ชื่อเรื่อง | : | ผลของการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันที่มีต่อการละลายปลายรากฟันของฟันตัดบน |
นักวิจัย | : | ธนัสถ์ เลิศไพบูลย์ |
คำค้น | : | ROOT RESORPTION , TOOTH MOVEMENT |
หน่วยงาน | : | ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | http://www.thaithesis.org/detail.php?id=46854 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | การละลายปลายรากฟันเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกับการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน สาเหตุของการเกิดการละลายปลายรากฟันยังคงไม่แน่ชัด การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์ เพื่อหาอุบัติการณ์และระดับความรุนแรงของการเกิดการละลายปลายรากฟัน, หาปัจจัย เสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเกิดการละลายปลายรากฟัน และหาความสัมพันธ์ระหว่างการเคลื่อน ฟันจากการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันกับปริมาณของการเกิดการละลายปลายรากฟัน การเกิดการละลายปลายรากฟันได้ทำการศึกษาในผู้ป่วย 98 คน ผู้ป่วยทุกคนได้ รับการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันจนเสร็จสมบูรณ์แล้วโดยนักศึกษาหลังปริญญาในแผนกทันต กรรมจัดฟันของมหาวิทยาลัยมหิดล อายุเฉลี่ยก่อนได้รับการรักษาคือ 15.87 ปี (ค่า เบี่ยงเบนมาตรฐาน 5.28) และระยะเวลาของการรักษาเฉลี่ย 26.37 เดือน (ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน 9.34) การให้คะแนนระดับความรุนแรงของการเกิดการละลายปลายรากฟันและการ วัดปริมาณของการเกิดการละลายปลายรากฟันที่ระดับความละเอียดที่ 0.01 มิลลิเมตร บน ภาพถ่ายรังสีในช่องปากทั้งก่อนและหลังการรักษา การเคลื่อนที่ของปลายฟันและปลายราก รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของมุม 1-PP จะถูกวัดบนภาพถ่ายรังสีกะโหลกศีรษะด้านข้าง ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่ากลุ่มฟันตัดบนมีอุบัติการณ์สูงถึง 89.5% และระดับความ รุนแรงของการเกิดการละลายปลายรากฟันมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยของคะแนนเท่ากับ 1.48 ไม่ พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างซี่ขวาและซี่ซ้ายของฟันตัดบน กลุ่มฟันตัดล่าง และกลุ่มฟันกรามล่างมีการเกิดการละลายปลายรากฟันน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ต่อกลุ่มฟันตัดบนและกลุ่มฟันกรามบนตามลำดับ (p< 0.05) อย่างไรก็ดีไม่พบความแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างฟันบนและฟันล่างของกลุ่มฟันเขี้ยวและฟันกรามน้อย กลุ่มฟันบนมีการเกิดการละลายปลายรากฟันมากกว่ากลุ่มฟันล่างอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ผู้ป่วย 81 รายในการศึกษาครั้งนี้มีการเกิดการละลายปลายรากฟันอยู่ในระดับเล็กน้อย และปานกลางจากการเปรียบเทียบด้วยคะแนนเฉลี่ยงของฟันตัดบน (หรือค่า SCUI) มีเพียง 15 รายที่มีการเกิดการละลายปลายรากฟันที่อยู่ในระดับที่รุนแรง อายุ, รูปแบบการถอน, ระยะเวลาในการรักษา และการเปลี่ยนแปลงของโอเวอร์เจท (overjet) เป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีนัยสำคัญต่อการเกิดการละลายปลายรากฟัน แต่เพศ, การมีนิสัยผิดปกติก่อนการรักษา, ประเภทของการสบฟันที่ผิดปกติ, โอเวอร์เจท(overjet) และโอเวอร์ไบท์ (overbite) ก่อนการรักษาและการเปลี่ยนแปลงของโอเวอร์ไบท์ (overbite) ไม่พบว่ามีความสัมพันธ์กับการละลายของปลายรากฟันอย่างมีนัยสำคัญ การเคลื่อนที่ในแนวนอนมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญต่อการเกิดการละลายปลาย รากฟันของฟันตัดบน ไม่พบความสัมพันธ์ของทั้งการเคลื่อนที่ในแนวดิ่งและการเปลี่ยน แปลงของมุม 1-PP ต่อการเกิดการละลายปลายรากฟัน |
บรรณานุกรม | : |
ธนัสถ์ เลิศไพบูลย์ . (2545). ผลของการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันที่มีต่อการละลายปลายรากฟันของฟันตัดบน.
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. ธนัสถ์ เลิศไพบูลย์ . 2545. "ผลของการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันที่มีต่อการละลายปลายรากฟันของฟันตัดบน".
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. ธนัสถ์ เลิศไพบูลย์ . "ผลของการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันที่มีต่อการละลายปลายรากฟันของฟันตัดบน."
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย, 2545. Print. ธนัสถ์ เลิศไพบูลย์ . ผลของการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันที่มีต่อการละลายปลายรากฟันของฟันตัดบน. กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย; 2545.
|