ชื่อเรื่อง | : | การกำจัดโลหะหนักออกจากน้ำเสียซีโอดีโดยใช้คีเลติ้งโพลีเมอร์ |
นักวิจัย | : | พัชราภรณ์ ทวีสุวรรณพร, 2516- |
คำค้น | : | น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดโลหะหนัก , การตกตะกอน (เคมี) , สารประกอบเชิงซ้อน |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | อรทัย ชวาลภาฤทธิ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741727437 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1319 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 ศึกษาประสิทธิภาพการกำจัดโลหะหนัก (ในน้ำ) โดยใช้สารคีเลติ้ง โพลีเมอร์ โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนหลักๆ ส่วนแรกศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการกำจัดโลหะหนัก 4 ชนิดในน้ำเสียสังเคราะห์แต่ละชนิด ได้แก่ ปรอท โครเมียม เงิน และเหล็ก และส่วนที่ 2 ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการกำจัดโลหะหนักทั้ง 4 ชนิดพร้อมกัน ในน้ำเสียซีโอดีเจือจาง (เจือจาง 10 เท่า) ผลการทดลองพบว่าสารคีเลติ้งโพลีเมอร์สามารถกำจัดปรอทและเงินได้ดี แต่ไม่สามารถกำจัดโครเมียมและเหล็กได้ โดยที่น้ำเสียสังเคราะห์มีค่าปรอทและเงินเริ่มต้นประมาณ 150 และ 200 มก./ล. พบว่าการใช้สารคีเลติ้งโพลีเมอร์ประมาณ 480 และ 360 มก./ล. ทำให้ปรอทและเงินถูกกำจัดให้เหลือต่ำกว่า 0.005 และ 1.0 มก./ล. ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่า ค่าพีเอชไม่มีผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพในการกำจัดปรอทและเงิน ผลการทดลองนี้ยังพบว่าการใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์ร่วมกับสารคีเลติ้งโพลีเมอร์ มีความสามารถในการกำจัดโลหะหนักต่างๆทั้ง 4 ชนิดพร้อมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยน้ำเสียซีโอดีเจือจางมีปริมาณปรอท โครเมียม เงิน และเหล็กเริ่มต้นประมาณ 200, 46, 180 และ 140 มก./ล. เมื่อปรับค่าพีเอชเริ่มต้นของน้ำเสียซีโอดีเจือจางให้เท่ากับ 5.0 และใช้สารคีเลติ้งโพลีเมอร์เท่ากับ 1,440 มก./ล. โดยทิ้งให้ตกตะกอนประมาณ 30 นาที จะทำให้มีปริมาณ ปรอท โครเมียม เงิน และเหล็ก เหลืออยู่ในน้ำเท่ากับ 0.001, 0.07, 0.1 และ 0.3 มก./ล. ตามลำดับ ซึ่งจากการทดลองนี้พบว่า ค่าพีเอชหลังการเติมสารคีเลติ้งโพลีเมอร์เท่ากับ 8.4-8.5 ทำให้ของแข็งแขวนลอยมีขนาดใหญ่และแยกออกได้ง่าย เมื่อทิ้งให้ตกตะกอนประมาณ 30 นาที โดยที่ไม่ต้องมีการใช้สารโคแอกกูแลนต์ การกำจัดโลหะหนักต่างๆ ในน้ำเสียซีโอดีด้วยวิธีข้างต้นพบว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายรวมประมาณ 11,300-15,800 บาท/ลบ.ม. (น้ำเสียซีโอดีเข้มข้น) หรือ 0.9-1.3 บาท/1 ตัวอย่างน้ำสำหรับการวิเคราะห์ค่าซีโอดีแบบเปิด (รวมค่าบำบัดและกำจัดตะกอน) ซึ่งค่าใช้จ่ายดังกล่าวส่วนใหญ่เกือบ 60% เป็นค่าสารปรับพีเอช (โซเดียมไฮดรอกไซด์) ในขณะที่ค่าใช้จ่ายในส่วนของสารคีเลติ้งโพลีเมอร์ประมาณ 38% |
บรรณานุกรม | : |
พัชราภรณ์ ทวีสุวรรณพร, 2516- . (2545). การกำจัดโลหะหนักออกจากน้ำเสียซีโอดีโดยใช้คีเลติ้งโพลีเมอร์.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พัชราภรณ์ ทวีสุวรรณพร, 2516- . 2545. "การกำจัดโลหะหนักออกจากน้ำเสียซีโอดีโดยใช้คีเลติ้งโพลีเมอร์".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พัชราภรณ์ ทวีสุวรรณพร, 2516- . "การกำจัดโลหะหนักออกจากน้ำเสียซีโอดีโดยใช้คีเลติ้งโพลีเมอร์."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. พัชราภรณ์ ทวีสุวรรณพร, 2516- . การกำจัดโลหะหนักออกจากน้ำเสียซีโอดีโดยใช้คีเลติ้งโพลีเมอร์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|