ชื่อเรื่อง | : | ความคาดหวังและการสื่อสารระหว่างข้าราชการทุนรัฐบาลไทย ผู้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงานในยุคปฏิรูประบบราชการ |
นักวิจัย | : | ปรียนุช เกตุนุติ, 2519- |
คำค้น | : | ความคาดหวัง (จิตวิทยา) , วัฒนธรรมองค์การ , ส่วนราชการ--ไทย , การสื่อสารในองค์การ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | เมตตา วิวัฒนานุกูล , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2546 |
อ้างอิง | : | 9741754752 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1022 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 ศึกษาเปรียบเทียบความคาดหวังต่อการปฏิบัติงาน และการปฏิสัมพันธ์ของข้าราชการทุนรัฐบาลไทยกับบุคลากรในองค์กรราชการ รวมถึงเปรียบเทียบความคาดหวังกับการปฏิบัติจริงของข้าราชการทุนรัฐบาลไทย ในมุมมองของผู้บังคับบัญชา ผู้ร่วมงานและข้าราชการทุนรัฐบาลไทยเอง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ ข้าราชการทุนรัฐบาลไทยซึ่งกลับมาชดใช้ทุนในช่วงการปฏิรูประบบราชการจำนวน 69 คน ผู้บังคับบัญชาจำนวน 50 คน และผู้ร่วมงานจำนวน 122 คน รวมทั้งสิ้น 241 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือหลักในการเก็บข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความคาดหวังต่อการปฏิบัติงานในทิศทางเดียวกัน ในระดับปานกลางถึงมาก ได้แก่ การปรับความรู้มาใช้ การปรับตัวเข้ากับการทำงาน และการถ่ายทอดความรู้ แต่จากการหาค่าความแตกต่างทางสถิติพบว่า ระดับความคาดหวังของผู้บังคับบัญชา ผู้ร่วมงานและข้าราชการทุนรัฐบาลไทย มีความแตกต่างกันในเรื่องการใช้ภาษาต่างประเทศได้มีประสิทธิภาพ และการเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาหน่วยงาน โดยผู้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงานมีระดับความคาดหวัง สูงกว่าระดับความคาดหวังของข้าราชการทุนรัฐบาลไทย 2. โดยภาพรวม ความคาดหวังและการปฏิบัติจริงมีความสอดคล้องกัน แต่จากการหาค่าความแตกต่างทางสถิติ พบว่ามีความแตกต่างกันในเรื่องการได้รับการยอมรับในผลงาน การได้รับมอบหมายงานที่มีความสำคัญ การปรับตัวเข้ากับงานต่างๆ ในหน่วยงาน การมีความรับผิดชอบสูง การทำงานเป็นทีมและการมีทัศนคติเปิดกว้าง โดยระดับความคาดหวังต่ำกว่าระดับการปฏิบัติจริงในทุกข้อ 3. จากการปฏิบัติจริง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่า ข้าราชการทุนรัฐบาลไทยสามารถแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบต่อคำวิจารณ์ได้ดี แต่การแสดงประสิทธิภาพการทำงานไม่ต่างจากข้าราชการทั่วไป แม้ส่วนใหญ่เห็นว่าจะได้รับสิทธิพิเศษในการแสดงความสามารถ และความไว้วางใจในงานสำคัญ โดยพบว่าอุปสรรคนั้นคือ ลักษณะงานจำกัด ระยะเวลาการทำงานสั้น ความล่าช้าของบุคลากรในองค์กร และระเบียบขั้นตอนการทำงานมากเกินไป อย่างไรก็ดี ยังพบว่าในอนาคต หน่วยงานต่างๆ มีความต้องการข้าราชการทุนรัฐบาลไทยมาทำงานด้วย |
บรรณานุกรม | : |
ปรียนุช เกตุนุติ, 2519- . (2546). ความคาดหวังและการสื่อสารระหว่างข้าราชการทุนรัฐบาลไทย ผู้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงานในยุคปฏิรูประบบราชการ.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปรียนุช เกตุนุติ, 2519- . 2546. "ความคาดหวังและการสื่อสารระหว่างข้าราชการทุนรัฐบาลไทย ผู้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงานในยุคปฏิรูประบบราชการ".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปรียนุช เกตุนุติ, 2519- . "ความคาดหวังและการสื่อสารระหว่างข้าราชการทุนรัฐบาลไทย ผู้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงานในยุคปฏิรูประบบราชการ."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546. Print. ปรียนุช เกตุนุติ, 2519- . ความคาดหวังและการสื่อสารระหว่างข้าราชการทุนรัฐบาลไทย ผู้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงานในยุคปฏิรูประบบราชการ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
|