ชื่อเรื่อง | : | กรรมวิธีดีเทกลูปและแก้ลูปสำหรับโครงข่ายอินเทอร์เน็ตที่ใช้โพรโทคอล RIP |
นักวิจัย | : | สมหมาย สกุลกิจ, 2520- |
คำค้น | : | อินเตอร์เน็ต , โปรโตคอลเครือข่ายคอมพิวเตอร์ , ทีซีพี/ไอพี (โปรโตคอลเครือข่ายคอมพิวเตอร์) |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ลัญฉกร วุฒิสิทธิกุลกิจ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2544 |
อ้างอิง | : | 9740314287 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1227 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 นำเสนอกรรมวิธีในการดีเทกลูปสำหรับโครงข่ายอินเทอร์เน็ตที่อาศัยโพรโทคอล RIP ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลของเส้นทางระหว่างเราเตอร์ ลูปเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสถานะของทรัพยากรบนโครงข่าย เช่น มีความเสียหายเกิดขึ้นกับข่ายเชื่อมโยงหรือเราเตอร์ ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลบนโครงข่ายอินเทอร์เน็ต ที่ผ่านมาวิธีการดีเทกลูปยังไม่มีรูปแบบขั้นตอนหรือกรรมวิธีที่เป็นระบบชัดเจน ทำให้การศึกษาการทำงานและขีดความสามารถของโพรโทคอล RIP จำกัดอยู่เฉพาะกับตัวอย่างโครงข่ายเพียงไม่กี่รูปแบบที่เราทราบคุณสมบัติเป็นอย่างดี ดังนั้นเพื่อให้การศึกษาสมรรถนะของโพรโทคอล RIP มีความสมบรูณ์ และครอบคลุมปัญหาอื่นๆ มากขึ้น จึงได้นำเสนอวิธีดีเทกลูปแบบใหม่ที่มีขั้นตอนการทำงานที่เป็นระบบ สามารถใช้ได้กับโครงข่ายที่มีโทโพโลยีหลากหลายรูปแบบได้ หลักการทำงานของวิธีที่เสนออาศัยการแปลงหรือแสดงโนดแต่ละแห่ง ในโครงข่ายที่พิจารณาให้อยู่ในรูปของโนดตัวแทน โดยชุดโนดตัวแทนเหล่านี้ได้มีการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้การวิเคราะห์เหตุการณ์ที่ทำให้เกิดลูปขึ้นที่ตำแหน่งต่างๆ ในโครงข่ายตัวแทนเป็นไปอย่างมีระบบ และผลที่ได้จากการวิเคราะห์โครงข่ายตัวแทนดังกล่าว ทำให้สามารถระบุได้ว่าในโครงข่ายหนึ่งๆ จะเกิดลูปขึ้นที่ตำแหน่งใดของโครงข่าย และที่เหตุการณ์ของลำดับการบรอดคาสท์ลำดับใด ซึ่งข้อมูลที่ได้นี้นำไปสู่การบ่งบอกถึงโอกาสที่จะเกิดลูปขึ้นในโครงข่าย ตลอดจนเป็นข้อมูลในการทดสอบวิธีแก้ปัญหาลูปวิธีต่างๆ ว่าสามารถแก้ลูปที่เกิดขึ้นในตำแหน่งและลำดับการบรอดคาสท์ ที่ก่อให้เกิดลูปนั้นได้ในระดับไหน ในส่วนท้ายของวิทยานิพนธ์ได้นำเสนอแนวทางการแก้ลูปที่มีประสิทธิภาพอีกวิธีหนึ่ง โดยวิธีที่เสนอกำหนดให้โนดต้องส่งเมสเสจพิเศษออกไป เพื่อทดสอบเส้นทางใหม่ก่อนการเปลี่ยนไปใช้เส้นทางดังกล่าว การกระทำดังกล่าวนี้ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการวนลูปของข้อมูลจากการศึกษาเปรียบเทียบผลกับวิธีแก้ลูปวิธีอื่นๆ พบว่าวิธีส่งเมสเสจทดสอบ สามารถแก้ลูปประเภทลูปสั้นได้ดีเทียบเท่ากับวิธีอื่นๆ และยังสามารถแก้ลูปประเภทลูปยาวที่วิธีอื่นที่เคยเสนอมาไม่สามารถทำได้ นอกจากนี้วิธีการที่เสนอสามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงได้ เพราะไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงโพรโทคอลในการจัดเส้นทางที่ใช้อยู่เดิม |
บรรณานุกรม | : |
สมหมาย สกุลกิจ, 2520- . (2544). กรรมวิธีดีเทกลูปและแก้ลูปสำหรับโครงข่ายอินเทอร์เน็ตที่ใช้โพรโทคอล RIP.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สมหมาย สกุลกิจ, 2520- . 2544. "กรรมวิธีดีเทกลูปและแก้ลูปสำหรับโครงข่ายอินเทอร์เน็ตที่ใช้โพรโทคอล RIP".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สมหมาย สกุลกิจ, 2520- . "กรรมวิธีดีเทกลูปและแก้ลูปสำหรับโครงข่ายอินเทอร์เน็ตที่ใช้โพรโทคอล RIP."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544. Print. สมหมาย สกุลกิจ, 2520- . กรรมวิธีดีเทกลูปและแก้ลูปสำหรับโครงข่ายอินเทอร์เน็ตที่ใช้โพรโทคอล RIP. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544.
|