ชื่อเรื่อง | : | การรณรงค์เพื่อลดการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในชุมชนศาลายา |
นักวิจัย | : | ณัฏฐณิชย์ ศรีมาเสริม, 2518- |
คำค้น | : | ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร , สัญญวิทยา , การคุ้มครองผู้บริโภค , การสื่อสารทางโภชนาการ , การโน้มน้าวใจ (วาทวิทยา) , การสื่อสารในการพัฒนาชุมชน , พฤติกรรมผู้บริโภค |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ , ปาริชาต สถาปิตานนท์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9741771576 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1082 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรณรงค์เพื่อลดการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในชุมชนศาลายา และปัจจัยการสื่อสารที่มีผลต่อพฤติกรรมการลดการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยการศึกษาจากเอกสารและสัมภาษณ์เจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ผลการวิจัยพบว่า 1.1 แนวคิดหลักการรณรงค์เพื่อลดการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในชุมชนศาลายา ได้แก่ การสร้างความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนเขตชานเมืองในงานคุ้มครองผู้บริโภคโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและพฤติกรรมการลดการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในชุมชนศาลายา 1.2 การรณรงค์เพื่อลดการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในชุมชนศาลายา ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นตอนการวิจัย 2) ขั้นตอนการวางแผน-กระทำ 3) ขั้นตอนการสื่อสาร 4) ขั้นตอนการประเมินผล 2. ปัจจัยการสื่อสารที่มีผลต่อพฤติกรรมการลดการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร มี 5 ด้าน คือ 1) ปัจจัยด้านผู้ส่งสาร ได้แก่ มหาวิทยา/สถาบันมีความชำนาญและน่าเชื่อถือ ผู้นำชุมชนและองค์กรท้องถิ่นมีความร่วมมือกัน สถาบันเลือกประเด็นปัญหาที่สอดคล้องกับความสนใจของชุมชน สถาบันเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อลดช่องว่างระหว่างชุมชนกับสถาบัน 2) ปัจจัยด้านสาร ได้แก่ ลักษณะเนื้อหาเป็นข้อเท็จจริง ลักษณะเนื้อหาเข้าใจง่าย โครงการนำเสนอสารผ่านสัญลักษณ์ โครงการใช้สโลแกนเป็นเสมือนการเตือนสติให้ฉุกคิด 3) ปัจจัยด้านช่องทางการสื่อสาร ได้แก่ การสื่อสารแบบสองทาง การใช้ช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย 4) ปัจจัยด้านผู้รับสาร ได้แก่ ผู้รับสารมีความสนิทสนมเป็นการส่วนตัวและมีความคล้ายคลึงกัน ประชาชนในชุมชนมีศักยภาพ ประชาชนมีความเอาใจใส่ต่อสุขภาพ ชุมชนมีส่วนร่วมกัน 5) ปัจจัยด้านบริบทสังคม ได้แก่ สังคมปัจจุบันมีกระแสตื่นตัวด้านผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐ |
บรรณานุกรม | : |
ณัฏฐณิชย์ ศรีมาเสริม, 2518- . (2547). การรณรงค์เพื่อลดการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในชุมชนศาลายา.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ณัฏฐณิชย์ ศรีมาเสริม, 2518- . 2547. "การรณรงค์เพื่อลดการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในชุมชนศาลายา".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ณัฏฐณิชย์ ศรีมาเสริม, 2518- . "การรณรงค์เพื่อลดการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในชุมชนศาลายา."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. ณัฏฐณิชย์ ศรีมาเสริม, 2518- . การรณรงค์เพื่อลดการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในชุมชนศาลายา. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|