ชื่อเรื่อง | : | อุปกรณ์ตรวจรู้แรงสามแกนชนิดสเตรนเกจสำหรับเครื่องกัด |
นักวิจัย | : | พรพรม บุญพรม, 2520- |
คำค้น | : | เครื่องกัด , สเตรนเกจ , ไฟไนต์เอลิเมนต์ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | วิบูลย์ แสงวีระพันธุ์ศิริ , รัชทิน จันทร์เจริญ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741722192 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1284 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เสนอการออกแบบและสร้างอุปกรณ์ตรวจรู้แรงสามแกนชนิดสเตรนเกจ สำหรับวัดแรงกัด 3 ทิศทาง ซึ่งการออกแบบอุปกรณ์ตรวจรู้แรงนี้ได้พิจารณาแยกออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนโครงสร้างและหาตำแหน่งที่เหมาะสมในการติดตั้งอุปกรณ์วัดสัญญาณสเตนเกจ ส่วนปรับปรุงคุณภาพของสัญญาณ และส่วนรูปแบบของการแสดงผล ในส่วนของการออกแบบโครงสร้างนั้นได้ทำการออกแบบโครงสร้างที่รับแรง โดยมีลักษณะพิเศษเพื่อให้แรงหลักที่มากระทำกับตัวสเตรนเกจเป็นเฉพาะแรงดัดของคาน การออกแบบโครงสร้างได้ใช้ระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์เป็นเครื่องมือช่วยในการออกแบบและวิเคราะห์เพื่อให้ได้โครงสร้างที่เหมาะสม โดยคำนึงค่าความถี่ธรรมชาติ การเสียรูป และความแข็งแรงของโครงสร้างของอุปกรณ์ตรวจรู้แรง พร้อมทั้งหาตำแหน่งที่เหมาะสมในการติดตั้งตัวสเตรนเกจ สำหรับส่วนปรับปรุงคุณภาพของสัญญาณในส่วนที่สองนั้นได้ใช้เครื่องเอชพี 3852A ในการเก็บข้อมูลความเครียดในรูปแบบของความต่างศักย์ไฟฟ้าจากวงจรฮาล์ฟบริดจ์ ผ่านทางโวลต์มิเตอร์ความเร็วสูงและไดนามิกสเตรนเกจเฟตมัลติเพล็กเซอร์ ค่าที่อ่านได้จะส่งไปยังคอมพิวเตอร์เพื่อปรับปรุงคุณภาพของสัญญาณ โดยใช้โปรแกรมเอชพีวี ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ช่วยในการปรับปรุงสัญญาณ การแสดงผล และการเก็บข้อมูลในรูปแบบที่สามารถนำไปวิเคราะห์ทางด้านอื่นต่อไป งานวิจัยยังไม่ได้สร้างอุปกรณ์ทดสอบมาตรฐานที่ใช้สำหรับการสอบเทียบซึ่งจะเป็นระยะถัดไป ดังนั้นในขั้นตอนแรกหรือระยะแรกนี้จะใช้การเปรียบเทียบค่าที่วัดได้กับอุปกรณ์ตรวจรู้แรงของคิสท์เลอร์ รุ่น 9255B เพื่อดูแนวโน้มของแรงตัดที่เกิดขึ้น และแสดงวิธีการหาเมตริกซ์สอบเทียบ โดยพยายามวัดแรงจากการกัดที่อยู่ในสถานะอยู่ตัวหรือความเร็วในการกัดคงที่ วัตถุประสงค์ของการเปรียบเทียบเพื่อดูแนวโน้มของสัญญาณการกัดของอุปกรณ์ตรวจรู้แรงคิสท์เลอร์และอุปกรณ์ตรวจรู้แรงที่พัฒนาขึ้น ซึ่งสัญญาณที่ได้จากอุปกรณ์ตรวจรู้แรงทั้งสองนั้นมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ในขั้นตอนต่อไปจะได้ทำการสร้างอุปกรณ์ทดสอบมาตรฐานที่ใช้สำหรับการสอบเทียบเพื่อให้ค่าที่อ่านได้ที่ถูกต้องยิ่งขึ้น |
บรรณานุกรม | : |
พรพรม บุญพรม, 2520- . (2545). อุปกรณ์ตรวจรู้แรงสามแกนชนิดสเตรนเกจสำหรับเครื่องกัด.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พรพรม บุญพรม, 2520- . 2545. "อุปกรณ์ตรวจรู้แรงสามแกนชนิดสเตรนเกจสำหรับเครื่องกัด".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พรพรม บุญพรม, 2520- . "อุปกรณ์ตรวจรู้แรงสามแกนชนิดสเตรนเกจสำหรับเครื่องกัด."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. พรพรม บุญพรม, 2520- . อุปกรณ์ตรวจรู้แรงสามแกนชนิดสเตรนเกจสำหรับเครื่องกัด. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|