ชื่อเรื่อง | : | การดำเนินงานของโรงเรียนต้นแบบที่มีการปฏิบัติเป็นเลิศ: การศึกษาแบบข้ามกรณี |
นักวิจัย | : | นภสร ตันปัทมดิลก |
คำค้น | : | OPERATION , BEST PRATICE , CROSS-CASE |
หน่วยงาน | : | ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2548 |
อ้างอิง | : | http://www.thaithesis.org/detail.php?id=1082548001120 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการดำเนินงานและภาพความสำเร็จรวมทั้งปัจจัยส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคของโรงเรียนต้นแบบที่มีการปฏิบติเป็นเลิศโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพศึกษาแบบข้ามกรณีระหว่างโรงเรียนระดับประถมศึกษากับโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาที่อยู่ในเขตเมืองและนอกเมืองจากกรณีศึกษาจำนวน 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 75 โรงเรียนวชิรธรรมสาธิตและโรงเรียนสันกำแพง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมการสัมภาษณ์แบบเป็นทางการ ไม่เป็นทางการและแบบเจาะลึก การสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์เอกสารวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา สร้างข้อสรุปแบบอุปมัย และวิเคราะห์เปรียบเทียบแบบข้ามกรณี ผลการวิจัยพบว่า 1. โรงเรียนต้นแบบมีการดำเนินงานดังนี้ ด้านการจัดทำหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ระดับประถมศึกษามีการบูรณาการข้ามกลุ่มสาระและนำภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนการสอนโดยครูใช้สื่อ ICT มากกว่านักเรียน ระดับมัธยมศึกษาทั้งครูและนักเรียนได้ใช้สื่อ ICT มากขึ้นและโรงเรียนนอกเมืองนำภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนมากกว่าในเมือง ด้านการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ทั้ง 3 โรงเรียนได้ปรับสภาพภูมิทัศน์ให้ดูสวยงามเป็นระเบียบ ระดับประถมศึกษาปรับปรุงห้องเรียนให้มีสื่อICT มากขึ้นระดับมัธยมศึกษาสร้างห้องศูนย์การเรียนรู้แยกตามกลุ่มสาระและมีอุปกรณ์ ICTที่ทันสมัยโรงเรียนในเมืองจะมีโปรแกรม software ที่ใช้ในการสอนมากกว่าโรงเรียนนอกเมืองด้านการพัฒนาบุคลากรทั้ง 3 โรงเรียนได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการบ่อยขึ้นเพื่อให้ครูได้รับความรู้และนำมาพัฒนาการสอน ด้านการบริหารจัดการแต่ละโรงเรียนได้แบ่งการทำงานออกเป็นฝ่ายเพื่อสะดวกในการปฏิบัติงาน ด้านการประเมินผลนักเรียนทั้ง 3 โรงเรียนได้รับการประเมินตามสภาพจริงด้วยหลายวิธี ครูได้รับการนิเทศติดตามงานแบบกัลยาณมิตรและโรงเรียนได้รับการประเมินทั้งจากภายในและภายนอก ด้านการประชาสัมพันธ์ทั้ง 3 โรงเรียนมีเว็บไซต์ของโรงเรียน นอกจากนี้ระดับมัธยมศึกษายังมีวารสารของโรงเรียนด้วย ด้านงบประมาณทั้ง 3 โรงเรียนใช้วิธีระดมทรัพยากรจากชุมชนและได้รับความช่วยเหลือบางส่วนจากภาคเอกชน โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาจะเน้นการพึ่งพาตนเองโดยขอความร่วมมือจากผู้ปกครองและชุมชนเป็นหลัก ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี 2. ภาพความสำเร็จของโรงเรียนต้นแบบทั้ง 3 โรงเรียนมีความคล้ายคลึงกัน คือผู้บริหารมีความสามารถในการบริหารจัดการ มีวิสัยทัศน์ ครูสามารถใช้สื่อ ICT ในการสอนมีความกระตือรือร้นและมีความเป็นมืออาชีพ นักเรียนมีความกล้าแสดงออก มีความสุขในการเรียนระดับมัธยมศึกษานักเรียนมีโอกาสและมีความสามารถในการใช้สื่อ ICT มากกว่าระดับประถมศึกษาโรงเรียนมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับและเป็นตัวอย่างให้โรงเรียนอื่นมาศึกษาดูงาน ผู้ปกครองและชุมชนให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมพัฒนาโรงเรียนมากกว่าเดิม 3. ปัจจัยส่งเสริมการดำเนินงานของโรงเรียนต้นแบบ คือ ผู้บริหารมีความสามารถและวิสัยทัศน์ การได้รับความร่วมมือจากบุคลากรทุกฝ่าย และการเข้าร่วมโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน 4. ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานของโรงเรียนต้นแบบ คือ บุคลากรไม่เพียงพอครูมีปัญหาในการใช้สื่อ ICT และงบประมาณสนับสนุนไม่เพียงพอ |
บรรณานุกรม | : |
นภสร ตันปัทมดิลก . (2548). การดำเนินงานของโรงเรียนต้นแบบที่มีการปฏิบัติเป็นเลิศ: การศึกษาแบบข้ามกรณี.
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. นภสร ตันปัทมดิลก . 2548. "การดำเนินงานของโรงเรียนต้นแบบที่มีการปฏิบัติเป็นเลิศ: การศึกษาแบบข้ามกรณี".
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. นภสร ตันปัทมดิลก . "การดำเนินงานของโรงเรียนต้นแบบที่มีการปฏิบัติเป็นเลิศ: การศึกษาแบบข้ามกรณี."
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย, 2548. Print. นภสร ตันปัทมดิลก . การดำเนินงานของโรงเรียนต้นแบบที่มีการปฏิบัติเป็นเลิศ: การศึกษาแบบข้ามกรณี. กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย; 2548.
|