ชื่อเรื่อง | : | พฤติกรรมทางชลศาสตร์ของการไหลเข้าและออกจากบ่อน้ำบาดาล |
นักวิจัย | : | นพดล เฉลิมชัยรัตนกุล, 2518- |
คำค้น | : | น้ำบาดาล , ชั้นน้ำบาดาล , ชลศาสตร์ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สุจริต คูณธนกุลววงศ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741798113 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1299 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 การสูบน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้มากกว่าสมดุลของธรรมชาติทำให้เกิดผลกระทบต่างๆ เช่น แผ่นดินทรุด การบรรเทาปัญหาวิธีการหนึ่งคือการเติมน้ำลงไปในชั้นน้ำ แต่ยังขาดความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการไหลของน้ำใต้ดินระหว่างการเติมน้ำ การศึกษานี้จึงทำการทดลองในห้องปฏิบัติการเพื่อศึกษาพฤติกรรมการไหลของน้ำภายใต้แรงดันเข้าสู่บ่อน้ำบาดาลขณะทำการสูบน้ำและการไหลของน้ำออกจากบ่อน้ำบาดาลขณะทำการเติมน้ำ เมื่อขนาดอนุภาคทรายชั้นน้ำเปลี่ยนไป การศึกษาได้จัดทำแบบจำลองบ่อบาดาล-ชั้นน้ำขึ้น 2 แบบ เพื่อทำการทดลองการไหลภายใต้แรงดันประกอบด้วยแบบจำลองการไหลในแนวรัศมี เป็นรูปส่วนหนึ่งของวงกลม มุมที่จุดศูนย์กลาง 30 องศา ยาว 2 เมตร หนา 0.2 เมตร และแบบจำลองการไหลในทิศทางเดียว ความกว้าง 0.1 เมตร ยาว 3 เมตร หนา 0.2 เมตร โดยบ่อบาดาลเป็นรูปส่วนหนึ่งของวงกลม มุมที่จุดศูนย์กลาง 30 องศา รัศมี 0.2 เมตร นอกจากนี้ยังได้ทดลองการไหลแบบมาตรฐานในเพอร์เมียมิเตอร์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 นิ้ว สูง 1 เมตร เพื่อหาค่าพารามิเตอร์พื้นฐานที่ใช้อธิบายพฤติกรรมทางชลศาสตร์ ได้แก่ ค่าเรย์โนลด์วิกฤติ ค่าความนำชลศาสตร์ พารามิเตอร์ดาร์ซี พารามิเตอร์นอนดาร์ซี สัมประสิทธิ์ของการไหลนำพา และความสูญเสียของบ่อน้ำบาดาล ผลการทดลองพบว่า การไหลเข้าและออกจากบ่อน้ำบาดาลในการทดลอง มีเฮดสูญเสียจากการไหลประกอบด้วยความสูญเสียของบ่อน้ำบาดาลและเฮดสูญเสียจากการไหลในชั้นน้ำ ซึ่งเฮดสูญเสียจากการไหลสามารถแบ่งออกเป็นเฮดสูญเสียจากการไหลแบบเชิงเส้นและเฮดสูญเสียจากการไหลแบบไม่เชิงเส้น โดยระยะจากศูนย์กลางบ่อน้ำบาดาลที่มีการเปลี่ยนสภาพการไหล คือ รัศมีวิกฤติบ่อน้ำบาดาล ซึ่งคำนวณจากค่าเรย์โนลด์วิกฤต ในการเปรียบเทียบผลการทดลองการไหลเข้าและออกจากบ่อน้ำบาดาล ให้ค่าเรย์โนลด์วิกฤติใกล้เคียงกัน ค่าความนำชลศาสตร์ของการไหลเข้าสูงกว่าการไหลออก พารามิเตอร์ดาร์ซี พารามิเตอร์นอนดาร์ซีและสัมประสิทธิ์ของการไหลนำพาของการไหลของสูงกว่าการไหลเข้า ทำให้เฮดสูญเสียจากการไหลแบบไม่เชิงเส้นและแบบเชิงเส้นออกจากบ่อน้ำบาดาลมีค่าเฉลี่ยประมาณ 1.06 และ 1.02 เท่าของการไหลเข้า ตามลำดับขณะที่ความสูญเสียบ่อน้ำบาดาลจากการไหลเข้ามีค่าเฉลี่ยประมาณ 1.49 เท่าของการไหลออก และเฮดสูญเสียในทุกเรื่องลดลงเมื่อขนาดทรายใหญ่ขึ้น |
บรรณานุกรม | : |
นพดล เฉลิมชัยรัตนกุล, 2518- . (2545). พฤติกรรมทางชลศาสตร์ของการไหลเข้าและออกจากบ่อน้ำบาดาล.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นพดล เฉลิมชัยรัตนกุล, 2518- . 2545. "พฤติกรรมทางชลศาสตร์ของการไหลเข้าและออกจากบ่อน้ำบาดาล".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นพดล เฉลิมชัยรัตนกุล, 2518- . "พฤติกรรมทางชลศาสตร์ของการไหลเข้าและออกจากบ่อน้ำบาดาล."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. นพดล เฉลิมชัยรัตนกุล, 2518- . พฤติกรรมทางชลศาสตร์ของการไหลเข้าและออกจากบ่อน้ำบาดาล. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|