ชื่อเรื่อง | : | พฤติกรรมของหัวเจาะระบบแรงดันดินสมดุล ในการก่อสร้างอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินในดินกรุงเทพฯ |
นักวิจัย | : | กีรติ เมืองแสน, 2519- |
คำค้น | : | อุโมงค์ , อุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน , ปฐพีกลศาสตร์ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | วันชัย เทพรักษ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2544 |
อ้างอิง | : | 9740316697 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1155 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 ศึกษาพฤติกรรมของหัวเจาะระบบแรงดันดินสมดุล (Earth Pressure Balance, EPB, Shield) ขณะขุดเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน โครงการรถไฟฟ้ามหานครในชั้นดินกรุงเทพฯ เพื่อพิจารณาปัจจัยควบคุมการขุดเจาะที่มีผลต่อการทรุดตัวของผิวดิน การขุดเจาะอุโมงค์ด้วย EPB Shield เป็นวิธีที่ใช้เทคนิคค่อนข้างซับซ้อน ซึ่งมีระบบตรวจสอบและควบคุมอัตโนมัติในการทำงาน เช่น ควบคุมแรงดันในห้องพักดิน (Face Pressure) คำนวณปริมาณดินในการขุดเจาะ ควบคุมการอุดช่องว่างระหว่างผิวของการขุดเจาะกับผิวด้านนอกอุโมงค์ (Backfill Grouting) นอกจากนี้ยังควบคุมทิศทางการขุดเจาะอีกด้วย การควบคุมการขุดเจาะจะกำหนดอัตราส่วนดินขุด โดยการกำหนดความเร็วรอบของ Screw conveyor เพื่อควบคุมปริมาณดินออกจากห้องพักดิน การกำหนด Face Pressure ต้องให้สอดคล้องกับอัตราส่วนดินขุด พฤติกรรมการเคลื่อนตัวของหัวเจาะจะมีลักษณะการเลื้อยคล้ายงู ซึ่งเป็นผลมาจากการทำงานของแม่แรงในการควบคุมทิศทางการขุดเจาะการวางตัวของหัวเจาะโดยปกติจะทำมุมเงยเมื่อเทียบกับแนวการขุดเจาะ เพื่อป้องกันการจมเนื่องจากน้ำหนักของหัวเจาะ ซึ่งจะเป็นผลให้เกิด Over-Excavation การควบคุมการทรุดตัวของผิวดิน ทำได้โดยการรักษาความมั่นคงของดินบริเวณหน้าหัวเจาะ ด้วยการควบคุม Face Pressure ให้มีความเหมาะสมกับสภาพของชั้นดิน และสอดคล้องกับหน่วยแรงดันดินรวมด้านข้างสถิตย์ นอกจากนี้จะต้องควบคุมประสิทธิภาพการทำ Backfill Grouting ด้วยการกำหนดแรงดันที่ใช้ให้สอดคล้องกับ สภาพของชั้นดินและหน่วยแรงดันดินรวมในแนวดิ่ง และจะต้องควบคุมอัตราส่วนการอุดช่องว่างให้มีค่ามากกว่า 100% เพื่อควบคุมปริมาณการทรุดตัวให้อยู่ในพิกัดที่เหมาะสม (GL< 2.5%) ค่า Face Pressure ในกรณีการขุดเจาะอุโมงค์ใต้ดินในชั้นดินเหนียวแข็งกรุงเทพฯ ควรมีค่าอยู่ระหว่าง 60-130 kN/square m. หรือ 45-100% ของหน่วยแรงดันดินรวมด้านข้างสถิตย์ และควบคุมอัตราส่วนดินขุดมีค่าอยู่ระหว่าง 100-115% การทำ Backfill Grouting ควรกำหนดแรงดันมีค่าอยู่ระหว่าง 2-3 bar หรือ 70-100% ของหน่วยแรงดันดินรวมแนวดิ่ง และควบคุมอัตราส่วนการอุดช่องว่างอยู่ในช่วง 110-150% |
บรรณานุกรม | : |
กีรติ เมืองแสน, 2519- . (2544). พฤติกรรมของหัวเจาะระบบแรงดันดินสมดุล ในการก่อสร้างอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินในดินกรุงเทพฯ.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กีรติ เมืองแสน, 2519- . 2544. "พฤติกรรมของหัวเจาะระบบแรงดันดินสมดุล ในการก่อสร้างอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินในดินกรุงเทพฯ".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กีรติ เมืองแสน, 2519- . "พฤติกรรมของหัวเจาะระบบแรงดันดินสมดุล ในการก่อสร้างอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินในดินกรุงเทพฯ."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544. Print. กีรติ เมืองแสน, 2519- . พฤติกรรมของหัวเจาะระบบแรงดันดินสมดุล ในการก่อสร้างอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินในดินกรุงเทพฯ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544.
|