ชื่อเรื่อง | : | การปรับเปลี่ยนอุดมการณ์วารสารศาสตร์ของไทย |
นักวิจัย | : | นวลวรรณ ดาระสวัสดิ์, 2510- |
คำค้น | : | วารสารศาสตร์ -- ไทย , อุดมการณ์ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | วิลาสินี พิพิธกุล , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2544 |
อ้างอิง | : | 9741703392 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/880 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การปรับเปลี่ยนอุดมการณ์วารสารศาสตร์ของไทย ผ่านการให้คำนิยามของนักวารสารศาสตร์ไทย นับจากอดีต-ปัจจุบัน ผลวิจัยพบว่า นักวารสารศาสตร์ไทยมีการรับอุดมการณ์จากตะวันตก และปรับเปลี่ยนอุดมการณ์จากตะวันตก ในแต่ละประเด็นไปพร้อมกัน โดยมีการรักษาเนื้อหาหลักของอุดมการณ์ ขณะที่ปรับเปลี่ยนรายละเอียดให้เหมาะสมกับบริบทสังคมไทย และการรักษาอำนาจของกลุ่มปัญญาชน สำหรับอุดมการณ์ที่ถูกนำมาอ้างถึงในวาทกรรมมากที่สุด จากอดีตถึงปัจจุบัน คือ เสรีภาพหนังสือพิมพ์ และ ความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมีอุดมการณ์อื่น คือ ความถูกต้อง, ความจริง, ความเป็นกลาง, ความยุติธรรม และวิชาชีพนิยม มาเป็นกรอบในการทำงาน รวมทั้ง มีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาอุดมการณ์ให้เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทยในแต่ละช่วงเวลา พบความแตกต่างดังนี้ 1. ยุคการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีการปรับเปลี่ยนอุดมการณ์จากตะวันตก โดยอ้างวาทกรรม "ชาตินิยม" แบ่งการตีความหมายเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มราชสำนักหัวอนุรักษ์ ที่ว่า การแสดงความเห็นต้องอยู่บนพื้นฐานของความจริง-ความถูกต้อง เพื่อประโยชน์บำรุงชาติ และ กลุ่มสามัญชนหัวก้าวหน้า ที่ว่า การแสดงความเห็นได้โดยไม่มีอำนาจมาคุกคาม เพื่อเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงการปกครอง ให้ชาติมีความเจริญ และ พ้นจากการคุกคามของลัทธิจักรวรรดินิยม 2. ยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง (2475) มีการปรับเปลี่ยนอุดมการณ์ จากการอ้างวาทกรรม "ชาตินิยม" มาเป็นการอ้างวาทกรรม "การควบคุมกันเอง" แบ่งการตีความหมายออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มราชสำนักหัวผสมผสาน ที่ว่า การแสดงความเห็นต้องมีขอบเขตของความรับผิดชอบ เพื่อจะได้ไม่ถูกควบคุมเสรีภาพ และ กลุ่มสามัญชนหัวก้าวหน้า ที่ว่า การแสดงความเห็นได้โดยไม่มีอำนาจมาคุกคาม เนื่องจากทำไปเพื่อประโยชน์แก่ประชาชน นอกจากนี้ ยังเกิดการเชื่อมโยงแนวคิดภายในกลุ่ม คือ อุดมการณ์ "วิชาชีพนิยม" ภายใต้วาทกรรม "สมบัติผู้ดี" 3. ร่วมสมัย มีการปรับเปลี่ยนอุดมการณ์ จากการอ้างวาทกรรม"การควบคุมกันเอง" มาเป็นการอ้างวาทกรรม "ความน่าเชื่อถือ" แบ่งการตีความหมายเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มนักวิชาการวารสารศาสตร์ ที่เน้นการใช้เสรีภาพอยู่ในขอบเขตของความถูกต้อง-ความจริง และ กลุ่มนักวิชาชีพวารสารศาสตร์ ที่ว่า การทำงานต้องอยู่บนหลักการความจริง ไม่มีอคติ เพื่อให้เสรีภาพเกิดประโยชน์แก่ประชาชน โดยมีการเชื่อมโยงแนวคิดในกลุ่ม คือ การถ่ายทอดความรู้ในลักษณะจากครูสู่ลูกศิษย์ |
บรรณานุกรม | : |
นวลวรรณ ดาระสวัสดิ์, 2510- . (2544). การปรับเปลี่ยนอุดมการณ์วารสารศาสตร์ของไทย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นวลวรรณ ดาระสวัสดิ์, 2510- . 2544. "การปรับเปลี่ยนอุดมการณ์วารสารศาสตร์ของไทย".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นวลวรรณ ดาระสวัสดิ์, 2510- . "การปรับเปลี่ยนอุดมการณ์วารสารศาสตร์ของไทย."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544. Print. นวลวรรณ ดาระสวัสดิ์, 2510- . การปรับเปลี่ยนอุดมการณ์วารสารศาสตร์ของไทย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544.
|