ชื่อเรื่อง | : | การวิเคราะห์การสร้างสรรค์ภาพยนตร์โฆษณาของธุรกิจบริการ |
นักวิจัย | : | เฉลิมพล จันทร์ขจร |
คำค้น | : | ภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์ , ความคิดสร้างสรรค์ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | รัตยา โตควณิชย์ , วรวัฒน์ จินตกานนท์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9741763476 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1126 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2547 การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ภาพยนตร์โฆษณาของธุรกิจบริการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบ 1) การใช้กลยุทธ์การสร้างสรรค์ 2) วิธีการนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ และ 3) จุดจูงใจ โดยศึกษาภาพยนตร์โฆษณาของธุรกิจบริการ 4 ประเภท ได้แก่ ธุรกิจบริการประเภทที่ 1 บริการเกี่ยวกับสิ่งที่จับต้องได้ มุ่งไปยังร่างกายคน ธุรกิจบริการประเภทที่ 2 บริการเกี่ยวกับสิ่งที่จับต้องได้ มุ่งไปยังสิ่งของ ธุรกิจบริการประเภทที่ 3 บริการเกี่ยวกับสิ่งที่จับต้องไม่ได้ มุ่งไปยังจิตใจคน และธุรกิจบริการประเภทที่ 4 บริการเกี่ยวกับสิ่งที่จับต้องไม่ได้ มุ่งไปยังทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ ที่ออกอากาศในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2545 -ตุลาคม 2546 จำนวน 384 ชิ้น ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) ธุรกิจบริการประเภทที่ 1 นิยมใช้กลยุทธ์ส่งเสริมการขาย ธุรกิจบริการประเภทที่ 2 นิยมใช้กลยุทธ์การส่งเสริมการขาย ธุรกิจบริการประเภทที่ 3 นิยมใช้กลยุทธ์การส่งเสริมการขาย กลยุทธ์แบบทั่วไปและกลยุทธ์การเร้าอารมณ์ ขณะที่ธุรกิจบริการประเภทที่ 4 นิยมใช้กลยุทธ์การเร้าอารมณ์มากที่สุด 2) วิธีการนำเสนอความคิดสร้างสรรค์งานโฆษณา พบว่าธุรกิจบริการประเภทที่ 1 นิยมการนำเสนอที่ตัวสินค้า ธุรกิจบริการประเภทที่ 2 นิยมวิธีการนำเสนอแบบเสี้ยวหนึ่งของชีวิต และการนำเสนอที่ตัวสินค้า ธุรกิจบริการประเภทที่ 3 นิยมใช้การนำเสนอที่ตัวสินค้า และการนำเสนอเชิงสารคดี ธุรกิจบริการประเภทที่ 4 นิยมใช้การนำเสนอรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้ใช้สินค้า และเสี้ยวหนึ่งของชีวิต 3) จุดจูงใจในงานโฆษณาพบว่าธุรกิจบริการประเภทที่ 1 นิยมใช้จุดจูงใจด้านคุณลักษณะ และจุดจูงใจด้านประสาทสัมผัส ธุรกิจบริการประเภทที่ 2 นิยมใช้จุดจูงใจด้านราคาหรือความคุ้มค่า ธุรกิจบริการประเภทที่ 3 นิยมใช้จุดจูงใจด้านราคาหรือความคุ้มค่า และจุดจูงใจด้านประสาทสัมผัสในจำนวนที่เท่ากัน ธุรกิจบริการประเภทที่ 4 นิยมใช้จุดจูงใจด้านความรัก |
บรรณานุกรม | : |
เฉลิมพล จันทร์ขจร . (2547). การวิเคราะห์การสร้างสรรค์ภาพยนตร์โฆษณาของธุรกิจบริการ.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เฉลิมพล จันทร์ขจร . 2547. "การวิเคราะห์การสร้างสรรค์ภาพยนตร์โฆษณาของธุรกิจบริการ".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เฉลิมพล จันทร์ขจร . "การวิเคราะห์การสร้างสรรค์ภาพยนตร์โฆษณาของธุรกิจบริการ."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. เฉลิมพล จันทร์ขจร . การวิเคราะห์การสร้างสรรค์ภาพยนตร์โฆษณาของธุรกิจบริการ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|