น | : | SCENARIO , SUSTAINABLE AGRICULTURE , ENVIRONMENT |
หน่วยงาน | : | ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | http://www.thaithesis.org/detail.php?id=47273 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอนาคนภาพเกษตรยั่งยืนในประเทศไทยในอีก 15 ปีข้างหน้า (พ.ศ.2559) โดยใช้เทคนิคการวิจัยอนาคตแบบ Ethnographic Delphi Futures Research (EDFR) จากการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิด้านเกษตรยั่งยืน จำนวน 23 คน ด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบ snowball sampling ทำซ้ำและป้อนข้อมูลกลับให้ กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อหาฉันทามติ โดยใช้แบบสอบถามตามเทคนิคเดลฟี (Delphi) จำนวน 2 รอบ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตัวเอง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่ามัธยฐาน ฐานนิยม และพิสัยระหว่างควอไทล์ วิเคราะห์ผลกระทบภาคตัดเพื่อพิจารณา แนวโน้มและเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นด้วยแบบสอบถามกับผู้ที่เกี่ยวข้องการพัฒนาเกษตรยั่งยืน ประกอบด้วยหัวหน้าหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติ จำนวน 152 คน โดยวิธีการสุ่ม แบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) สถิติที่ใช้วิเคราะห์ผลกระทบภาคตัด คือ ความน่าจะเป็นขั้นต้น ความน่าจะเป็นแบบมีเงื่อนไข และค่าอัตราส่วนแต้มต่อ ผลการวิจัยพบว่าผู้ทรงคุณวุฒิได้ประมวลภาพอนาคตภาพเกษตรยั่งยืนได้ดังนี้ 1) กระบวนการเรียนรู้เกษตรยั่งยืน 2) การวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้เกษตรยั่งยืน 3) การส่งเสริมเกษตรยั่งยืน 4) การผลิต การตลาดและการแปรรูปผลิตภัณฑ์ 5) การพัฒนา องค์กร/สถาบัน 6) การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นปัจจัยพื้นฐานการผลิต ประมวลภาพอนาคตภาพทั้ง 6 ภาพสรุปได้ว่า ในอนาคตปัจจัยภาพแวดล้อมภายนอก จะเป็นทั้งโอกาสและข้อจำกัดในการพัมนาเกษตรยั่งยืนของประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น โอกาสมากกว่าข้อจำกัดทั้งปัจจัยทางสังคม วัฒนธรรม การเมือง เทคโนโลยี เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและนโยบาย ในด้านกระบวนการเรียนรู้เกษตรยั่งยืนจะให้ความสำคัญกับการ พัฒนากลุ่มเกษตรกร องค์กรเกษตรกรและเครือข่ายการเรียนรู้ รูปแบบการเรียนรู้มีหลากหลาย และยืดหยุ่น สร้างและพัฒนาเกษตรกรและชุมชนต้นแบบ ในด้านการส่งเสริมเกษตรยั่งยืน จะให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้โดยให้เกษตรเป็นศูนย์กลางการพัฒนา เน้นการพัฒนา ระบบนิเวศแบบองค์รวม ส่งเสริมกองทุนชุมชนเพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างความเข้มแข็ง ให้กับชุมชน พัฒนาบุคลากรด้านการส่งเสริมให้เป็นวิทยากรกระบวนการ ในด้านการวิจัย และพัฒนาองค์ความรู้เกษตรยั่งยืนจะเน้นการวิจัยแบบสหวิทยาการ โดยวิจัยปฏิบัติการอิง ชุมชน เกษตรกรและองค์กรชุมชนจะเป็นนักวิจัยหลักในการพัฒนาองค์ความรู้เกษตรยั่งยืน วิจัยและต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ในด้านการผลิต การตลาดและการแปรรูปผลิตภัณฑ์จะเน้น คุณภาพและมาตรฐานบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยีที่เหมาะสมและการพึ่งตนเองของชุมชน ในด้านการพัฒนาองค์กร/สถาบันจะเน้นการพัฒนาองค์กรชุมชนเข้มแข็งให้สามารถสร้าง กระบวนการเรียนรู้และจัดทำแผนชุมชน โดยเพิ่มขีดความสามารถของศูนย์เรียนรู้ชุมชน ด้านการเกษตรและให้เกษตรกรเป็นผู้มีบทบาทหลักในการดำเนินงาน ในด้านการพัฒนาทรัพยากร ธรรมชาติที่เป็นปัจจัยพื้นฐานการผลิต เน้นการอนุรักษ์ พัฒนา ฟื้นฟูระบบนิเวศโดยสร้าง กระบวนการมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชนและสร้างเครือข่ายความร่วมมือของภาคีการพัฒนา ต่างๆ ข้อเสนอแนะจากการวิจัย นโยบายเกษตรยั่งยืนควรเป็นวาระแห่งชาติด้านการเกษตร รัฐควรส่งเสริมและสนับสนุนปัจจัยพื้นฐานแก่เกษตรกรที่ปรับเปลี่ยนระบบการผลิตเป็นระบบ เกษตรยั่งยืนแต่อยู่บนพื้นฐานของกระบวนการกลุ่มและการเรียนรู้ของเกษตรกร ปรับปรุง หลักสูตรการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมศึกษา โดยสอดแทรกเนื้อหา เกษตรยั่งยืน การพัฒนาบุคลากร การสนับสนุนทรัพยากร การจัดองค์กรและการติดตาม ประเมินผลด้านเกษตรยั่งยืนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง |
บรรณานุกรม | : |
ปัญญา หมั่นเก็บ . (2545). อนาคนภาพเกษตรยั่งยืนในประเทศไทย.
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. ปัญญา หมั่นเก็บ . 2545. "อนาคนภาพเกษตรยั่งยืนในประเทศไทย".
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. ปัญญา หมั่นเก็บ . "อนาคนภาพเกษตรยั่งยืนในประเทศไทย."
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย, 2545. Print. ปัญญา หมั่นเก็บ . อนาคนภาพเกษตรยั่งยืนในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย; 2545.
|