ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการองค์กรชมรมผู้สูงอายุเพื่อการดูแลสุขภาพตนเอง |
นักวิจัย | : | เพ็ญประภา ศิวิโรจน์ |
คำค้น | : | ORGANIZATIONAL MODEL , DEVELOPMENT PROCESS , SELF- HEALTH CARE |
หน่วยงาน | : | ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2542 |
อ้างอิง | : | http://www.thaithesis.org/detail.php?id=43801 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | การวิจัยปฏิบัติการเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ องค์กรผู้สูงอายุที่มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการให้ชมรมผู้สูงอายุสามารถดำเนิน กิจกรรมด้วยตนเองและมีความยั่งยืน โดยเลือกศึกษาจากชมรมผู้สูงอายุอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และใช้โครงการการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุเป็นตัวแบบเพื่อการทดสอบ และพัฒนาองค์กรการบริหารจัดการชมรม ซึ่งกระบวนการพัฒนานี้ใช้เวลา 1 ปีแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอนสำคัญคือ การสร้างรูปแบบองค์กรในเชิงทฤษฎี การสร้างข้อผูกพันการพัฒนา (การยอม รับและตัดสินใจร่วมโครงการ) การเตรียมความพร้อม (ความคิดและแผนงาน) การปฏิบัติงานและ ประเมินผล (กระบวนการเรียนรู้และบทเรียน) และการสร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืน (ความ ต่อเนื่องของการบริหารจัดการและผลงาน) โดยกลยุทธ์ที่ใช้ในการพัฒนาประกอบด้วย การบริหาร งานแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการและสมาชิกการเรียนรู้ด้วยการฝึกปฏิบัติ และการใช้เจ้าหน้าที่ เป็นที่ปรึกษา รูปแบบการบริหารจัดการองค์กรที่พัฒนาจากกลยุทธ์และขั้นตอนดังกล่าวจนทำให้องค์กร ชมรมมีความเข้มแข็งและยั่งยืนนี้ อาจสรุปเป็นรูปแบบการพัฒนาองค์กรชมรมผู้สูงอายุแบบนี้ ว่า "รูปแบบศาลายา" และ "การปรับเปลี่ยนองค์กรเพื่อการพัฒนา" สำหรับผลการพัฒนาองค์กรชมรม ผู้สูงอายุนั้น พบว่าโครงสร้างองค์กรชมรมผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนคือ ขนาด ของคณะกรรมการชมรมเล็กลง การกำหนดตำแหน่งหลักของคณะกรรมการ การแก้ไขกฎระเบียบชมรม การจัดตั้งที่ทำการชมรมถาวร นอกจากนั้นพบว่ากรรมการและสมาชิกชมรมรับรู้อย่างจริงจัง ถึงความเป็นเจ้าของชมรม กล้าคิดและกล้าแสดงออก ความมั่นใจในความสามารถตนเองในการชมรม การทำงานเป็นทีม ความเป็นผู้นำ การมีส่วนร่วมของกรรมการและสมาชิก นอกจากนี้คณะกรรมการ ชมรมยังแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการในเรื่องการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกันเป็นอย่างดี กับองค์รัฐ องค์กรท้องถิ่น และองค์กรเอกชนในชุมชนและพื้นที่บริเวณใกล้เคียง สำหรับผลการ ดำเนินงานโครงการการดูแลสุขภาพตนเองพบว่า ผู้สูงอายุควบคุมระดับน้ำตาลและระดับไขมันใน เลือดได้ดีขึ้น และได้ปรับเปลี่ยนการกินอาหารในการควบคุมน้ำตาลและไขมันในเลือดได้มาก ขึ้น นอกจากนี้ผู้สูงอายุยังมีความเชื่อมั่นต่อความสามารถของตนเองได้มากขึ้นว่า สามารถ ควบคุมโรคได้ ส่วนความดันโลหิตและพฤติกรรมการออกกำลังกายนั้น แม้ว่าผู้สูงอายุมีการปรับ เปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้น แต่มีไม่มากพอที่ทำให้เกิดความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ผลจาก การพัฒนาองค์กรดังกล่าวเชื่อว่า รูปแบบศาลายานี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการ บรหารจัดการองค์กรชมรมผู้สูงอายุอื่น ๆ ต่อไปได้เป็นอย่างดี |
บรรณานุกรม | : |
เพ็ญประภา ศิวิโรจน์ . (2542). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการองค์กรชมรมผู้สูงอายุเพื่อการดูแลสุขภาพตนเอง.
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. เพ็ญประภา ศิวิโรจน์ . 2542. "การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการองค์กรชมรมผู้สูงอายุเพื่อการดูแลสุขภาพตนเอง".
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. เพ็ญประภา ศิวิโรจน์ . "การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการองค์กรชมรมผู้สูงอายุเพื่อการดูแลสุขภาพตนเอง."
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย, 2542. Print. เพ็ญประภา ศิวิโรจน์ . การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการองค์กรชมรมผู้สูงอายุเพื่อการดูแลสุขภาพตนเอง. กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย; 2542.
|