ชื่อเรื่อง | : | กระบวนการสื่อสารเพื่อการธำรงรักษางานประเพณีรับบัว ของอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ |
นักวิจัย | : | ศิรดา พงษ์ภมร, 2520- |
คำค้น | : | การสื่อสารในการจัดการ , การสื่อสารในกลุ่มขนาดเล็ก , งานประเพณีรับบัว , ไทย--ความเป็นอยู่และประเพณี |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ธนวดี บุญลือ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9741771967 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1058 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสื่อสารที่ใช้ในการจัดงานประเพณีรับบัวของอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อศึกษาบทบาทสำคัญของผู้นำที่มีต่อการจัดงานประเพณีรับบัวของอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ และเพื่อกำหนดกระบวนการสื่อสารสำหรับการธำรงรักษาและเผยแพร่ประเพณีที่มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพที่สุด การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งเป็นการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (Indepth Interview) โดยบุคคลที่ทำการสัมภาษณ์ ได้แก่ กลุ่มผู้นำอำเภอ สมาชิกในกลุ่มอำเภอ บุคคลภายนอกพื้นที่อำเภอบางพลีที่เคยมาเที่ยวงานรับบัว รวมถึงผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาพนอกที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาสรุปได้ว่า กระบวนการสื่อสารในช่วงของการเตรียมงานประเพณีรับบัวจะเกิดในกลุ่มขนาดเล็กที่จัดตั้งขึ้นมาเป็นพิเศษมากกว่าในกลุ่มที่มีขนาดใหญ่ และส่วนใหญ่เป็นการสื่อสารแบบเป็นทางการ เพราะเป็นการคุยกันในที่ประชุม แต่การสื่อสารแบบไม่เป็นทางการยังมีให้พบเห็นอยู่ทั่ว ทิศทางการสื่อสารเป็นแบบสองทาง มีทิศทางการไหลของสารจากบนลงล่าง และในระดับเดียวกัน ช่วงการถ่ายทอดกิจกรรมการตกแต่งเรือพบว่า ส่วนใหญ่ใช้การปฏิบัติจริงเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอด ซึ่งการสื่อสารจะมีทิศทางการสื่อสารสองทาง ในลักษณะที่ไม่เป็นทางการ โดยใช้ทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษา ผู้นำมีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดประเพณีและกิจกรรมต่างๆ โดยใช้การสื่อสารแบบสองทาง รุปแบบการสื่อสารมีทั้งแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ผู้นำส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่ เป็นผู้ส่งสารที่ดี เนื่องจากมีความรู้ในเรื่องประเพณีรับบัวอย่างมาก อีกทั้งยังมีทัศนคติที่ดีต่องานประเพณี ทำให้การส่งสารมีประสิทธิภาพ ส่วนกระบวนการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการธำรงรักษาและแผยแพร่ประเพณีขึ้นอยู่กับทักษะในการสื่อสารและการถ่ายทอดความรู้ของแต่ละคนเป็นสำคัญ การสื่อสารแบบสองทางทำให้การสื่อสารมีความถูกต้องมากกว่าการสื่อสารทางเดียว สร้างความมั่นใจแก่ผู้รับสารมากกว่า รวมทั้งเปิดโอกาสให้สมาชิกได้ทำความเข้าใจอย่างชัดเจน การสื่อสารแบบไม่เป็นทางการ เช่น การกระจายข่าวสู่ชุมชนแบบปากต่อปาก และการถ่ายทอดกิจกรรมในงาน เป็นกระบวนการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพอย่างหนึ่งในการธำรงรักษางานประเพณีต่อไป |
บรรณานุกรม | : |
ศิรดา พงษ์ภมร, 2520- . (2547). กระบวนการสื่อสารเพื่อการธำรงรักษางานประเพณีรับบัว ของอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศิรดา พงษ์ภมร, 2520- . 2547. "กระบวนการสื่อสารเพื่อการธำรงรักษางานประเพณีรับบัว ของอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศิรดา พงษ์ภมร, 2520- . "กระบวนการสื่อสารเพื่อการธำรงรักษางานประเพณีรับบัว ของอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. ศิรดา พงษ์ภมร, 2520- . กระบวนการสื่อสารเพื่อการธำรงรักษางานประเพณีรับบัว ของอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|