ชื่อเรื่อง | : | การศึกษาเอ็นไซม์ไคติเนสและเบต้า(1,3) กลูคาเนสในน้ำยางพารา |
นักวิจัย | : | จันทิรา ปัญญา |
คำค้น | : | - |
หน่วยงาน | : | ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2537 |
อ้างอิง | : | http://www.thaithesis.org/detail.php?id=40951 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | จากการศึกษาเอ็นไซม์ในบี-ซีรั่มของ lutoid particle ของน้ำยางพาราที่ถูกปั่นแยกด้วยความเร็วสูง พบว่ามีเอ็นไซม์ไคติเนสและเบต้า-(1,3)-กลูคาเนสอยู่ จึงได้ทำการศึกษาคุณสมบัติของเอ็นไซม์ทั้งสองโดยเตรียม คอลลอยด์-ไคติน จากเปลือกกุ้งมาใช้เป็นสับสเตรทในการ วัดการทำงานของเอ็นไซม์ไคติเนส ไคติเนสในบี-ซีรั่มมี Ph ที่เหมาะสมในการทำงานอยู่ในช่วงแคบ ระหว่าง 4 - 5.5 โดยที่การทำงานสูงสุดจะวัดได้ที่ pH 5.0 และ อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการทำงาน ของเอ็นไซม์นี้จะอยู่ ระหว่าง 45-55 องศาเซลเซียส และที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส เอ็นไซม์จะทำงานได้สูงสุด ไคติเนสมีความ ทนต่อ pH ได้ในช่วง pH ระหว่าง 4 - 10 และความสามารถ ทนต่อความร้อนได้ถึง 70 องศาเซลเซียส ซึ่งแสดงให้เห็น ว่าไคติเนสเป็นเอ็นไซม์ที่สามารถทนต่อความร้อนได้ดี นอกจากนี้ยังพบว่าเอ็นไซม์เบต้า-(1,3)-กลูคาเนสก็เป็น เอ็นไซม์ที่สามารถทนต่อความร้อนได้ปานกลาง เพราะกลูคาเนส สามารถทนอุณหภูมิได้สูงถึง 60 องศาเซลเซียส กลูคาเนสมี ช่วง pH ที่เหมาะสมในการทำงานอยู่ในช่วงแคบเช่นเดียวกับ ไคติเนสคือระหว่าง pH 5 - 6 โดยจะทำงานได้สูงสุดที่ pH 5.0 จากการศึกษาคุณสมบัติทางไคเนติกของเอ็นไซม์ทั้ง สองพบว่า บี-ซีรั่มไคติเนสจะมีค่า Km เท่ากับ 25 mM ของไคติน ในขณะที่ไคติเนสที่แยกบริสุทธิ์มีค่า Km เท่ากับ 17 nM ของไคตีนสำหรับเอ็นไซม์ กลูคาเนสใน บี-ซีรั่มมีค่า Km เท่ากับ 40 mM ของลามินาริน ในการแยกบริสุทธิ์ของเอ็นไซม์ทั้งสอง โดยวิธี โครมาโตกราฟีที่ใช้ CM-cellulose พบว่าเอ็นไซม์ไคติเนส ประกอบด้วย 3 isozymes ส่วนกลูคาเนสพบว่ามีอยู่เพียง ชนิดเดียวเท่านั้น ในการศึกษาคุณสมบัติของเอ็นไซม์ ไคนิเนสทั้ง 3 isozymes คือ CM l, CM ll และ CM lll พบว่าทั้ง 3 isozyme มีน้ำหนักโมเลกุลที่เท่ากันคือประมาณ 26 กิโลดาลตันโดยที่แต่ละ isozyme มีค่า pl ที่ 9.3, 9.7, และ 9.8 ตามลำดับ จากการศึกษาคุณสมบัติการต่อต้านเชื้อรา ของเอ็นไซม์ และโปรตีนในบี-ซีรั่ม พบว่าบี-ซีรั่ม ซึ่งมีเอ็นไซม์ไคติเนส และเบต้า-(1,3)-กลูคาเนสอยู่นั้นสามารถยับยั้งการเจริญ เติบโตของเชื้อราที่นำมาทดสอบทั้ง 6 ชนิดได้ ในขณะที่ ซี-ซีรั่มและเอ็นไซม์ไคติเนสที่แยกบริสุทธิ์แล้ว สามารถ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราที่นำมาทดสอบได้เพียง 3 ชนิดเท่านั้น สำหรับไคโตแซนซึ่งเป็นสารที่รู้จักกันดี ว่ามีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ ก็ถูกนำมาทดสอบในการศึกษาครั้งนี้เพื่อเป็นตัวเปรียบเทียบ สารละลายไคโตแซน สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา ที่นำมาทดสอบได้เกือบทั้งหมดยกเว้นเชื้อ sporotrichum pulveruluetium และผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ได้ชี้ให้ เห็นถึงแนวทางในการนำเอา บี-ซีรั่มของน้ำยางพาราไปประยุกต์ ในด้านต่าง ๆ ได้มากขึ้น |
บรรณานุกรม | : |
จันทิรา ปัญญา . (2537). การศึกษาเอ็นไซม์ไคติเนสและเบต้า(1,3) กลูคาเนสในน้ำยางพารา.
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. จันทิรา ปัญญา . 2537. "การศึกษาเอ็นไซม์ไคติเนสและเบต้า(1,3) กลูคาเนสในน้ำยางพารา".
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. จันทิรา ปัญญา . "การศึกษาเอ็นไซม์ไคติเนสและเบต้า(1,3) กลูคาเนสในน้ำยางพารา."
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย, 2537. Print. จันทิรา ปัญญา . การศึกษาเอ็นไซม์ไคติเนสและเบต้า(1,3) กลูคาเนสในน้ำยางพารา. กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย; 2537.
|