ชื่อเรื่อง | : | การแปลงตัวตนในห้องสนทนาบนอินเทอร์เน็ต |
นักวิจัย | : | ดารินทร์ สวัสดิ์เสวี, 2519- |
คำค้น | : | กลุ่มสนทนาออนไลน์ , การรับรู้ตนเอง |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | กิตติ กันภัย , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741712596 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/997 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 ศึกษาและวิเคราะห์ลักษณะตัวตนที่ปรากฏในห้องสนทนาบนอินเทอร์เน็ต วิเคราะห์แรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อการแปลงตัวตนและกระบวนการแปลงตัวตน และเพื่อวิเคราะห์บริบททางคอมพิวเตอร์ ที่เอื้ออำนวยให้เกิดการแปลงตัวตน โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อศึกษาลักษณะตัวตน ที่ปรากฏในห้องสนทนา และใช้เทคนิคการสัมภาษณ์กลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อวิเคราะห์แรงจูงใจที่มีอิทธิพลทำให้บุคคล ที่เข้ามาใช้ห้องสนทนาต้องแปลงตัวตนและกระบวนการแปลงตัวตน อีกทั้งใช้วิธีสังเกตการณ์ภาคสนาม เพื่อวิเคราะห์บริบททางคอมพิวเตอร์ที่เอื้ออำนวยให้เกิดการแปลงตัวตน โดยใช้แนวคิดทางจิตวิทยาเรื่องตัวตน ทฤษฎีบุคลิกภาพ ทฤษฎีแรงจูงใจและพฤติกรรม แนวคิดการสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์ แนวคิดยุคหลังสมัยใหม่ และแนวคิดเรื่องเพศเป็นกรอบในการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะตัวตนที่พบเห็นในห้องสนทนาตามเกณฑ์ทางประชากรศาสตร์ โดยมากเป็นเพศชาย อายุ 18-25 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี โสด อาศัยในกรุงเทพฯ และเป็นนักศึกษา ส่วนในเชิงจิตวิทยา ลักษณะตัวตนที่พบแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มคือ ตัวตนที่มีความอ่อนไหว ตัวตนที่รักอิสระ ตัวตนที่เรียกร้องความสนใจ ตัวตนที่ต้องการอำนาจ และตัวตนที่มีความเป็นตัวของตัวเอง โดยตัวตนที่พบเห็นมักเป็นตัวตนประเภทปิดบังตัวเอง คือ รู้จักตนเองแต่ผู้อื่นไม่รู้ ตัวตนประเภทนี้ จะเข้ามาเพื่อแสดงอารมณ์ความรู้สึกซึ่งในโลกจริงไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากมีบรรทัดฐานทางสังคมเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมอยู่ และตัวตนประเภทไม่รู้จักตนเองที่เข้ามาเพื่อค้นหาตัวตนที่แท้จริง 2) แรงจูงใจต่อการแปลงตัวตนเกิดจากความต้องการชนิดต่างๆ โดยแบ่งเป็นความต้องการทางกายเช่น เรื่องเพศ และความต้องการทางใจ เช่น การต้องการอำนาจ ความรัก หลีกเลี่ยงการถูกลงโทษ และอื่นๆ ซึ่งความต้องการเหล่านี้ทำให้เกิดแรงขับ ให้เกิดกระบวนการแปลงตัวตนไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ 3) บริบททางคอมพิวเตอร์มีส่วนเอื้ออำนวยให้เกิดการแปลงตัวตน เพราะเป็นบริบทที่ลดความรู้สึกทางประสาทสัมผัสทั้งห้า สภาวะที่ไร้ขอบเขตในการสื่อสาร ความมีตัวตนที่หลากหลาย และความสามารถในการรับรู้ที่แตกต่าง |
บรรณานุกรม | : |
ดารินทร์ สวัสดิ์เสวี, 2519- . (2545). การแปลงตัวตนในห้องสนทนาบนอินเทอร์เน็ต.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ดารินทร์ สวัสดิ์เสวี, 2519- . 2545. "การแปลงตัวตนในห้องสนทนาบนอินเทอร์เน็ต".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ดารินทร์ สวัสดิ์เสวี, 2519- . "การแปลงตัวตนในห้องสนทนาบนอินเทอร์เน็ต."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. ดารินทร์ สวัสดิ์เสวี, 2519- . การแปลงตัวตนในห้องสนทนาบนอินเทอร์เน็ต. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|