ชื่อเรื่อง | : | กลวิธีการสื่อสารในการพากย์ภาพยนตร์โทรทัศน์ |
นักวิจัย | : | ทฉัตรีย์ พิลึกภควัต, 2520- |
คำค้น | : | การพากย์ภาพยนตร์ , การสื่อสาร |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สุรพล วิรุฬห์รักษ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741726627 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/876 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.),จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา กลวิธีการพากย์ภาพยนตร์โทรทัศน์ของนักพากย์ การก้าวเข้าสู่การเป็นนักพากย์ คุณลักษณะพื้นฐาน รวมถึงการฝึกฝนเพื่อเป็นนักพากย์ภาพยนตร์โทรทัศน์และศึกษาในส่วนทัศนะของผู้ชมภาพยนตร์โทรทัศน์ที่มีต่อผลงานพากย์ภาพยนตร์ของ นักพากย์ ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ทีมนักพากย์ จากสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 จำนวน 9 ท่าน นักพากย์อาวุโส 10 ท่าน และผู้ชมที่ได้ติดตามรับชมภาพยนตร์จีนทางโทรทัศน์ที่พากย์โดยทีมพากย์ช่อง 3 จำนวน 50 ท่าน ประกอบกับการสังเกตการณ์และการวิจัยเชิงเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า การพากย์ภาพยนตร์โทรทัศน์ ถือกำเนิดมาพร้อมกับการเกิดสถานี โทรทัศน์ช่องต่างๆ โดยเริ่มมาจากโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหม เกิดจากความคิดของ คุณจำนง รังสิกุล โดยเปลี่ยนจากคำว่า "พากย์โดย" มาเป็น "ให้เสียงภาษาไทยโดย" แทน ในส่วนของกลวิธีการพากย์ภาพยนตร์โทรทัศน์ของนักพากย์ มีดังนี้คือ การออกเสียงให้ตรงกับจังหวะปากตัวละคร การใช้เสียงได้อย่างสม่ำเสมอ การให้น้ำเสียงได้อารมณ์ตามตัวละคร การเสริมมุขนอกเหนือบทพากย์ และการให้เสียงเข้ากับบุคลิกตัวละคร ส่วนการก้าวเข้าสู่การเป็นนักพากย์นั้น นักพากย์มีภูมิหลังมาจากการเป็นนักแสดง นักแสดงละครวิทยุ ผู้ประกาศข่าว บุคลากรในองค์กรและอาชีพอื่นๆ นักพากย์ควรมีคุณสมบัติพื้นฐานดังนี้คือ มีพื้นฐานเสียงที่ดีมีคุณภาพ มีทักษะในการอ่านหนังสือ และออกเสียงสำเนียงภาษาไทยภาคกลางได้ชัดเจน มีความรอบรู้ปฏิภาณไหวพริบดี มีประสาทสัมผัสที่รวดเร็ว รวมทั้งมีความอดทนสูงสุขภาพดีทั้งกายและใจ สำหรับนักพากย์หน้าใหม่การฝึกฝนเพื่อเป็นนักพากย์ภาพยนตร์โทรทัศน์สามารถฝึกด้วยตัวเอง สมัครเป็นนักพากย์ฝึกหัดในองค์กรที่มีการพากย์ภาพยนตร์ สมัครในหลักสูตรอบรมการเป็น นักพากย์ ในส่วนของทัศนะของผู้ชมต่องานพากย์ภาพยนตร์โทรทัศน์ ต้องการให้มีการพากย์ที่เน้นความสมจริง เสียงพากย์ของตัวละครนำมีความไพเราะ ส่วนกลวิธีที่นักพากย์ควรให้ความสำคัญคือการให้เสียงได้เข้ากับบุคลิกตัวละครและน้ำเสียงได้อารมณ์ตามตัวละคร และผู้ชมชื่นชอบในการพากย์เสริมมุขนอกเหนือบทพากย์โดยเฉพาะในการพากย์ภาพยนตร์จีนทางโทรทัศน์ |
บรรณานุกรม | : |
ทฉัตรีย์ พิลึกภควัต, 2520- . (2545). กลวิธีการสื่อสารในการพากย์ภาพยนตร์โทรทัศน์.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทฉัตรีย์ พิลึกภควัต, 2520- . 2545. "กลวิธีการสื่อสารในการพากย์ภาพยนตร์โทรทัศน์".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทฉัตรีย์ พิลึกภควัต, 2520- . "กลวิธีการสื่อสารในการพากย์ภาพยนตร์โทรทัศน์."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. ทฉัตรีย์ พิลึกภควัต, 2520- . กลวิธีการสื่อสารในการพากย์ภาพยนตร์โทรทัศน์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|