ชื่อเรื่อง | : | ความรู้ และความคิดเห็นของนักหนังสือพิมพ์ต่อการกำกับดูแลตนเองในวิชาชีพภายใต้สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ |
นักวิจัย | : | นฤมล วีระวงศ์ชัย, 2522- |
คำค้น | : | สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ , สื่อมวลชน , จริยธรรม , จรรยาบรรณ , นักหนังสือพิมพ์ , จรรยาบรรณนักหนังสือพิมพ์ , หนังสือพิมพ์ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | พิรงรอง รามสูต รณะนันทน์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1079 , 9745315486 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ และความคิดเห็นของนักหนังสือพิมพ์ต่อการกำกับดูแลตนเองในวิชาชีพภายใต้สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ซึ่งเก็บข้อมูลด้วยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า ระดับความรู้ของนักหนังสือพิมพ์ต่อการกำกับดูแลตนเองในวิชาชีพภายใต้สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติมีความสัมพันธ์กับตัวแปรต่างๆ อาทิลักษณะสังคมประชากรได้แก่ อายุการทำงานข่าว ระดับการศึกษา ประเภทหนังสือพิมพ์ที่สังกัด พื้นที่การทำงานข่าว และปัจจัยทางวิชาชีพได้แก่ การเป็นสมาชิกองค์กรวิชาชีพ จริยธรรมในวิชาชีพนโยบายการนำเสนอข่าวขององค์กร และอิทธิพลจากผู้ลงโฆษณา ส่วนระดับความคิดเห็นของนักหนังสือพิมพ์ต่อการกำกับดูแลตนเองในวิชาชีพภายใต้สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ พบว่ามีความสัมพันธ์กับตัวแปรต่างๆ เช่นลักษณะสังคมประชากรได้แก่ อายุการทำงานข่าว ระดับการศึกษา ประเภทหนังสือพิมพ์ที่สังกัด พื้นที่การทำงานข่าว และปัจจัยทางวิชาชีพได้แก่การเรียนจบสาขานิเทศศาสตร์หรือวารสารศาสตร์ การเป็นสมาชิกองค์กรวิชาชีพ และอิทธิพลจากผู้ลงโฆษณา ในด้านความรู้ของนักหนังสือพิมพ์ต่อการกำกับดูแลตนเองในวิชาชีพภายใต้สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ นักหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่มีความรู้ในเรื่องที่มาและเจตนารมณ์ในการจัดตั้งสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติในระดับสูงมากที่สุดขณะที่มีความรู้ในเรื่องกระบวนการร้องเรียนเรื่องราวร้องทุกข์และบทกำหนดโทษของสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติในระดับต่ำมากที่สุด ส่วนด้านความคิดเห็นของนักหนังสือพิมพ์ต่อการกำกับดูแลตนเองในวิชาชีพภายใต้สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ พบว่านักหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับทิศทางของข้อความในเชิงบวกเกี่ยวกับการปฏิบัติตนตามหรือการมีสำนึกในจรรยาบรรณวิชาชีพในระดับมากที่สุด และระดับมากกล่าวคือ หากนักหนังสือพิมพ์กระทำผิดหลักจริยธรรมในวิชาชีพควรจะถูกลงโทษจากองค์กรสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ขณะเดียวกันข้อความที่นักหนังสือพิมพ์เห็นด้วยในระดับปานกลางและในระดับน้อยจะเป็นเรื่องการปฏิบัติงานข่าวไปในทางที่ไม่ถูกต้อง หรือผิดจริยธรรมในวิชาชีพ ความรู้ และความคิดเห็น ตลอดจนการตระหนักถึงความสำคัญของการกำกับดูแลตนเองภายใต้สภาการฯ ของนักข่าว สามารถอภิปรายได้ว่าเป็นผลมาจากลักษณะอันเปิดกว้างของวิชาชีพของนักข่าวที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยการศึกษาเฉพาะในสาขานั้นๆ จนทำให้ขาดเอกภาพในวิชาชีพ ตลอดจนการที่สภาการฯไม่มีน้ำหนักในแง่การให้คุณให้โทษต่อสมาชิกเท่าสภาวิชาชีพในสาขาวิชาอื่นๆเช่น วิชาชีพแพทย์ ทนายควาาม วิศวกรและอื่นๆ รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ที่ยังไม่เพียงพอของสภาการฯ และการที่ สถาบันการศึกษา นักวิชาการไม่ได้ให้ความสำคัญในหลักสูตรการเรียนการสอนเกี่ยวกับเรื่องของสภาการฯเท่าที่ควรจะเป็น |
บรรณานุกรม | : |
นฤมล วีระวงศ์ชัย, 2522- . (2547). ความรู้ และความคิดเห็นของนักหนังสือพิมพ์ต่อการกำกับดูแลตนเองในวิชาชีพภายใต้สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นฤมล วีระวงศ์ชัย, 2522- . 2547. "ความรู้ และความคิดเห็นของนักหนังสือพิมพ์ต่อการกำกับดูแลตนเองในวิชาชีพภายใต้สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นฤมล วีระวงศ์ชัย, 2522- . "ความรู้ และความคิดเห็นของนักหนังสือพิมพ์ต่อการกำกับดูแลตนเองในวิชาชีพภายใต้สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. นฤมล วีระวงศ์ชัย, 2522- . ความรู้ และความคิดเห็นของนักหนังสือพิมพ์ต่อการกำกับดูแลตนเองในวิชาชีพภายใต้สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|