ชื่อเรื่อง | : | การวิเคราะห์ความสูญเสียของการพิมพ์บนบรรจุภัณฑ์ |
นักวิจัย | : | บุญเกียรติ ดีสุขสถิต, 2520- |
คำค้น | : | การควบคุมความสูญเปล่า , การควบคุมการผลิต , การควบคุมกระบวนการผลิต , การพิมพ์บรรจุภัณฑ์ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สุทัศน์ รัตนเกื้อกังวาน , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741711174 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1325 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 วิเคราะห์ความสูญเสียของการพิมพ์บนบรรจุภัณฑ์ โดยมีขอบเขตงานวิจัยจะมุ่งเน้นศึกษาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการพิมพ์เท่านั้น และจะมุ่งเน้นเกี่ยวกับความสูญเสียด้านการผลิตสินค้าสำเร็จรูป จากการศึกษาสภาพปัจจุบันของโรงงานตัวอย่างพบว่า โรงงานตัวอย่างมีของเสียเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก เนื่องจากโรงงานขาดการเก็บรวบรวมข้อมูลที่จำเป็น ขาดการจำแนกลักษณะของของเสียที่เกิดขึ้นในแต่ละลักษณะ ขาดการวิเคราะห์สาเหตุของของเสียในแต่ละลักษณะที่เกิดขึ้นในโรงงาน ขาดผู้รับผิดชอบด้านคุณภาพที่ชัดเจน ไม่มีการนำเทคนิคทางสถิติมาใช้ ขาดการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นผู้ศึกษาจึงเก็บรวบรวมข้อมูลของของเสียในเบื้องต้นของโรงงานตัวอย่าง พบว่าสามารถจำแนกได้เป็น 8 ลักษณะหลักๆ โดยมีอยู่ 3 ลักษณะ ที่เกิดของเสียในสัดส่วนที่สูง คือ งานพิมพ์เสียภาพเหลื่อม งานพิมพ์เสียสีเลอะ งานพิมพ์เสียสีขึ้นเส้น ซึ่งเป็นของเสียที่เกิดขึ้นในแผนกพิมพ์ทั้งหมด โดยคิดเป็น 74.05% ของของเสียที่เกิดขึ้นทั้งหมดในโรงงาน ผู้ศึกษาจึงนำข้อมูลของเสียเสนอต่อคณะผู้บริหารของโรงงานตัวอย่าง ซึ่งผลการประชุมของคณะผู้บริหารมีนโยบายให้เร่งปรับปรุงในแผนกพิมพ์เท่านั้น เนื่องจากมีสัดส่วนของเสียเกิดขึ้นสูงมาก จึงควรรีบปรับปรุงอย่างเร่งด่วน และเนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว ทางโรงงานจึงยังไม่มีนโยบายที่จะเร่งปรับปรุงแผนกอื่นๆ ซึ่งแต่ละแผนกมีสัดส่วนของเสียในสัดส่วนที่ไม่มากนัก อีกทั้งการปรับปรุงหลายๆ แผนกพร้อมๆ กัน จะทำให้การปรับปรุงในแผนกพิมพ์เกิดความล่าช้า ดังนั้นผู้ศึกษาจึงได้วิเคราะห์และเสนอวิธีการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์สิ่งพิมพ์ ซึ่งจะเน้นในแผนกพิมพ์เป็นหลัก ส่วนในแผนกอื่นๆ จะมีการวิเคราะห์เพียงคร่าวๆเท่านั้น โดยการออกแบบฟอร์มการเก็บข้อมูลในแต่ละแผนก เพื่อใช้ในการวิเคราะห์หาสาเหตุของของเสียที่เกิดขึ้น วิเคราะห์หาสาเหตุของของเสียที่เกิดขึ้นในแต่ละลักษณะ จัดทำเกณฑ์การตรวจสอบวัตถุดิบ จัดทำขั้นตอนการปฏิบัติงาน จัดทำแผนผังกระบวนการและควบคุมคุณภาพในกระบวนการผลิต จัดทำแผนบำรุงรักษาเชิงป้องกัน จัดตั้งทีมงานตรวจติดตาม การเทียบเครื่องมือวัด การจัดทำใบแสดงลักษณะงาน จากผลการศึกษาพบว่า หลังจากที่โรงงานตัวอย่างมีสัดส่วนของเสียลดลงจาก 17.53% เหลือเพียง 8.65% |
บรรณานุกรม | : |
บุญเกียรติ ดีสุขสถิต, 2520- . (2545). การวิเคราะห์ความสูญเสียของการพิมพ์บนบรรจุภัณฑ์.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บุญเกียรติ ดีสุขสถิต, 2520- . 2545. "การวิเคราะห์ความสูญเสียของการพิมพ์บนบรรจุภัณฑ์".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บุญเกียรติ ดีสุขสถิต, 2520- . "การวิเคราะห์ความสูญเสียของการพิมพ์บนบรรจุภัณฑ์."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. บุญเกียรติ ดีสุขสถิต, 2520- . การวิเคราะห์ความสูญเสียของการพิมพ์บนบรรจุภัณฑ์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|