ชื่อเรื่อง | : | แนวทางการบริหารจัดการพื้นที่สีเขียวบริเวณบางกะเจ้าตามโครงการสวนกลางมหานคร อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ |
นักวิจัย | : | นฤนาท สนลอย |
คำค้น | : | องค์การ , การบริหารจัดการ , พื้นที่สีเขียว , สิ่งแวดล้อม , โครงการสวนกลางมหานคร , บางกะเจ้า , ORGANIZATION , MANAGEMENT , GREEN AREA , ENVIRONMENT , BANG KA CHAO |
หน่วยงาน | : | ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2541 |
อ้างอิง | : | http://www.thaithesis.org/detail.php?id=43355 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | จากการขยายตัวของการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยของกรุงเทพรวมถึง ปริมณฑล ทำให้มีผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินในรูปแบบพื้นที่สีเขียว จึงเกิดนโยบาย การรักษาพื้นที่สีเขียวบริเวณบางกะเจ้าและโครงการสวนกลางมหานครขึ้น ดังนั้นจึงต้อง นำการบริหารจัดการพื้นที่ที่ต่อเนื่องจากโครงการฯ มาใช้ โดยเฉพาะการจัดองค์การ ในการประสานงานระดับพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวบริเวณบางกะเจ้า ในการศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะสภาพพื้นที่และลักษณะการจัดการพื้นที่ในช่วงปี พ.ศ. 2520-2540 และเพื่อเสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่สีเขียว โดยการจัด องค์การของพื้นที่จะใช้ทฤษฎีระบบ (System approach) ร่วมกับการจัดองค์การตาม สถานการณ์หรือตามเหตุการณ์ (Contingency or situation models) ซึ่งการมี โครงการฯ ทำให้เกิดพื้นที่ที่มีกิจกรรมแตกต่างกัน 3 พื้นที่ คือ พื้นที่สวนสาธารณะ พื้นที่ป่าของเมืองหรือป่าชุมชน และพื้นที่กรรมสิทธิ์ของเกษตรกร สำหรับพื้นที่สวนสาธารณะ ได้ศึกษาจากการสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารพื้นที่ระดับนโยบายจากแบบสัมภาษณ์ พื้นที่ป่าของเมืองหรือป่าชุมชน ศึกษาจากระดับความต้องการมีส่วนร่วมของประชาชนจาก แบบสอบถาม เพื่อนำมาจัดรูปแบบการจัดการป่าชุมชนตามตัวแบบการจัดการป่าชุมชนของ ประเทศไทยที่มีผู้ศึกษาไว้ ส่วนพื้นที่กรรมสิทธิ์ของเกษตรกร ศึกษาจาก 2 ส่วน คือ ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ รวมถึงการเชื่อมโยงการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่กับการ เปลี่ยนแปลงของพื้นที่สีเขียว จากข้อมูลทุติยภูมิร่วมกับข้อมูลปฐมภูมิ คือ การแปลภาพถ่าย ทางอากาศในช่วงปี พ.ศ.2520-2540 และส่วนที่ 2 คือการสอบถามความคิดเห็นของ ประชาชนจากแบบสอบถาม หลังจากนั้นใช้การสนทนากลุ่มผู้นำในพื้นที่ทั้งที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ ขั้นตอนสุดท้ายใช้การวิเคราะห์เนื้อหาจากผลการศึกษาที่ได้ทั้งหมด เพื่อเสนอแนะแนวทางการจัดตั้งองค์การของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษา พบว่า การจัดการพื้นที่ควรอยู่ในรูปการประสานงานแบบคณะกรรมการ โดยองค์การจัดการพื้นที่สวนสาธารณะจะอยู่ในรูปคณะกรรมการอำนวยการสวนกลางมหานคร ซึ่งประกอบไปด้วยคณะทำงานส่วนวิจัยและพัฒนา คณะทำงานส่วนส่งเสริมและประสานงาน และคณะทำงานส่วนปฏิบัติการ ส่วนองค์การจัดการพื้นที่ป่าของเมืองหรือป่าชุมชน อยู่ในรูป คณะทำงานส่วนโครงการป่าไม้ชุมชน สำหรับพื้นที่กรรมสิทธิ์ของเกษตรกร ใช้การจัดองค์การ ในรูปคณะทำงานส่วนพื้นที่ โดยที่คณะทำงานทั้ง 3 พื้นที่ ดำเนินกิจกรรมหลักของตน แต่ การดำเนินการในภาพรวมของพื้นที่ เป็นไปในรูปแบบของพื้นที่สีเขียวเกษตร ร่วมกับเกษตร เพื่อการท่องเที่ยว รวมถึงคงไว้ซึ่งสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตของพื้นที่ด้วย โดยที่คณะ กรรมการอำนวยการโครงการสวนกลางมหานคร เป็นองค์การหลักด้านวิชาการและข้อมูล และประสานงานกับคณะทำงานส่วนโครงการป่าไม้ชุมชนและคณะทำงานส่วนพื้นที่อีกต่อหนึ่ง โดยคณะกรรมการหรือคณะทำงานในแต่ละชุด การจัดตั้งควรจะอยู่ในรูปสหการ คือ ควร มาจากองค์การบริหารส่วนตำบลทั้ง 6 ตำบล ร่วมอยู่ด้วย หรือจัดตั้งในรูปแบบองค์การ อิสระ สำหรับข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือการบริหารจัดการภาครัฐ ที่ให้นำการวางแผน แบบมีส่วนร่วมมาปฏิบัติ ร่วมกับการแก้ไขระบบราชการ นำการประสานงานระดับพื้นที่ มาใช้ รวมถึงมีการประเมินผลการทำงานอย่างต่อเนื่อง ส่วนภาคชุมชนควรใช้กระบวนการ สร้างผู้นำและเครือข่ายผู้นำ เพื่อทำให้เกิดการริเริ่มสร้างสรรค์โครงการจากชุมชน อันจะนำมาสู่การวางแผนการบริหารจัดการพื้นที่สีเขียวที่มีประสิทธิภาพ |
บรรณานุกรม | : |
นฤนาท สนลอย . (2541). แนวทางการบริหารจัดการพื้นที่สีเขียวบริเวณบางกะเจ้าตามโครงการสวนกลางมหานคร อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ.
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. นฤนาท สนลอย . 2541. "แนวทางการบริหารจัดการพื้นที่สีเขียวบริเวณบางกะเจ้าตามโครงการสวนกลางมหานคร อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ".
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. นฤนาท สนลอย . "แนวทางการบริหารจัดการพื้นที่สีเขียวบริเวณบางกะเจ้าตามโครงการสวนกลางมหานคร อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ."
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย, 2541. Print. นฤนาท สนลอย . แนวทางการบริหารจัดการพื้นที่สีเขียวบริเวณบางกะเจ้าตามโครงการสวนกลางมหานคร อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย; 2541.
|