ชื่อเรื่อง | : | ผลของสารคีเลตต่อการดูดซับตะกั่วจากสารละลายด้วยไคโตแซนแบบโครงร่างตาข่าย |
นักวิจัย | : | เอมม่า อาสนจินดา, 2520- |
คำค้น | : | ไคโตแซน , น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดโลหะหนัก |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สุธา ขาวเธียร , เจิดศักดิ์ ไชยคุนา , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741721188 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1410 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 การวิจัยนี้ได้ทำการศึกษา ผลของสารคีเลตต่อการดูดซับตะกั่วจากสารละลายด้วยไคโตแซนแบบโครงร่างตาข่ายโดยการทดลองแบบแบตช์และคอลัมน์ ซึ่งการทดลองแบบแบตช์ได้ทำการศึกษาประสิทธิภาพและความสามารถในการดูดซับตะกั่ว เมื่อมีการแปรค่าพีเอช ความเข้มข้นของ สารละลายตะกั่ว และความเข้มข้นของสารคีเลตอันได้แก่ อีดีทีเอ เอ็นทีเอ และกรดทาทาริก ส่วนการทดลองแบบคอลัมน์ได้ศึกษาถึงประสิทธิภาพการกำจัดตะกั่ว และปริมาตรน้ำเสียที่กำจัดได้ให้อยู่ในมาตรฐานน้ำทิ้งของตะกั่วคือ 0.2 มิลลิกรัมต่อลิตร ผลการทดลองในแบตช์พบว่า ความสามารถในการดูดซับตะกั่วด้วยไคโตแซนแบบโครงร่าง ตาข่ายสูงขึ้น เมื่อพีเอชสูงขึ้น ในช่วงพีเอชที่ทำการศึกษา และการเพิ่มความเข้มข้นของสารละลายตะกั่วทำให้ปริมาณตะกั่วที่ถูกดูดซับต่อปริมาณไคโตแซนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย สำหรับผลการศึกษาผลของสารคีเลต พบว่าเมื่อเติมอีดีทีเอและเอ็นทีเอลงไปในน้ำเสียสังเคราะห์ ทำให้ความสามารถในการดูดซับด้วยไคโตแซนแบบโครงร่างตาข่ายที่พีเอชสูงลดลง ในขณะที่ความสามารถในการดูดซับตะกั่วที่พีเอชต่ำเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเกิดสารประกอบเชิงซ้อนในรูปประจุลบ จึงทำให้เกิดการดูดซับกับ ไคโตแซนที่พีเอชต่ำซึ่งอยู่ในรูปประจุบวกได้ดีกว่า ส่วนการเติมกรดทาทาริกลงไปในสารละลายตะกั่วพบว่า ความสามารถในการดูดซับตะกั่วด้วยไคโตแซนแบบโครงร่างตาข่ายไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คือที่พีเอชสูงไคโตแซนแบบโครงร่างตาข่าย ยังคงมีความสามารถในการดูดซับสารประกอบเชิงซ้อนของตะกั่วได้ดีกว่าที่พีเอชต่ำ เนื่องจากพันธะที่เกิดขึ้นระหว่างสารประกอบเชิงซ้อนตะกั่วและไคโตแซนเป็นพันธะคีเลต เช่นเดียวกับพันธะที่เกิดขึ้นระหว่างตะกั่วกับไคโตแซน โดยต่างจากพันธะที่เกิดกับ สารประกอบเชิงซ้อนของตะกั่วกับอีดีทีเอและตะกั่วกับเอ็นทีเอที่เป็นพันธะซึ่งเกิดจากแรงดึงดูดทางไฟฟ้า สำหรับผลการทดลองแบบคอลัมน์พบว่า สามารถบำบัดน้ำเสียให้มีความเข้มข้นต่ำกว่า มาตรฐานน้ำทิ้งได้ภายในปริมาตร 88.89 ปริมาตรเบด ซึ่งใช้เวลาเข้าสู่ภาวะสมดุลมากกว่าการทดลองแบบแบตช์ 13.5 เท่า โดยมีประสิทธิภาพในการกำจัด 91.40% |
บรรณานุกรม | : |
เอมม่า อาสนจินดา, 2520- . (2545). ผลของสารคีเลตต่อการดูดซับตะกั่วจากสารละลายด้วยไคโตแซนแบบโครงร่างตาข่าย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เอมม่า อาสนจินดา, 2520- . 2545. "ผลของสารคีเลตต่อการดูดซับตะกั่วจากสารละลายด้วยไคโตแซนแบบโครงร่างตาข่าย".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เอมม่า อาสนจินดา, 2520- . "ผลของสารคีเลตต่อการดูดซับตะกั่วจากสารละลายด้วยไคโตแซนแบบโครงร่างตาข่าย."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. เอมม่า อาสนจินดา, 2520- . ผลของสารคีเลตต่อการดูดซับตะกั่วจากสารละลายด้วยไคโตแซนแบบโครงร่างตาข่าย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|