ชื่อเรื่อง | : | กระบวนทัศน์ใหม่ของการสื่อสารเพื่อสร้างเสริมสุขภาพของประชาสังคม |
นักวิจัย | : | รังสิมา นิโลบล, 2521- |
คำค้น | : | การสื่อสาร , การส่งเสริมสุขภาพ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9745310204 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1135 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 งานวิจัยเรื่อง "กระบวนทัศน์ใหม่ของการสื่อสารเพื่อสร้างเสริมสุขภาพของประชาสังคม" เป็นงานวิจัยที่เน้นระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสารเป็นหลัก (Documentary Research) ซึ่งข้อมูลหลักในการวิเคราะห์ได้จากงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ตั้งแต่ปี พ.ศ 2539-2546 ที่อยู่ในขอบเขตงานวิจัยครั้งนี้มีทั้งสิ้น 28 เรื่อง และข้อมูลระดับรองได้จากบทคัดย่อวิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524-2545 ที่อยู่ในขอบเขตงานวิจัยครั้งนี้มีทั้งสิ้น 28 เรื่อง นำมาวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ในการวิจัย 4 ประการคือ (1) เพื่อศึกษาภาพรวมของกระบวนการทัศน์ใหม่ของการสื่อสารเพื่อสุขภาพ (2) เพื่อศึกษาพัฒนาการของการใช้แนวทางประชาสังคมในการสร้างเสริมสุขภาพ (3) เพื่อค้นหาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการสื่อสารเพื่อสร้างเสริมสุขภาพของประชาสังคม (4) เพื่อแสวงหาแนวทางในการสื่อสารของประชาสังคมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้ การสื่อสารของประชาสังคมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพในกระบวนทัศน์ใหม่ในงานวิจัยส่วนใหญ่มีเป้าหมายเพื่อการเรียนรู้ความเป็นชุมชนและศักยภาพของชุมชนร่วมกัน โดยเน้นเรื่องสุขภาพของชุมชนโดยรวม ซึ่งกลุ่มเป้าหมายอยู่ในระดับครอบครัว กลุ่ม ชุมชนประชาสังคม มากกว่าระดับปัจเจกบุคคลหรือเฉพาะกลุ่มเสื่ยง กระบวนการสื่อสารที่เกิดขึ้นเน้นการคำนึงถึงบริบททางสังคม วัฒนธรรม วิถีชีวิตของชุมชนประชาสังคม โดยนำแนวคิดเรื่องกลุ่ม ชุมชน ประชาสังคมมาประยุกต์ใช้ และเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในกระบวนการสื่อสารเพื่อ "สร้างเสริมสุขภาพ" มากขึ้น นอกเหนือจากการมุ่ง "แก้ไขปัญหาสุขภาพ" ที่เกิดขึ้นในชุมชน พัฒนาการของประชาสังคมไทยโดยรวมมีจุดเริ่มต้นที่การดูแลกันเองในครอบครัวหรือชุมชนเดียวกัน ต่อมาหลังจากเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคม ทำให้การรวมกลุ่มประชาสังคมที่มีความหลากหลายมากขึ้น กลุ่มประชาสังคมส่วนมากมีขนาดไม่ใหญ่มากนักแต่รวมกลุ่มกันเองด้วยความสมัครใจ โดยมีความยืดหยุ่นและคล่องตัวในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาอันหลากหลายในชุมชนประชาสังคม นอกจากนี้ยังมุ่งสร้างและขยายเครือข่ายความสัมพันธ์ โดยเน้นการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อพึ่งพาตนเองช่วยเหลือกันเองในกลุ่มประชาสังคม และประสานพลังเพื่อเพิ่มอำนาจในการสื่อสาร เจรจาต่อรอง ขอความร่วมมือจากกลุ่ม องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน หรือภาคประชาชนที่เกี่ยวข้อง ที่อยู่ภายนอกประชาสังคม ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการสื่อสารของประชาสังคมที่พบมาในงานวัจัย ได้แก่ ความสามารถในการเป็นผู้สื่อสารแก่สมาชิกในชุมชน องค์ประกอบในกระบวนการสื่อสารที่มีความสอดคล้องกับบริบททางสังคม วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชุมชนประชาสังคม การเปิดโอกาสให้ชุมชนประชาสังคมมีส่วนร่วมในกระบวนการสื่อสาร สัมพันธภาพระหว่างกีนในชุมชนประชาสังคมและเครือข่าย ความสัมพันธ์กับภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาสังคาอื่น ๆ ภายนอกชุมชน แนวทางในการสื่อสารของประชาสังคมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพเน้นการใช้สื่อต่าง ๆ ในชุมชนที่ได้รับการยอมรับและเชื่อถือจากคนในชุมชน ได้แก่ สื่อบุคคลที่เกิดขึ้นภายในชุมชนนอกเหนือจากผู้นำที่ได้รับแต่งตั้งหรือมอบหมายจากทางการ เช่น พระสงฆ์ ปราชญ์ ชาวบ้าน หมดชาวบ้าน ฯลฯ สื่อพื้นบ้านอันเป็นวัฒนธรรมเฉพาะของแต่ละชุมชน และสื่อกิจกรรมต่าง ๆที่เอื้อต่อการสือสารสองทางแบบมีส่วนร่วม เช่น การประชุมกลุ่มย่อย เสวนา ประชาพิจัย กิจกรรมพบปะสร้างความสัมพันธ์ เป็นต้น สื่อต่าง ๆ เหล่านี้ได้ถูกนำมาใช้อย่างผสมผสานเพื่อสร้างความสนใจ ความตระหนักในเรื่องสุขภาพ อันมาซึ่งการปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมในการสร้างเสริมสุขภาพต่อไป |
บรรณานุกรม | : |
รังสิมา นิโลบล, 2521- . (2547). กระบวนทัศน์ใหม่ของการสื่อสารเพื่อสร้างเสริมสุขภาพของประชาสังคม.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รังสิมา นิโลบล, 2521- . 2547. "กระบวนทัศน์ใหม่ของการสื่อสารเพื่อสร้างเสริมสุขภาพของประชาสังคม".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รังสิมา นิโลบล, 2521- . "กระบวนทัศน์ใหม่ของการสื่อสารเพื่อสร้างเสริมสุขภาพของประชาสังคม."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. รังสิมา นิโลบล, 2521- . กระบวนทัศน์ใหม่ของการสื่อสารเพื่อสร้างเสริมสุขภาพของประชาสังคม. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|