ชื่อเรื่อง | : | ผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวทฤษฎีของโรเจอร์สต่อคุณภาพชีวิตสมรส ของสตรีที่มีปัญหาครอบครัว |
นักวิจัย | : | ใบศรี แสบงบาล |
คำค้น | : | - |
หน่วยงาน | : | ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2544 |
อ้างอิง | : | http://www.thaithesis.org/detail.php?id=33527 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้คำ ปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวทฤษฎีของโรเจอร์ส ที่มีต่อคุณภาพชีวิตสมรสในสตรีที่มีปัญหาครอบครัว โดยการเปรียบเทียบคะแนนแบบวัดคุณภาพชีวิตสมรส ก่อนการทดลอง และหลังการทดลอง ของ สตรีที่ได้รับการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวทฤษฎีของโรเจอร์ส และเพื่อศึกษาผลของ โปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวทฤษฎีของโรเจอร์สที่มีต่อคุณภาพชีวิตสมรสในสตรีที่มี ปัญหาครอบครัว โดยการเปรียบเทียบคะแนนแบบวัดคุณภาพชีวิตสมรส หลังการทดลองของสตรี ที่ได้รับการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวทฤษฎีของโรเจอร์สกับสตรีที่ไม่ได้รับการให้คำ ปรึกษาแบบกลุ่ม กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีที่มีปัญหาการสมรส บ้านหนองบัวเงิน ตำบลพังทุย อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 16 คน มีคะแนนดัชนีสัมพันธภาพกับคู่สมรสต่ำและ สมัครใจเข้าร่วมการวิจัย สุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลองจำนวน 8 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 8 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม จำนวน 8 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมงถึง 1 ชั่วโมง 30 นาที ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับข้อสนเทศ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แบบวัดดัชนีคุณภาพชีวิตสมรส (2) โปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มซึ่งผู้วิจัย สร้างขึ้น ภายหลังการทดลองเสร็จสิ้นให้สตรีที่มีปัญหาการสมรสตอบแบบวัดดัชนีคุณภาพชีวิต สมรส แล้วนำคะแนนไปวิเคราะห์โดยใช้วิธีการทางสถิติและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ The Mann-Whitney U Test และ The Wilcoxon Match Paired Signed-Rank Test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) สตรีที่ได้รับการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม มีคุณภาพชีวิตสมรส สูงกว่าก่อนให้คำปรึกษา แบบกลุ่มตามแนวทฤษฎีของโรเจอร์สในด้านสัมพันธภาพกับคู่สมรสด้านการสื่อสารกับคู่สมรสและ ด้านความผูกพันใกล้ชิดกับคู่สมรส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านทัศนคติต่อ คู่สมรสไม่มีความแตกต่างกัน (2) สตรีที่ได้รับการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม มีคุณภาพชีวิตสมรส สูงกว่าสตรีที่ไม่ได้รับ คำปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวทฤษฎีของโรเจอร์ส ด้านสัมพันธภาพกับคู่สมรส ด้านการสื่อสาร กับคู่สมรส ด้านทัศนคติต่อคู่สมรส และด้วยความผูกพันใกล้ชิดกับคู่สมรส อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 |
บรรณานุกรม | : |
ใบศรี แสบงบาล . (2544). ผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวทฤษฎีของโรเจอร์สต่อคุณภาพชีวิตสมรส ของสตรีที่มีปัญหาครอบครัว.
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. ใบศรี แสบงบาล . 2544. "ผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวทฤษฎีของโรเจอร์สต่อคุณภาพชีวิตสมรส ของสตรีที่มีปัญหาครอบครัว".
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. ใบศรี แสบงบาล . "ผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวทฤษฎีของโรเจอร์สต่อคุณภาพชีวิตสมรส ของสตรีที่มีปัญหาครอบครัว."
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย, 2544. Print. ใบศรี แสบงบาล . ผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวทฤษฎีของโรเจอร์สต่อคุณภาพชีวิตสมรส ของสตรีที่มีปัญหาครอบครัว. กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย; 2544.
|