ชื่อเรื่อง | : | การนำเสนอข้อมูลข่าวสารในหน้าหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับไข้หวัดนกและการนำไปใช้ประโยชน์ของผู้ประกอบธุรกิจสัตว์ปีก |
นักวิจัย | : | รัตนาภรณ์ ทองอรุณนิกูล, 2520- |
คำค้น | : | การจัดการในภาวะวิกฤต , การเปิดรับข่าวสาร , อุตสาหกรรมสัตว์ปีก , ไข้หวัดนก , การสื่อข่าวและการเขียนข่าว |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ธนดี บุญลือ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9745319635 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1067 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 การศึกษาเรื่อง "การนำเสนอข่าวสารในหน้าหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับโรคไข้หวัดนกและการนำไปใช้ประโยชน์ของผู้ประกอบธุรกิจสัตว์ปีก" เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาข่าวสารเกี่ยวกับโรคไข้หวัดนกจากหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย รวมสามชื่อฉบับด้วยกัน คือ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ หนังสือพิมพ์มติชน และหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2546 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2547 จำนวนทั้งสิ้น 167 ฉบับ ประกอบกับการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ประกอบธุรกิจสัตว์ปีก ได้แก่ เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีก เจ้าของฟาร์มและร้านอาหารที่ทำจากผลิตภัณฑ์ไก่ รวมจำนวนทั้งสิ้น 21 คน โดยมีวัตถุประสงค์ 4 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับโรคไข้หวัดนกที่หนังสือพิมพ์ในประเทศไทยนำเสนอ 2) เพื่อศึกษาแหล่งข่าวที่หนังสือพิมพ์ในประเทศไทยใช้ในการนำเสนอโรคไข้หวัดนก 3) เพื่อวิเคราะห์เป้าหมายในการนำเสนอเนื้อหาเรื่องโรคไข้หวัดนกของหนังสือพิมพ์ในประเทศไทยว่าเป็นอย่างไรและศึกษากลยุทธ์ที่ใช้ 4) เพื่อศีกษาการเปิดรับข่าวสารเรื่องโรคไข้หวัดนกจากสื่อมวลชนและการนำข่าวสารไปใช้ประโยชน์ของผู้ประกอบธุรกิจสัตว์ปีกในภาวะวิกฤตไข้หวัดนก ผลการวิจัยพบว่า ประเด็นข่าวเกี่ยวกับโรคไข้หวัดนกที่หนังสือพิมพ์นิยมนำเสนอมากที่สุด คือ การหามาตรการแก้ไขเรื่องโรคไข้หวัดนก แหล่งข่าวที่ถูกอ้างถึงมากที่สุด คือ หน่วยราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ เป้าหมายในการนำเสนอเนื้อหาเรื่องโรคไข้หวัดนกที่นำเสนอมากที่สุด ได้แก่ การนำเสนอความจริงในรูปแบบข่าว ไม่ว่าจะเป็นเชิงลบ บวก หรือเป็นกลาง ผู้ประกอบธุรกิจสัตว์ปีกนิยมเปิดรับข่าวสารเรื่องโรคไข้หวัดนกจากโทรทัศน์มากที่สุด ซึ่งมักนำข่าวสารที่ได้รับนั้นปรับใช้เพื่อป้องกันฟาร์มและตนเองจากการติดเชื้อโรคไข้หวัดนกมากที่สุด รองลงมา คือ เพื่อติดตามสถานการณ์ความคืบหน้าและตรวจสอบความเที่ยงตรงของข้อมูล |
บรรณานุกรม | : |
รัตนาภรณ์ ทองอรุณนิกูล, 2520- . (2547). การนำเสนอข้อมูลข่าวสารในหน้าหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับไข้หวัดนกและการนำไปใช้ประโยชน์ของผู้ประกอบธุรกิจสัตว์ปีก.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รัตนาภรณ์ ทองอรุณนิกูล, 2520- . 2547. "การนำเสนอข้อมูลข่าวสารในหน้าหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับไข้หวัดนกและการนำไปใช้ประโยชน์ของผู้ประกอบธุรกิจสัตว์ปีก".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รัตนาภรณ์ ทองอรุณนิกูล, 2520- . "การนำเสนอข้อมูลข่าวสารในหน้าหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับไข้หวัดนกและการนำไปใช้ประโยชน์ของผู้ประกอบธุรกิจสัตว์ปีก."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. รัตนาภรณ์ ทองอรุณนิกูล, 2520- . การนำเสนอข้อมูลข่าวสารในหน้าหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับไข้หวัดนกและการนำไปใช้ประโยชน์ของผู้ประกอบธุรกิจสัตว์ปีก. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|