ชื่อเรื่อง | : | ค่านิยมเรื่อง "ความเกรงใจ" กับความสัมพันธ์ในการปฏิบัติงาน ระหว่างพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน |
นักวิจัย | : | สุระ ศิริมหาวรรณ |
คำค้น | : | ค่านิยมสังคม , การสื่อสารกับวัฒนธรรม , ความเกรงใจ , พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | เมตตา วิวัฒนานุกูล , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2546 |
อ้างอิง | : | 9741758383 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1032 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 ศึกษา การรับรู้ความหมายของคำว่า "ความเกรงใจ" ของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินชาวไทย เพื่อสำรวจการรับรู้ค่านิยมเรื่องความเกรงใจ ของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินชาวต่างชาติต่อความหมายของคำว่า "ความเกรงใจ" ของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินชาวไทย และบทบาทของค่านิยมความเกรงใจต่อการปฏิบัติงาน และต่อความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินชาวไทย จำนวน 225 คน และจากพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินชาวต่างชาติคือ ชาวจีน เกาหลีและญี่ปุ่น รวมจำนวน 120 คน ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ความหมายของคำว่า "เกรงใจ" ของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินชาวไทย และของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินชาวต่างชาติ มีการรับรู้ความหมายที่ไม่ตรงกัน กล่าวคือ ความหมายของ "ความเกรงใจ" ตามทัศนะของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินชาวไทยที่มีผู้ระบุมากที่สุดคือ พฤติกรรมที่แสดงออกเนื่องจากไม่ต้องการรบกวนผู้อื่น ถึงแม้ว่าความคิดกับกระทำนั้นจะไม่สอดคล้องกันก็ตาม โดยต้องแสดงออกมามักจะอยู่ในรูปแบบของการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น และไม่แสดงความรู้สึกในด้านลบของตนเองออกมา สำหรับ "ความเกรงใจ" ตามทัศนะของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินชาวต่างชาติคือ การยิ้มเสมอและไม่บ่น รวมไปถึงการแสดงความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นด้วย บทบาทของความเกรงใจจะส่งผลในทางที่ดี สำหรับการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับบุคคลภายนอก ทำให้เกิดการถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ช่วยลดความขัดแย้งในการทำงาน ช่วยสร้างบรรยากาศในการทำงานให้ดีขึ้น ช่วยทำให้ความสัมพันธ์กับหัวหน้างานและกับเพื่อนร่วมงานดีขึ้น เป็นต้น แต่ในทางกลับกัน ผลของการวิจัยได้ชี้ให้เห็นว่า ความเกรงใจไม่ได้ส่งผลในทางที่ดีกับบุคคลซึ่งแสดงความเกรงใจ ทำให้รู้สึกอึดอัด ลำบากใจ เมื่อต้องกระทำบางอย่างที่ไม่ตรงกับความต้องการ หรือการที่ต้องทำงานหนักขึ้นเนื่องมาจากความเกรงใจ ไม่กล้าขอความช่วยเหลือ ค่านิยมเรื่องความเกรงใจ มีบทบาทต่อการปฏิบัติงาน และต่อความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินอย่างมาก ด้วยลักษณะอาชีพพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน จำเป็นต้องให้ความสำคัญอย่างมากต่อความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล โดยเฉพาะการต้องทำงานเป็นทีมอย่างใกล้ชิดกันภายในเนื้อที่การทำงานที่จำกัด |
บรรณานุกรม | : |
สุระ ศิริมหาวรรณ . (2546). ค่านิยมเรื่อง "ความเกรงใจ" กับความสัมพันธ์ในการปฏิบัติงาน ระหว่างพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุระ ศิริมหาวรรณ . 2546. "ค่านิยมเรื่อง "ความเกรงใจ" กับความสัมพันธ์ในการปฏิบัติงาน ระหว่างพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุระ ศิริมหาวรรณ . "ค่านิยมเรื่อง "ความเกรงใจ" กับความสัมพันธ์ในการปฏิบัติงาน ระหว่างพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546. Print. สุระ ศิริมหาวรรณ . ค่านิยมเรื่อง "ความเกรงใจ" กับความสัมพันธ์ในการปฏิบัติงาน ระหว่างพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
|