ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนาปุ๋ยเคมีชนิดปลดปล่อยช้า ที่เคลือบด้วยโปรตีนจากกากถั่วเหลือง |
นักวิจัย | : | ณัฐ งามเจตนรมย์, 2517- |
คำค้น | : | ปุ๋ย , โปรตีน , กากถั่วเหลือง |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ณัฐพร โทณานนท์ , วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741718403 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1249 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 ศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการที่จะผลิตปุ๋ยเคมี ให้มีความสามารถในการชะลอการปลดปล่อยธาตุอาหาร โดยใช้สารเคลือบที่มีโปรตีนจากกากถั่วเหลือง เป็นวัตถุดิบหลักในการที่จะนำมาเคลือบปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24 สารเคลือบที่ใช้ในการวิจัยนี้จะประกอบด้วยโปรตีนจากกากถั่วเหลือง (Soy Protein Isolate; SPI) น้ำกลั่น สาร Plasticizer สาร Crosslinking Agent (ในที่นี้ใช้สารละลาย Formaldehyde) และสี โดยอัตราส่วนที่เหมาะสมคือ 7%, 82.5%, 7%, 3% และ 0.5% โดยน้ำหนัก ตามลำดับ จากการศึกษาพบว่า ลักษณะของฟิล์มที่เคลือบปุ๋ยซึ่งได้แก่ ความหนาของฟิล์มเคลือบและโครงสร้างของเนื้อฟิล์ม มีความสำคัญต่อการปลดปล่อยธาตุอาหารในปุ๋ย โดยถ้าฟิล์มเคลือบมีความหนาเพิ่มขึ้น และโครงสร้างของเนื้อฟิล์มแน่นขึ้น มีจำนวนรูพรุนน้อยและมีขนาดของรูพรุนเล็ก จะทำให้ปุ๋ยที่ผ่านการเคลือบสามารถชะลอการปลอดปล่อยธาตุอาหารได้ ในระยะเวลายาวนานขึ้น ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ฟิล์มที่เคลือบปุ๋ยมีความหนาเพิ่มมากขึ้นคือ จำนวนครั้งในการเคลือบที่เพิ่มมากขึ้น ส่วนปัจจัยที่มีผลทำให้โครงสร้างของเนื้อฟิล์มมีความแน่นมากขึ้น มีจำนวนรูพรุนน้อยลง และมีขนาดของรูพรุนเล็ก ได้แก่ การใช้สารเคลือบที่มีความเข้มข้นของโปรตีน จากกากถั่วเหลืองที่เพิ่มมากขึ้น การใช้สารเคลือบที่มี Mineral Oil เป็นสาร Plasticizer ที่ไม่ละลายน้ำแทน Glycerin ที่เป็นสารที่ละลายน้ำ และสุดท้ายคือการเพิ่มการเชื่อมโยงพันธะในโปรตีนโดยการ Activate ฟิล์มเคลือบด้วยสารละลาย Formaldehyde ทำให้โครงสร้างของเนื้อฟิล์มเคลือบเปลี่ยนจากโครงสร้างแบบ Amorphous ที่ละลายน้ำง่ายเป็นโครงสร้างแบบผลึก ที่ละลายน้ำยากอัดตัวกันอยู่แน่น จากผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่า ปุ๋ยเคลือบที่มีการ Activate จะมีแนวโน้มการปลดปล่อยธาตุอาหาร N ได้นานกว่าปุ๋ยเคลือบที่ไม่ผ่านการ Activate และนานกว่าปุ๋ยที่ไม่มีการเคลือบคือ ปลดปล่อยหมดในระยะเวลาประมาณ 9 วัน 6 วัน และ 3 วันตามลำดับ |
บรรณานุกรม | : |
ณัฐ งามเจตนรมย์, 2517- . (2545). การพัฒนาปุ๋ยเคมีชนิดปลดปล่อยช้า ที่เคลือบด้วยโปรตีนจากกากถั่วเหลือง.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ณัฐ งามเจตนรมย์, 2517- . 2545. "การพัฒนาปุ๋ยเคมีชนิดปลดปล่อยช้า ที่เคลือบด้วยโปรตีนจากกากถั่วเหลือง".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ณัฐ งามเจตนรมย์, 2517- . "การพัฒนาปุ๋ยเคมีชนิดปลดปล่อยช้า ที่เคลือบด้วยโปรตีนจากกากถั่วเหลือง."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. ณัฐ งามเจตนรมย์, 2517- . การพัฒนาปุ๋ยเคมีชนิดปลดปล่อยช้า ที่เคลือบด้วยโปรตีนจากกากถั่วเหลือง. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|