ชื่อเรื่อง | : | การพยากรณ์ดัชนีราคางานก่อสร้างด้วยแบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียม |
นักวิจัย | : | ณัฐชาต คำศิริตระกูล, 2523- |
คำค้น | : | การก่อสร้าง -- การประมาณราคา , ดัชนีราคา |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ธนิต ธงทอง , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2546 |
อ้างอิง | : | 9741736312 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1439 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบจำลองพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคางานก่อสร้าง ที่เผยแพร่โดยนิตยสาร Engineering News Record (ENR) เพื่อนำดัชนีราคาที่พยากรณ์ได้ไปใช้ประโยชน์ในการประมาณราคาค่าก่อสร้างเบื้องต้น ให้มีความแม่นยำสูงขึ้น ขอบเขตการวิจัยนี้ ทำการศึกษาการพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคางานก่อสร้าง 2 ชนิด คือ Building Cost Index (BCI) และ Construction Cost Index (CCI) โดยเป็นการพยากรณ์ล่วงหน้า 1 เดือน และ 1 ปี ขั้นตอนการศึกษาประกอบด้วย (1) เก็บรวบรวมข้อมูลดัชนีราคางานก่อสร้าง และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำดัชนี (2) พัฒนาแบบจำลองเพื่อพยากรณ์ดัชนีราคางานก่อสร้างด้วยแบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียม (3) เปรียบเทียบผลการพยากรณ์ของแบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียมกับการพยากรณ์โดย ENR และการพยากรณ์โดยวิธีทางสถิติ ได้แก่ วิธีการหาค่าเฉลี่ยแบบง่าย วิธีการทำให้เรียบแบบเอ็กโพเน็นเชียล และวิธีการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเดี่ยว นอกจากนี้ ได้นำแนวทางการพัฒนาแบบจำลองพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคางานก่อสร้าง มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาแบบจำลองพยากรณ์ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างของประเทศไทยด้วย ผลการวิจัยพบว่า แบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียมพยากรณ์ดัชนีราคางานก่อสร้าง BCI ล่วงหน้า 1 เดือน มีค่าความคลาดเคลื่อน RMSE เท่ากับ 16.365 ในขณะที่ แบบจำลองพยากรณ์โดยวิธีทางสถิติที่เป็นเกณฑ์เปรียบเทียบ มีค่าความคลาดเคลื่อน RMSE เท่ากับ 16.692 แบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียมพยากรณ์ดัชนีราคางานก่อสร้าง CCI ล่วงหน้า 1 เดือน มีค่าความคลาดเคลื่อน RMSE เท่ากับ 28.745 ในขณะที่ แบบจำลองพยากรณ์โดยวิธีทางสถิติที่เป็นเกณฑ์เปรียบเทียบ มีค่าความคลาดเคลื่อน RMSE เท่ากับ 29.248 แบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียมพยากรณ์ดัชนีราคางานก่อสร้าง BCI ล่วงหน้า 1 ปี มีค่าความคลาดเคลื่อน RMSE เท่ากับ 20.744 ในขณะที่ แบบจำลองพยากรณ์โดยวิธีทางสถิติที่เป็นเกณฑ์เปรียบเทียบ มีค่าความคลาดเคลื่อน RMSE เท่ากับ 68.061 แบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียมพยากรณ์ดัชนีราคางานก่อสร้าง CCI ล่วงหน้า 1 ปี มีค่าความคลาดเคลื่อน RMSE เท่ากับ 39.288 ในขณะที่ แบบจำลองพยากรณ์โดยวิธีทางสถิติที่เป็นเกณฑ์เปรียบเทียบ มีค่าความคลาดเคลื่อน RMSE เท่ากับ 58.986 ส่วนการเปรียบเทียบกับการพยากรณ์โดย ENR พบว่า แบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียมพยากรณ์ดัชนีราคางานก่อสร้าง BCI ล่วงหน้า 1 ปี มีค่าความคลาดเคลื่อน RMSE เท่ากับ 11.068 ในขณะที่ การพยากรณ์โดย ENR มีค่าความคลาดเคลื่อน RMSE เท่ากับ 43.252 แบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียมพยากรณ์ดัชนีราคางานก่อสร้าง CCI ล่วงหน้า 1 ปี มีค่าความคลาดเคลื่อน RMSE เท่ากับ 26.669 ในขณะที่ การพยากรณ์โดย ENR มีค่าความคลาดเคลื่อน RMSE เท่ากับ 50.374 การเปรียบเทียบผลการพยากรณ์ของชุดข้อมูลที่ใช้ตรวจสอบ ระหว่าง วิธีแบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียม การพยากรณ์โดยวิธีทางสถิติ และการพยากรณ์โดย ENR สรุปได้ว่า แบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียมสามารถพยากรณ์ได้แม่นยำกว่า |
บรรณานุกรม | : |
ณัฐชาต คำศิริตระกูล, 2523- . (2546). การพยากรณ์ดัชนีราคางานก่อสร้างด้วยแบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียม.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ณัฐชาต คำศิริตระกูล, 2523- . 2546. "การพยากรณ์ดัชนีราคางานก่อสร้างด้วยแบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียม".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ณัฐชาต คำศิริตระกูล, 2523- . "การพยากรณ์ดัชนีราคางานก่อสร้างด้วยแบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียม."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546. Print. ณัฐชาต คำศิริตระกูล, 2523- . การพยากรณ์ดัชนีราคางานก่อสร้างด้วยแบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียม. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
|