ชื่อเรื่อง | : | แบบจำลองคณิตศาสตร์ของชายฝั่งสมดุลระหว่างเขื่อนกันคลื่นแยก |
นักวิจัย | : | อนุรักษ์ ศรีอริยวัฒน์, 2521- |
คำค้น | : | แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ , การตกตะกอนชายฝั่ง , ชายฝั่ง , เขื่อนกันคลื่น |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ชัยพันธุ์ รักวิจัย , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2544 |
อ้างอิง | : | 9740316468 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1210 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 ในงานป้องกันชายฝั่งทะเลมักใช้โครงสร้างเขื่อนกันคลื่นแยก (detached breakwater) ในการป้องกันการกัดเซาะ สำหรับการศึกษาวิทยานิพนธ์นี้ มุ่งศึกษารูปร่างชายฝั่งสมดุลระหว่างเขื่อนกันคลื่นแยก โดยพัฒนาแบบจำลองการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งระหว่างเขื่อนกันคลื่นแยก (shoreline change between detached breakwater model, SCB) และการประยุกต์ใช้แบบจำลอง GENESIS ซึ่งพัฒนาโดย Coastal Engineering Research Center (CERC), US Army Corps of Engineers แล้วเปรียบเทียบกับผลการศึกษา เกณฑ์การออกแบบเขื่อนกันคลื่นแยกในงานป้องกันชายฝั่ง เสนอโดย อาทิตยา เกศมาริษ (2540) การพัฒนาแบบจำลอง SCB นี้ได้พัฒนาขึ้น 5 แบบ ซึ่งในแบบแรกใช้วิธีคำนวณแบบ 1 มิติ ส่วนในแบบที่เหลือเป็นการคำนวณแบบ 2 มิติ โดยมีส่วนประกอบย่อยทั้งสิ้น 4 ส่วน ได้แก่ แบบจำลองคลื่น (wave model), แบบจำลองกระแสน้ำ (current model), แบบจำลองอัตราการเคลื่อนตัวของตะกอน (sediment transport model) และแบบจำลองการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง (shoreline change model) ผลการพัฒนาแบบจำลอง SCB นี้พบว่าค่าสัมประสิทธิ์การกระจายคลื่น (Kd) ที่ได้จากตารางของ Weigel (1962) มีความคลาดเคลื่อน ส่งผลให้เกิดความผันแปรความสูงคลื่นในบริเวณรอยต่อของบริเวณอันคลื่นมาก จึงเปลี่ยนมาทดลองใช้แบบจำลอง GENESIS การประยุกต์ใช้แบบจำลอง GENESIS กับเขื่อนกันคลื่นแยกใน 3 กรณี คือ กรณีแบบจำลอง, กรณีต้นแบบ และกรณีตัวอย่างศึกษา ซึ่งใช้ค่าสัมประสิทธิ์การเคลื่อนตัวของตะกอน K1 = 0.2 และ K2 = 0.13 ผลการคำนวณจากแบบจำลอง GENESIS ในทุกกรณี พบว่าให้รูปร่างชายฝั่งที่คล้ายคลึงกับผลจากแบบจำลองชลศาสตร์สำหรับกรณีแบบจำลองนั้นให้ผลของระยะเว้าที่ใกล้เคียงกับแบบจำลองชลศาสตร์ แต่ในกรณีต้นแบบและกรณีตัวอย่างศึกษา ให้ผลระยะเว้าที่แตกต่างจากแบบจำลองชลศาสตร์มาก เนื่องจากในกรณีของแบบจำลองชลศาสตร์ของอาทิตยานี้ประยุกต์ใช้เขื่อนกันคลื่นเป็นหัวหาดที่ทำให้เกิด Tombolo มาติด ซึ่งไม่สามารถประยุกต์ได้โดยแบบจำลอง GENESIS |
บรรณานุกรม | : |
อนุรักษ์ ศรีอริยวัฒน์, 2521- . (2544). แบบจำลองคณิตศาสตร์ของชายฝั่งสมดุลระหว่างเขื่อนกันคลื่นแยก.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อนุรักษ์ ศรีอริยวัฒน์, 2521- . 2544. "แบบจำลองคณิตศาสตร์ของชายฝั่งสมดุลระหว่างเขื่อนกันคลื่นแยก".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อนุรักษ์ ศรีอริยวัฒน์, 2521- . "แบบจำลองคณิตศาสตร์ของชายฝั่งสมดุลระหว่างเขื่อนกันคลื่นแยก."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544. Print. อนุรักษ์ ศรีอริยวัฒน์, 2521- . แบบจำลองคณิตศาสตร์ของชายฝั่งสมดุลระหว่างเขื่อนกันคลื่นแยก. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544.
|