ชื่อเรื่อง | : | กลยุทธ์การสื่อสารของกองทัพบกเพื่อสร้างจิตสำนึกสาธารณะ เรื่อง สิทธิมนุษยชนด้านสิ่งแวดล้อม |
นักวิจัย | : | ลัลธริมา เกื้อสกุล, 2514- |
คำค้น | : | การสื่อสารระหว่างบุคคล , การสร้างจิตสำนึก , จิตสำนึก , การเปิดรับข่าวสาร , สิ่งแวดล้อม , การโน้มน้าวใจ , กองทัพบก |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | พนา ทองมีอาคม , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9745320056 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1131 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากลยุทธการสื่อสารของกองทัพบกเพื่อสร้างจิตสำนึกสาธารณะเรื่องสิทธิมนุษยชนด้านสิ่งแวดล้อม 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะ เรื่องสิทธิมนุษยชนด้านสิ่งแวดล้อม 3) ศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นเพื่อสร้างจิตสำนึกสาธารณะเรื่องสิทธิมนุษยชนด้านสิ่งแวดล้อม 4) ศึกษาความตระหนักอันนำไปสู่พฤติกรรมเรื่องสิทธิมนุษยชนด้านสิ่งแวดล้อม 5) ความสัมพันธ์ของการเปิดรับข่าวสารประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนด้านสิ่งแวดล้อมจากสื่อต่างๆ ของกองทัพบกกับความคิดเห็นที่มีต่อกลยุทธ์การสื่อสารที่กองทัพบกใช้เพื่อสร้างจิตสำนึกสาธารณะเรื่องสิทธิมนุษยชนด้านสิ่งแวดล้อม 6) ศึกษาความสัมพันธ์ของการเปิดรับข่าวสารประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนด้านสิ่งแวดล้อมจากสื่อต่างๆ ของกองทัพบกกับความตระหนักเรื่องสิทธิมนุษยชนด้านสิ่งแวดล้อม 7) ศึกษาความสัมพันธ์ของความคิดเห็นที่มีต่อกลยุทธ์การสื่อสารที่กองทัพบกใช้เพื่อสร้างจิตสำนึกสาธารณะเรื่องสิทธิมนุษยชนด้านสิ่งแวดล้อมกับความตระหนักเรื่องสิทธิมนุษยชนด้านสิ่งแวดล้อมกับความตระหนักเรื่องสิทธิมนุษยชนด้านสิ่งแวดล้อม วิธีการวิจัย ใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และแบบสอบถาม ขอบเขตการวิจัย คือ ศึกษาเฉพาะพลทหารกองประจำการที่สังกัดหน่วยในกรุงเทพมหานครเท่านั้น ผลการวิจัย พบว่า กลยุทธ์การสื่อสารที่กองทัพบกใช้เพื่อสร้างจิตสำนึกสาธารณะเรื่องสิทธิมนุษยชนด้านสิ่งแวดล้อมสามารถนำมาใช้ได้จริง และกลยุทธ์หลัก คือ การให้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง และการใช้การฝึกอบรมชี้แจง โดยมีการใช้กลยุทธ์ในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ การพูดแบบทหาร การใช้เหตุผล การให้รางวัล การสั่งสอน ส่วนแนวทางในการพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะเรื่องสิทธิมนุษยชนด้านสิ่งแวดล้อม ควรเน้นในเรื่องของการให้ความรู้เพิ่มมากขึ้นเป็นหลัก และควรมีการประเมินผลให้มากขึ้นกว่าเดิม การมีส่วนร่วมของผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นนั้น ส่วนใหญ่มาจากการรับนโยบายจากกองทัพบกมาปฏิบัติ และประเด็นสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่โลกกำลังให้ความสนใจอยู่ การเปิดรับข่าวสารประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนด้านสิ่งแวดล้อมจากสื่อต่างๆ ของกองทัพบก มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความตระหนักเรื่องสิทธิมนุษยชนด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 จึงทำให้พลทหารกองประจำการมีความตระหนักเรื่องสิทธิมนุษยชนด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับสูง การเปิดรับข่าวสารประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนด้านสิ่งแวดล้อมจากสื่อต่างๆ มีความสัมพันธ์เชิงบวกับความคิดเห็นที่มีกลยุทธ์การสื่อสารที่กองทัพบกใช้เพื่อสร้างจิตสำนึกสาธารณะเรื่องสิทธิมนุษยชนด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 และความคิดเห็นที่มีต่อกลยุทธ์การสื่อสารที่กองทัพบกใช้เพื่อสร้างจิตสำนึกสาธารณะเรื่องสิทธิมนุษยชนด้านสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความตระหนักเรื่องสิทธิมนุษยชนด้านสิ่งแวดล้อมด้วย อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ 0.01 |
บรรณานุกรม | : |
ลัลธริมา เกื้อสกุล, 2514- . (2547). กลยุทธ์การสื่อสารของกองทัพบกเพื่อสร้างจิตสำนึกสาธารณะ เรื่อง สิทธิมนุษยชนด้านสิ่งแวดล้อม.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ลัลธริมา เกื้อสกุล, 2514- . 2547. "กลยุทธ์การสื่อสารของกองทัพบกเพื่อสร้างจิตสำนึกสาธารณะ เรื่อง สิทธิมนุษยชนด้านสิ่งแวดล้อม".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ลัลธริมา เกื้อสกุล, 2514- . "กลยุทธ์การสื่อสารของกองทัพบกเพื่อสร้างจิตสำนึกสาธารณะ เรื่อง สิทธิมนุษยชนด้านสิ่งแวดล้อม."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. ลัลธริมา เกื้อสกุล, 2514- . กลยุทธ์การสื่อสารของกองทัพบกเพื่อสร้างจิตสำนึกสาธารณะ เรื่อง สิทธิมนุษยชนด้านสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|