ชื่อเรื่อง | : | การสื่อสารของมูลนิธิผู้หญิงในการป้องกันและแก้ไขปัญหาของสตรี พ.ศ. 2527-พ.ศ. 2547 |
นักวิจัย | : | นิรมล บางพระ, 2524- |
คำค้น | : | มูลนิธิผู้หญิง , การสื่อสาร , ความเสมอภาค , ความรุนแรงต่อสตรี |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | อวยพร พานิช , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9745313688 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1132 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 การวิจัยเรื่องการสื่อสารของมูลนิธิผู้หญิงในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสตรี พ.ศ. 2527-พ.ศ. 2547 เป็นการวิจัยที่ใช้วิจัยแบบสหวิธีการ (Multiple Methodology) ด้วยการศึกษาจากเอกสาร (Documentary Research) การใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) ในส่วนของการศึกษาจากเอกสาร ผู้วิจัยได้รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารของมูลนิธิผู้หญิงต่อสตรีที่ได้รับความรุนแรงในครอบครัว อันได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์, สื่ออิเล็กทรอนิกส์, สื่อวิดีทัศน์, ข่าวที่นำเสนอโดยสื่อมวลชนเรื่องความเคลื่อนไหวของมูลนิธิผู้หญิงและแฟ้มประวัติการเข้ารับบริการของสตรีที่ได้รับความรุนแรงในครอบครัว ในส่วนการศึกษาของแบบสอบถามได้สอบถามสมาชิกจดหมายข่าวศูนย์ข่าวผู้หญิงจำนวน 100 คน และในส่วนการศึกษาของการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก คือ การสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่มูลนิธิผู้หญิง 5 คน และการสัมภาษณ์สตรีที่ได้รับความรุนแรงในครอบครัวที่เข้าใช้บริการที่มูลนิธิผู้หญิง 10 คน ผลการวิจัยพบว่าการใช้สื่อในการป้องกันและแก้ไขปัญหาของสตรีมีการจัดทำขึ้นและมีความหลากหลายของสื่อในการใช้งานในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย แต่สื่อที่ดีที่สุดในการสื่อสารระหว่างมูลนิธิผู้หญิงกับสตรีที่เข้ารับบริการคือ สื่อบุคคล เพราะสื่อบุคคลนั้นเป็นผู้ที่จะเข้าถึงผู้ที่ประสบปัญหาได้เนื่องจากผู้ประสบปัญหามีความเชื่อใจและสามารถปรึกษาแก้ไขปัญหาร่วมกันได้ สื่อบุคคลที่สำคัญอีกสื่อคือ อาสาสมัครของมูลนิธิที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างมูลนิธิกับประชาชนในพื้นที่ ในการให้ความรู้และข้อมูลที่ถูกต้องในสิ่งที่มูลนิธิต้องการสื่อสารให้กับกลุ่มเป้าหมายได้เข้าใจและบรรลุวัตถุประสงค์ที่มูลนิธิตั้งไวั จากการดำเนินการกว่า 20 ปี ที่ผ่านมาของมูลนิธิผู้หญิงพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของการสื่อสารกับสตรีที่ประสบปัญหาครอบครัวที่ให้ทั้งความรู้ควบคู่กับการรณรงค์เพื่อเรียกร้องสิทธิให้กับสตรีประกอบกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ยอมรับในเรื่องของปัญหาความรุนแรงในครอบครัวว่าไม่ใช่ปัญหาส่วนตัวอีกต่อไปสังคมต้องมีส่วนในการร่วมดูแลจึงทำให้เนื้อหาของสารและสื่อที่นำเสนอจึงมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยด้วย |
บรรณานุกรม | : |
นิรมล บางพระ, 2524- . (2547). การสื่อสารของมูลนิธิผู้หญิงในการป้องกันและแก้ไขปัญหาของสตรี พ.ศ. 2527-พ.ศ. 2547.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นิรมล บางพระ, 2524- . 2547. "การสื่อสารของมูลนิธิผู้หญิงในการป้องกันและแก้ไขปัญหาของสตรี พ.ศ. 2527-พ.ศ. 2547".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นิรมล บางพระ, 2524- . "การสื่อสารของมูลนิธิผู้หญิงในการป้องกันและแก้ไขปัญหาของสตรี พ.ศ. 2527-พ.ศ. 2547."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. นิรมล บางพระ, 2524- . การสื่อสารของมูลนิธิผู้หญิงในการป้องกันและแก้ไขปัญหาของสตรี พ.ศ. 2527-พ.ศ. 2547. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|