ชื่อเรื่อง | : | การปรับปรุงคุณภาพบริการงานผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลทั่วไปในจังหวัดภาคกลาง |
นักวิจัย | : | วันเพ็ญ แก้วปาน |
คำค้น | : | SERVICE QUALITY , SERVICE QUALITY IMPROVEMENT , OUT-PATIENT DEPARTMENT , GENERAL HOSPITAL |
หน่วยงาน | : | ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2544 |
อ้างอิง | : | http://www.thaithesis.org/detail.php?id=46236 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการประยุกต์ใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการ ปรับปรุงคุณภาพบริการงานผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลเสนาและโรงพยาบาลทั่วไปในจังหวัด ภาคกลาง การวิจัยแบ่งเป็น 2 ส่วน ~bส่วนที่ 1 การวิจัยระดับจุลภาค~b เป็นการประเมินประสิทธิผล การปรับปรุงคุณภาพบริการงานผู้ป่วยนอก โดยการนำคอมพิวเตอร์ที่ใช้การสื่อสารข้อมูลผ่าน ระบบเครือข่ายเชื่อมโยงทุกหน่วยบริการในการปรับปรุงกระบวนการบริการงานผู้ป่วยนอก ณ โรงพยาบาลเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มเดียวทดสอบ ก่อนและหลังการทดลอง 4 และ 12 สัปดาห์ โดยใช้แบบสอบถามและการสนทนากลุ่มผู้ป่วย การสังเกตขั้นตอนการทำงานของผู้ให้บริการ ขั้นตอนการรับบริการและเวลาการใช้บริการของ ผู้ป่วย ผลการบันทึกการจ่ายยาและการรายงาน ICD(,10) และนำผลเปรียบเทียบกับโรงพยาบาล มะการักษ์ ~bส่วนที่ 2 การวิจัยระดับมหภาค~b เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การรับรู้คุณภาพบริการ และการบริหารงานผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลทั่วไปในจังหวัดภาคกลาง เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย โดยใช้แบบสอบถามการรับรู้คุณภาพบริการจากผู้ป่วยจำนวน 1,007 คน และการบริหารงานผู้ป่วย นอกจากผู้บริหารระดับสูง จำนวน 91 คน และผู้ให้บริการรวม 123 คน ผลการวิจัยสรุปดังนี้ ~bในโรงพยาบาลเสนา~bมีประสิทธิผลการปรับปรุงคุณภาพการบริการงานผู้ป่วยนอกภายหลัง การปรับปรุงกระบวนการบริการครบ 12 สัปดาห์ สามารถลดขั้นตอนการทำงานของผู้ให้บริการ ของห้องเวชระเบียน ห้องตรวจโรค ห้องจ่ายยา ห้องรังสีวิทยา และห้องชันสูตร การรับบริการ ของผู้ป่วยที่ไม่มีตรวจทางห้องปฏิบัติการลดได้ 3 ขั้นตอน และเวลาในการรับบริการลดลงจาก เดิม ผู้ป่วยที่มีการตรวจทางห้องปฏิบัติการลดลงได้ 5 ขั้นตอน แต่ยังไม่สามารถลดเวลาใน การรับบริการได้ ความถูกต้องในการจ่ายยาเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 99 ความถูกต้องในการลง บันทึก ICD(,10) เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 100 แต่ผู้ป่วยยังไม่พึงพอใจต่อบริการอยู่บ้างเนื่องจาก ความคาดหวังของผู้ใช้บริการเพิ่มสูงมากขึ้นกว่าเดิมและการบริการแบบใหม่ดำเนินการได้เพียง 3 เดือนเท่านั้น สำหรับโรงพยาบาลทั่วไปในจังหวัดภาคกลางผู้ป่วยนอกยังไม่พึงพอใจใน บริการที่ได้รับซึ่งมีระดับสูงกว่าโรงพยาบาลเสนา การรับรู้การบริหารงานผู้ป่วยนอกของ ผู้บริหารต่อความคาดหวังในบริการของผู้ป่วยในโรงพยาบาลเสนาสูงกว่าโรงพยาบาลทั่วไป แต่การกำหนดมาตรฐานการบริการ การจัดบริการให้เป็นไปตามมาตรฐาน และการติดต่อสื่อสาร ไปสู่ผู้ป่วยไม่แตกต่างกัน ผลการวิจัยให้ข้อเสนอแก่ผู้บริหารระดับสูงว่าควรพิจารณาปรับปรุงคุณภาพบริการงาน ผู้ป่วยนอก โดยนำระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายที่ใช้การสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงทุกหน่วยบริการ เป็นทางเลือกหนึ่งในการปรับปรุงกระบวนการบริการ ผู้บริหารระดับสูงควรกำหนดเป็นนโยบาย และให้การสนับสนุนการดำเนินงานอย่างจริงจังและการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับ การบริการแก่ผู้ป่วย รวมทั้งปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องเพื่อบรรลุเป้าหมายการปรับปรุง คุณภาพบริการในที่สุด |
บรรณานุกรม | : |
วันเพ็ญ แก้วปาน . (2544). การปรับปรุงคุณภาพบริการงานผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลทั่วไปในจังหวัดภาคกลาง.
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. วันเพ็ญ แก้วปาน . 2544. "การปรับปรุงคุณภาพบริการงานผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลทั่วไปในจังหวัดภาคกลาง".
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. วันเพ็ญ แก้วปาน . "การปรับปรุงคุณภาพบริการงานผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลทั่วไปในจังหวัดภาคกลาง."
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย, 2544. Print. วันเพ็ญ แก้วปาน . การปรับปรุงคุณภาพบริการงานผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลทั่วไปในจังหวัดภาคกลาง. กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย; 2544.
|